การจัดการความรู้ในงานบริการเภสัชสนเทศของโรงพยาบาลในจังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

ศิศิรา ดอนสมัคร
สมชาย สุริยะไกร

บทคัดย่อ

บทนำ: การนำการจัดการความรู้มาประยุกต์ใช้ในการให้บริการเภสัชสนเทศของหน่วยบริการเภสัชสนเทศจะช่วย ส่งเสริมให้การทำงานของหน่วยบริการเภสัชสนเทศบรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ นำไปสู่การให้ข้อมูลด้านยาที่ ถูกต้องในเวลาที่ต้องการแก่บุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วย เกิดการใช้ยาอย่างเหมาะสม การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา กระบวนการและปัญหาในการจัดการความรูในงานบริการเภสัชสนเทศ วิธีการ: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากเภสัชกรผู้รับผิดชอบงานบริการเภสัชสนเทศ ซึ่งปฏิบัติงานในโรงพยาลบาล ในจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 20 แห่ง ผลการศึกษา: ได้รับแบบสอบถามคืน 17 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 85.0 โดย 2 แห่ง ที่มีการดำเนินงานการจัดการความรู้ (ร้อยละ 12.5) การจัดการความรู้ของงานบริการเภสัชสนเทศส่วนใหญ่ มีการกำหนดความรู้ที่จำเป็นให้สอดคล้องกับเป้าหมาย ของหน่วยงาน (ร้อยละ 31.2)มีความร่วมมือกันในฝ่ายเภสัชกรรมในการสร้างและแสวงหาความรู้ (ร้อยละ 56.3) มีการสร้าง และแสวงหาความรู้จากการประชุม/สัมมนา/การประชุมเชิงปฏิบัติการ (ร้อยละ 81.3) มีเภสัชกรที่รับผิดชอบการให้บริการเภสัช สนเทศเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดเก็บความรู้(ร้อยละ 50.0) โดยจัดเก็บในรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์ (ร้อยละ 87.5) และสื่ออิเลคทรอนิกส์ (ร้อยละ 62.5) ส่วนใหญ่มีการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยการสื่อสารด้วยเอกสารเช่น บันทึก หนังสือเวียน (ร้อย ละ 87.5) มีการนำความรูไปใช้ในการพัฒนาบุคลากร (ร้อยละ 100.0) พัฒนางาน (ร้อยละ 93.8) และพัฒนาองค์กร (ร้อยละ 87.50) สำหรับปัญหาในการจัดการความรู้พบว่าปัญหาด้านการกำหนดความรู้ การจัดเก็บความรู้ การถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การประยุกต์ใช้ความรู้ และด้านปัจจัยสนับสนุนการจัดการความรู้ อยู่ในระดับมาก ส่วนปัญหาด้านการสร้างและแสวงหาความรู้ อยู่ในระดับปานกลาง สรุปผล: งานบริการเภสัชสนเทศของโรงพยาบาล ในจังหวัดอุบลราชธานีส่วนมาก ยังไม่มีนโยบายด้านการจัดการความรู้จึงไม่มีรูปแบบการจัดการความรู้ที่ชัดเจน แต่อย่างไรก็ตามมีการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ  ที่สอดคล้องกับกระบวนการจัดการความรู้ได้แก่ การกำหนดความรู้ การสร้างความรู้และแสวงหาความรู้ การจัดเก็บความรู้ การแบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการประยุกต์ใช้ความรู้ ดังนั้นควรมีการพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ในงานบริการ เภสัชสนเทศของโรงพยาบาล ในจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อให้การดำเนินงานจัดการความรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และ พัฒนาเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างโรงพยาบาล จะทำให้เกิดการพัฒนางานบริการเภสัชสนเทศของโรงพยาบาล ในจังหวัดอุบลราชธานีต่อไป

Article Details

บท
เภสัชกรรมปฏิบัติ (Pharmaceutical Practice)

References

American Society of Health-System Pharmacists. Guide-lines minimum standard for pharmaceutical services in ambulatory care. Am j health-syst pharm. 1999; 56: 1744-47.

International Pharmaceutical Federation (FIP). Require-ment for Drug information Centres [online]. 2005 Sep 5 [cited 2010 May 10]. Available from: http://www.fip.org/files/fip/PI/RequirementsforDrugInformationCentres.pdf.

Julinton T. A Processes and success factors of knowl-edge management in organizations: Case study of Mental Health Center, Department of Mental Health [Thesis for the degree of Master of Arts in Social Development Administration] Bangkok: NIDA; 2006.

Junsri K. Astudy of the actualization of knowledge management in nursing at Pharmongkutklao Hospital [Thesis for the degree of Master of Education in Human Resources Development] Bangkok: Ramkhamhaeng University; 2009.

Lorsuwannarat T. Information system for management. 6thed. Bangkok: Sat Four Pringting; 2004

Musigapong P. The condition of knowledge management and the needs in increasing knowledge to the learning organization of the personnel in health service system development bureau, Department of Health Service Support, Ministry of Public Health [Thesis for the degree of Master of Business (Administration in General Management)] Bangkok: Pharanakorn Rajabhat University; 2007.

Namprasertchai S. Technology and Knowledge Management[Online]. 2006 [Cited 2009 Oct 15]. Available from: http://www.vet.cmu.ac.th/KM/document/Tech_KM.pdf.

O’Dell C, Grayson CJ. If only We Knew What We Know: Identifi cation and Transfer of Best Practice. California Management Review 1998; 40(1).

Pakasakulwong A. Direcion of Knowledge Management in Pharmacy Department of Romchat Hospital, Muang District, Nakahon Sawan Province [Thesis for the degree of Master of Arts (Development strategy)]. Nakhon Sawan: Nakhon Sawan Rajabhat University; 2007

Panich W. Knowledge management: Practitioners. Bankok: Sukkhapabjai; 2005

Riensavapak S., Maneewattana S, Lovichit T., Sanguan-roongvong J., Chiaowanich K., and Kobkuwat-tana Ti. Knowledge management. Bangkok: K. Ponpim; 2007.

Somsaman T. A Structure and process of knowledge management in organizations: Case study in Yala Provincial Health Office [Thesis for the degree of Master of Arts in Social Development Administration] Bangkok: NIDA; 2005.

South African Association of Hospital and Institutional Pharmacists. Practice standard for provision of drug information services [Online]. 2007 Nov 11 [cited 2010 Oct 15]. Available from: http://www.saahip.org.za/docs/practicestd-druginfo.html.

The Association of Hospital Pharmacy (Thailand). Standard practice guideline of hospital pharmacy. Bangkok: Chanmuang; 1999.

Tungsateanrapap W., Rengpinit P., Phongtong T. Serveying of drug information desire and information source in (Public) Hospitals in Khon Kaen province. Srinagarind Med J.1998; 13(1): p 24-9

Wanitchareonchai W. Development of knowledge creation systems using team learning methods for nursing instructors in higher education institutions [Thesis for the degree of Doctor of Philosophy (Educational Technology and Communications)] Bangkok: Chulalongkorn University; 2005.

Wicharn B. Knowledge management in action. Bangkok: Expernetbooks; 2004

Ying K. The exploration on the realization and practice of knowledge management between middle level managers and basic level nurses based on the example: The nursing department of one hospital in the south of Taiwan [online]. 2004 [cited 2010 Sep 15]. Available from: etd.lib.nsysu.edu.tw/ETD-db/ETD-search/view-etd?VRN=etd-0126105-194108.

Yodnoppaklao N. A Knowledge management of Surin Ruam Phaet Hospital [Thesis for the degree of Master of Business Administration] Mahasarakham: Mahasarakham University; 2005