การตรวจหาชนิดของจันทน์แดงที่วางจำหน่ายในร้านขายส่งสมุนไพรในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยใช้ลายชี้บ่งจากเทคนิค HPLC

Main Article Content

จินดา หวังบุญสกุล
ศุภชัย ติยวรนันท์

บทคัดย่อ

สมุนไพรเป็นความหวังของคนจำนวนมากที่ต้องการพึ่งพาตนเองในการนำมาใช้บำบัดโรคทดแทนยาแผนปัจจุบัน แต่อุปสรรคในการใช้ยาสมุนไพรมีมาก อาทิ สมุนไพรที่มีความแปรปรวนของคุณภาพวัตถุดิบ ความถูกต้องของชนิดและส่วนของสมุนไพรที่นำมาใช้ ความสับสนของชื่อที่ใช้เรียกโดยเฉพาะสมุนไพรที่มีลักษณะภายนอกคล้ายคลึงกัน วัตถุประสงค์ การพิสูจน์เอกลักษณ์เพื่อจำแนกชนิดจันทน์แดงที่มีจำหน่ายในลักษณะผงแห้งบดละเอียดสมุนไพรในชื่อแก่นจันทน์แดงในร้านขายส่งสมุนไพรในเขตกรุงเทพและปริมณฑล ว่าเป็นแก่นจันทน์แดง (Pterocarpus santalinus L.f.) หรือแก่นลักจั่น (Dracaena cochinchinensis (Lour.) S.C.Chen) วิธีดำเนินการวิจัย เรียกซื้อตัวอย่างสมุนไพรในชื่อ แก่นจันทน์แดงจากร้านขายส่งในเขตกรุงเทพและปริมณฑล แยกสารของตัวอย่างโดย gradient elution ด้วยเครื่อง HPLC ที่มี diode array detector นำข้อมูลของโครมาโทรแกรมของตัวอย่างที่ได้มาเปรียบเทียบกับข้อมูลของโครมาโทรแกรมของสมุนไพรที่ใช้เป็นมาตรฐานซึ่งทราบชนิดแน่นอนจากการผ่านการพิสูจน์เอกลักษณ์โดยวิธีทางเภสัชเวท ผลการวิจัย ลายชี้บ่งจากเทคนิค HPLC ของแก่น Pterocarpus santalinus L.f. มีความแตกต่างอย่างมากกับของแก่น Dracaena cochinchinensis (Lour.) S.C.Chen ในขณะที่ลายชี้บ่งจากเทคนิค HPLC ของทั้งหกตัวอย่างมีความคล้ายคลึงมากกับของแก่น Dracaena cochinchinensis (Lour.) S.C.Chen สรุป ตัวอย่างแก่นจันทน์แดงทั้งหมดที่สุ่มซื้อมาเป็นแก่นลักจั่น (Dracaena cochinchinensis (Lour.) S.C.Chen)

Article Details

บท
เภสัชศาสตร์ (Pharmaceutical Sciences)

References

Arunakumara KKIU, Walpola BC, Siripala Subasinghe S, Yoon MH. Pterocarpus santalinus Linn. f. (Rath handun): A Review of Its Botany, Uses, Phytochemistry and Pharmacology. J. Korean Soc. Appl Biol Chem 2011; 54(4): 495-500.

Department of Medicinal Sciences, Ministry of Public Health. CHAN DAENG. Thai Herbal Pharmacopoeia Volume IV. 1sted. Bangkok: Office of National Buddishm Press; 2014. 27.

Department of Medicinal Sciences, Ministry of Public Health. LAKKACHAN. Thai Herbal Pharmacopoeia Volume IV. 1sted. Bangkok: Office of National Buddishm Press; 2014. 56.

Likhitwitayawuid K, Sawasdee K, Kirtikara K. Flavonoids and stilbenoids with COX-1 and COX-2 inhibitory activity from Dracaena loureiri. Planta Med 2002; 68: 841-3.

Picheansoonthon C, Vichai N. The botanical origin of Chan-daeng. JRIT 2004; 29(1): 25-34.

The International Union for Conservation of Nature (IUCN). The IUCN Red List of Threatened Species. [cited 2016 Oct, 17]; [1 x screens]. Available from: https://dx.doi.org/10.2305/IUCN.UK.1998.RLTS.T32104A9679328.en.