การศึกษาปัจจัยและองค์ประกอบของเจลก่อตัวเองโดยมีพอลิเมอร์ PLGA เป็นสารก่อ เจลหลัก
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทนำ: เจลก่อตัวเองถูกพัฒนาเป็นระบบนำส่งยาอย่างต่อเนื่องเพื่อทดแทนรูปแบบฝัง เพื่อลดความเจ็บปวดจากการใช้สำหรับการรักษาโรคเหงือกอักเสบ วัตถุประสงค์ : งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตำรับเจลก่อตัวเองสำหรับใช้ในช่องเหงือก ที่เตรียมจากpoly(lactic acid-co-glycolic acid)(PLGA) ในตัวทำละลายอินทรีย์ N-methyl-2-pyrrolidone (NMP) ด้วยวิธีการแลกเปลี่ยนสารละลาย โดยศึกษาหาสัดส่วนที่เหมาะสมของ PLGA และตัวทำละลาย ในอัตราส่วน 1:2, 1:3, 1:4, 1:5, 1:10 และ 1:15และศึกษาผลของสารช่วย ได้แก่ polyvinylpyrrolidone (PVP),Poloxamer 407®และ Poloxamer 188®และเปรียบเทียบผลของคุณสมบัติทางกายภาพ ความหนืด การก่อเจล การฉีดผ่านเข็มฉีดยา และการสูญเสียพอลิเมอร์ ผลการวิจัย: จากผลการก่อเจล (in situ gel forming) และ ความหนืด (viscosity) ของ PLGA ต่อ NMP พบว่า อัตราส่วน1:3, 1:4, และ 1:5 สามารถก่อเจลและขึ้นรูปดี (เวลาน้อยกว่า 1 นาที) แต่มีความหนืดสูง (11.803±1.857Pa.s, 2.576±0.385 Pa.s และ 0.955±0.076 Pa.s ตามลำดับ) เมื่อเพิ่มสารช่วยในตำรับ พบว่า ความหนืดลดลง ฉีดผ่านเข็มฉีดยาดีขึ้นและมีการสูญเสียพอลิเมอร์เพิ่มขึ้นซึ่งสัมพันธ์กับจำนวนรูพรุนภายในโครงสร้างจาก SEM พบว่าเมื่อเติมสารช่วยในตำรับจะพบลักษณะรูพรุนเกิดขึ้นภายในโครงสร้าง โดยรูพรุนที่เกิดจากการเติม Poloxamerทั้งสองชนิดมีขนาดสม่ำเสมอและมีผนังบางพื้นผิวเรียบมีรูพรุน ขณะที่สารช่วย PVP จะทำให้เกิดพื้นผิวเรียบมีลักษณะคล้ายเส้นใยและรูพรุนภายมีขนาดไม่สม่ำเสมอผนังหนา นอกจากนี้ที่อัตราส่วน 1:3 ของPLGA/PVP: NMP พบการสูญเสียของพอลิเมอร์เพิ่มขึ้นในสัปดาห์แรกจากนั้นเริ่มคงที่ในสัปดาห์ที่ 2-4 (ร้อยละ 14.37,19.83, 18.46 และ 19.18 ตามลำดับ) จึงสามารถทำนายได้ว่าวัสดุที่เตรียมจาก PLGA/PVP น่าจะทำให้เกิดการปลดปล่อยยาอย่างช้า ๆ และคงที่ในสัปดาห์ที่ 2 สรุปผลการวิจัย: สารช่วยกลุ่ม Poloxamerหรือ PVP มีความจำเป็นสำหรับการเตรียมเจลก่อตัวเองโดยวิธีแลกเปลี่ยนตัวทำละลายเพื่อช่วยให้วัสดุมีคุณลักษณะที่เหมาะสมสำหรับใช้ในช่องเหงือก
Article Details
กรณีที่ใช้บางส่วนจากผลงานของผู้อื่น ผู้นิพนธ์ต้อง ยืนยันว่าได้รับการอนุญาต (permission) ให้ใช้ผลงานบางส่วนจากผู้นิพนธ์ต้นฉบับ (Original author) เรียบร้อยแล้ว และต้องแนบเอกสารหลักฐาน ว่าได้รับการอนุญาต (permission) ประกอบมาด้วย
References
อรลักษณาแพรัตกุล. เทคโนโลยีการเคลือบทางเภสัชกรรม (Pharmaceutical coating technology). นครนายก: สาขาวิชาเทคโนโลยีเภสัชกรรมคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2552.
Brodbeck KJ, McHugh AJ. Phase inversion dynamics of PLGA solutions related to drug delivery. J. Control. Release1999; 54: 233-245.
Do MP. In situ forming implants for the treatment of periodontitis. Human health and pathology. Universit e du Droit et de la Sant e - Lille II, 2014.
Setthajindalert O, Phaechamud T. Solvent Exchanged In Situ Forming Gel. Thai Pharm Health Sci J.2012; 7(3):137-142.
Ramchandania M, Robinson D. In vitro and in vivo release of ciprofloxacin from PLGA 50:50 implants. J. Control. Release1998; 54: 167-175.
Thakur R, McMillan H, Jones D. 2014. Solvent induced phase inversion-based in situ forming controlled release drug delivery implants. J. Control. Release 176:8-23.
Vieira M, Silva M, dos Santos LO. Natural-based plasticizers and biopolymer films: A review. Eur. Polym. J. 2011: 47; 254-263
Zeng N, Dumortier G, Maury M, et al. Influence of additives on a thermosensitive hydrogel for buccal delivery of salbutamol: Relation between micellization, gelation, mechanic and release properties. Int. J. Pharm. 2014; 467: 70-83.
Zilberman M, Malka A. Drug controlled release from structured bioresorbable films used in medical devices-A mathematical model. J. Biomed. Mater. Res. Part B Appl. Biomater 2009;89B(1):155-164.