ผลลัพธ์ทางคลินิกและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหืด คลินิกโรคหืด โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ

Main Article Content

สุณี เลิศสินอุดม

บทคัดย่อ

 


บทนำ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลลัพธ์ทางคลินิกและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหืด โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ คลินิกโรคหืด วิธีการดำเนินการวิจัย: ศึกษาแบบกึ่งทดลองไปข้างหลัง (Retrospective Quasi-Experiment or Pre-Post Study) ในผู้ป่วยนอกรายใหม่ที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคหืด และเข้ารับการรักษาในคลินิกผู้ป่วยโรคหืด ระหว่าง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 ถึง 31 มกราคม พ.ศ. 2555 มีการติดตามผลการรักษาในคลินิกอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 6 เดือน และได้รับการบริบาลทางเภสัชกรรมจากเภสัชกรในคลินิกอย่างน้อย 2 ครั้ง แล้วดูผลลัพธ์ทางคลินิกได้แก่ สมรรถภาพปอด และระดับการควบคุมโรคหืด ทุก 2 เดือน และวัดคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ณ ครั้งแรกที่เข้าคลินิกและหลังจากรับการรักษาต่อเนื่องมา 6 เดือนโดยใช้แบบวัดคุณภาพชีวิต Thai MiniAQLQ โดยค่า ผลการวิจัย: ผู้ป่วยจำนวน 41 ราย อายุเฉลี่ย 44.00±5.32 ปี เป็นเพศหญิงร้อยละ 65.9 จากการศึกษาพบว่า ผลลัพธ์ทางคลินิกของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในคลินิกโรคหืดดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญกล่าวคือ ค่าสมรรถภาพปอด (PEFR) มีค่ามากกว่าค่าเริ่มต้น (304.8 ± 102.9 และ 330.2 ± 114.2 ตามลาดับ, p=0.026) ร้อยละของจำนวนผู้ป่วยที่มีค่าสมรรถภาพปอด (%PEFR) มากกว่าร้อยละ 80 มีจำนวนสูงกว่าค่าเริ่มต้น (ร้อยละ 41.5 และ ร้อยละ 61.0 ตามลาดับ, p=0.003) ภายหลังได้รับการบริบาลจากทีมสหสาขาวิชาชีพ พบว่าระดับการควบคุมโรคหืดของผู้ป่วยแตกต่างกับก่อนเข้าร่วมในคลินิก โดยผู้ป่วยที่มีการควบคุมโรคในระดับ controlled และ partly controlled/uncontrolled ก่อนเข้าคลินิก เท่ากับร้อยละ 34.2 และ 65.8 ตามลาดับ และเมื่อสิ้นสุดการศึกษา มีผู้ป่วยที่มีการควบคุมโรคในระดับ controlled เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 65.9 และ partly controlled หรือ uncontrolled ลดลงเป็นร้อยละ 34.1 (p = 0.008) พบจำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในห้องฉุกเฉินลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ร้อยละ 19.5 และร้อยละ 2.4 ตามลำดับ, p=0.039) ด้านคุณภาพชีวิตโดยรวมของผู้ป่วยหลังเข้ารับการรักษาในคลินิกโรคหืดดีขึ้นโดยมีค่าเฉลี่ยของคะแนนสูงกว่าครั้งแรกอย่างมีนัยสำคัญทางคลินิก (4.1±0.9 และ 5.2±1 ตามลำดับ, p<0.0001) และในทุกมิติทั้งด้านอาการ ด้านการแสดงอารมณ์ ด้านการจำกัดในกิจกรรมและด้านสิ่งเร้าในสภาพแวดล้อม ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเช่นเดียวกัน สรุปผลการวิจัย: การบริบาลผู้ป่วยโรคหืด โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ ในคลินิกโรคหืด ส่งผลให้ผลลัพธ์ทางคลินิกและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น

Article Details

บท
เภสัชกรรมปฏิบัติ (Pharmaceutical Practice)

References

Duangdee A., Outcome of Easy asthma clinic implementation at Ban PhaiHospital, Khon Kaen. Journal ofHealth System. 2007; 1styear, No. 2: 45-50.

Ford ES, Mannino DM, Homa DM, et al. Self-reported asthma and health-related quality of life. Chest 2003; 123: 119-27.

JanworachaikulC. Outcomes of Easy Asthma Clinic in Yangtalad Hospital. Srinagarind Med J. 2007; 22(4):449-58.

Juniper EF. Quality of life considerations in the treatment of asthma. Pharmacoecon 1995; 8(2):123-38

Juniper EF. Guyatt GH. Astma and allergy. In: Spilker (ed). Quality of life and Pharmacoeconomics in Clinical Trials. 2nded. Philadelphia: Lippincott-Raven Publisher, 1996: 977-82.

Juniper EF. Development and validation of the Mini Asthma Quality of Life Questionaire. Eur Respir J. 1999.14: 32 –38.

Klaikaew L. Outcomes Measurement on Drug Counseling in Asthmatic Patients. Thai Journal of Hospital Pharmacy.2009; 19(3):228-36.

KuwalairatP.,Mayases P., Navawatcharin N.,The evaluation ofpharmaceutical care forpatients withasthma bypharmacistsinmultidisciplinary teams. Pharmacy Department, Paknum-ChumpornHospital. 2008: 1-12.

Lertsinudom S. Validity and Reliability of the Thai Mini Asthma Quality of Life Questionaire. J Med Assoc Thai. 2010. 93 (3): 373 –377

Nuchprayoon C.ArticleWorldAsthmaDay. KnowledgeSocietyasthmatic patientsfromthe region; 2549: 1-2.

Sangpoom P., Sathapornnanoon N., Poonsap N.,Clinical outcomesandqualityoflife of pharmaceutical carebefore to see physician in theasthma clinicat Pranangklao hospital.Thai Pharm Health Sci J.2010; Vol. 5(1): 23-30.

Wisnivesky JP, Leventhal H, Kalm EA. Predictors of asthma-related health care utilization and quality of life among inner-city patients with asthma. J Allergy Clin Immunol2005; 116: 636-42.