การศึกษาความเป็นไปได้ของแป้งข้าวเจ้าดัดแปรด้วยด่างในแอลกอฮอล์ เพื่อใช้เป็นสารเพิ่มปริมาณในผลิตภัณฑ์สุขภาพรูปแบบเม็ด

Main Article Content

ญานิศา บุญวัชรพันธ์
แสงระวี สุทธิปริญญานนท์
ผดุงขวัญ จิตโรภาส

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพของแป้งข้าวเจ้าดัดแปรด้วยด่างในแอลกอฮอล์ (MRS) โดยใช้แอลกอฮอล์ความเข้มข้น 40 และ 50 % v/v เปรียบเทียบคุณสมบัติการเป็นสารเพิ่มปริมาณของ MRS กับ spray dried rice starch (SDRS) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีจำหน่ายในท้องตลาด และศึกษาคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์สุขภาพรูปแบบเม็ดที่ใช้ผงขมิ้นเป็นสารออกฤทธิ์ ผลการทดลองพบว่า MRS ไม่พบลักษณะเม็ดแป้ง MRS สามารถพองตัวได้ โดยความสามารถในการพองตัวของ MRS (40 %v/v) และ MRS (50 %v/v) ในน้ำกลั่น กรดไฮโดรคลอริก (0.1 โมลาร์) ฟอสเฟตบัพเฟอร์ (พีเอช 6.8) มีค่าใกล้เคียงกัน เมื่อเปรียบเทียบการใช้ MRS และ SDRS เป็นสารเพิ่มปริมาณพบว่าเม็ดยาที่ใช้ MRS (40 %v/v) มีความแข็งน้อยที่สุดและมีความกร่อนมากที่สุด และเม็ดยาที่ใช้ MRS (50 %v/v) มีความแข็งมากกว่าและมีความกร่อนน้อยกว่าเม็ดยาที่ใช้ SDRS สำหรับยาเม็ดขมิ้นที่ใช้ MRS (50 %v/v) หรือ SDRS เป็นสารเพิ่มปริมาณมีความแข็งประมาณ 6 kP และเวลาที่ใช้ในการแตกตัวน้อยกว่า 10 นาที และความกร่อนของเม็ดยาที่ใช้ MRS (50 %v/v) และ  SDRS มีค่าเท่ากับ 0.46 % และ 0.71 % ตามลำดับ  จึงสรุปได้ว่า MRS (50 %v/v) สามารถใช้เป็นสารเพิ่มปริมาณในผลิตภัณฑ์สุขภาพรูปแบบเม็ด

Article Details

บท
Appendix

References

Chen J., Jane J. Preparation of granular cold-water-soluble starches by alcoholic-alkaline treatment. Cereal Chemistry 1994; 71(6): 618-22.

Chen J., Jane J. Properties of granular cold-water-soluble starches prepared by alcoholic-alkaline treatments. Cereal Chemistry 1994; 71(6): 623-26.

Ishita C., Kaushik B., Uday B, Benerjee KR. Turmeric and curcumin: biological actions and medicinal applications. Current Science 2004; 87: 44-53.

Jones D. 2008. Pharmaceutics-Dosage Form and Design. London: Pharmaceutical Press.

Olayemi OJ., Oyi AR., Allagh TS. 2008. Comparative evaluation of maize, rice and wheat starch powers as pharmaceutical excipients. Nigerian journal of pharmaceutical sciences 2008; 1(7): 131-38.