คุณสมบัติในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระของนํ้ามันหอมระเหยในหลอดทดลอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทนำ: น้ำมันหอมระเหยจากสมุนไพรหลายชนิดพบว่า มีฤทธิ์ต่อต้านอนุมูลอิสระซึ่งสามารถนำไปพัฒนาใช้ในทางเวชสำอางได้เพื่อใช้ในชะลอความแก่ของผิวและลดเลือนริ้วรอยก่อนวัยได้ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฤทธิ์ในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระของน้ำมันหอมระเหย 8 ชนิด คือ กะเพรา กานพลู ตะไคร้หอม ตะไคร้บ้าน แฝกหอม มะนาว โรสแมรี่และอบเชย วิธีการทดลอง: วิเคราะห์องค์ประกอบในน้ำมันหอมระเหย 8 ชนิดด้วยวิธี GC/MS และทดสอบเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการต้านออกซิเดชันของน้ำมันหอมระเหยด้วยวิธี free radical scavenging (DPPH) และ lipid peroxidation inhibition (TBARs) ผลการศึกษา: จากการทดสอบพบว่า น้ำมันหอมระเหยที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH พบว่าประสิทธิภาพของ กะเพรา>กานพลู>แฝกหอม>ตะไคร้หอมตามลำดับ และจากวิธี TBARs พบว่า อบเชย>ตะไคร้บ้าน >กะเพรา>กานพลู>ตะไคร้หอมตามลำดับ สรุปผล: การศึกษานี้พบว่า น้ำมันหอมที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระดีที่สุดจากทั้ง 2 วิธี คือ น้ำมันจากกะเพรา และรองลงมาคือ กานพลู อย่างไรก็ตาม การที่น้ำมันหอมจากสมุนไพรแต่ละชนิด มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระได้ไม่เท่ากัน เนื่องจากองค์ประกอบในน้ำมันหอมระเหยแต่ละชนิดต่างกัน ดังนั้นจึงควรศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพอื่น ๆ ของน้ำมันหอมระเหย ที่สามารถบ่งชี้ถึงศักยภาพในด้านเวชสำอางต่อไป
Article Details
กรณีที่ใช้บางส่วนจากผลงานของผู้อื่น ผู้นิพนธ์ต้อง ยืนยันว่าได้รับการอนุญาต (permission) ให้ใช้ผลงานบางส่วนจากผู้นิพนธ์ต้นฉบับ (Original author) เรียบร้อยแล้ว และต้องแนบเอกสารหลักฐาน ว่าได้รับการอนุญาต (permission) ประกอบมาด้วย
References
Aiemsaard J, Aiumlamai S, Taweechaisupapong S, Aromdee C, Khunkitti W. Chemical composition, antioxidant activity and antibacterial action of eight essential oils against clinical isolates of mastitis pathogens. Int J Essent Oil Ther 2010; 4:37-43.
Antolovich M, Prenzler PD, Patsalides E, McDonald S, Robards K. Methods for testing antioxidant activity. Analyst 2002; 127(1): 183-198.
Bondet V, Brand-Williams W, Berset C. Kinetics and mechanisms of antioxidant activity using the DPPH free radical method. Food Science Tech 1997; 30(6): 609-615.
Brand-Williams W, Cuvelier ME, Berset C. Use of a free radical method to evaluate antioxidant activity. Food Sci Tech 1995; 28(1): 25-30.
Daferera DJ, Ziogas BN, Polissiou MG. GC-MS analysis of essential oils from some Greek aromatic plants and their fungitoxicity on Penicilliumdigitatum. J Agric Food Chem 2000; 48: 2576-2581.
Dugo P, Ragonese C, Russo M, et al. Sililian lemon oil: Composition of volatile and oxygen heterocyclic fractions and enantiomeric distribution of volatile components. J Sep Sci 2010; 33: 3374-3385.
Foti M, Piattelli M, Baratta MT, Ruberto G. Flavonoids, coumarins, and cinnamic acid as antioxidants in a micellar system, structure-activity relationship. J Agric Food Chem 1996; 44(2): 497-501.
Geetha RK, Vasudevan DM. Inhibition of lipid peroxidation by botanical extracts of Ocimum sanctum: In vivo and in vitro studies. Life Sci 2004; 76(1): 21-28.
Jirovetz L, Buchbauer G. stoilova I, Stoyanova A. Schmidt E. Chemical composition and antioxidant properties of clove leaf essential oil. J Agric Food Chem 2006; 54(17): 6303-6307.
Kim JH, Kim BJ. Biological screening of 100 plant extracts for cosmetic use (II): anti-oxidative activity and free radical scavenging activity. Int J CosmetSci 1997; 19: 299-307.
Kim JH, Chen F, Wang X, Chung HY, Jin z. Evaluation of antioxidant activity of Vetiver (Vetiveriazi-zaniodes L.) oil and identification of its antioxidant constituents. J Agric Food Chem 2005; 53(20): 7691-7695.
Lertsatitthanakom P, Taweechaisupapong S, Aromdee C, Khunkitti W. in vitro bioactivities of essential oils used for acne control. Int J Aromather 2006; 16: 43-49.
Lin CC, Wu SJ, Chang CH, Nq LT. Antioxidant activity of Cinnamomum cassia. Phytotherapy Res 2003; 17(7): 726-730.
Martinez J, Rosa TV, Menut C, Leydet A, et al. Valorization of BrazillianVetiver (Vetiveriaziza-noides (L.) Nash ex Small) Oil. J Agric Food Chem 2004; 52: 6578-6584.
Masashiro M, Norikazu I, Yoshiko K, Miki M, Kazuhito W. Inhibition activity of Citrus essential oils. J Cosmet Derm 2002; 1: 183-187.
Matsuura R, Ukeda H, Sawamura M. Tyrosinase inhibition activity of Citrus essential oils. J Agric Food Chem 2006; 54: 2309-2313.
Viyoch J, Pisutthanan N, Faikrea A, Nupangta K, Wangtopol K, Ngokkuen J. Evaluation of in vitro antimicrobial activity of Thai basil oils and their micro-emulsion formulas against Propionibacterium acnes. Int J Cosmet Sci2006; 28: 125-133.