ผลของสารสกัดสมุนไพรไทยสี่ชนิดต่อการสังเคราะห์เมลานิน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทนำ: เมลานินเป็นเม็ดสีที่ทำให้ผิวหนังและเส้นผมมีสีแตกต่างกันไปภาวะที่มีความผิดปกติหรือสร้างเมลานินน้อยทำให้เกิดสีผมจางลงและผมหงอกได้ตำรายาไทยมีการอ้างสรรพคุณสมุนไพรหลายชนิดว่าแก้ผมหงอกได้แต่ยังขาดข้อมูลเชิงวิทยาศาสตร์สนับสนุน วัตถุประสงค์: การศึกษานี้ต้องการศึกษาผลของสารสกัด 50% เอทานอลของสมุนไพรไทย 4 ชนิดได้แก่กะเม็ง (Eclipta prostrata L.) ขิง (Zingiber officinale Roscoe.) เทียนกิ่ง (Lawsonia inermis L.) ทองพันชั่ง (Rhinacanthus nasutus (L.) Kurz.) ต่อการสร้างเมลานิน วิธีดำเนินการวิจัย: ศึกษาปริมาณสารประกอบฟีโนลิกรวมฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH Radical Scavenging Assay (DPPH) และFerric Reducing Ability of Plasma (FRAP) ฤทธิ์ต่อเอนไซม์ไทโรชิเนสในหลอดทดลองและผลต่อกระบวนการสร้างเมลานินด้วยวิธีวัดปริมาณเมลานินในเซลล์เมลาโนไซต์ชนิด B16F10 ของสารสกัดสมุนไพรทั้ง4ชนิด ผลการวิจัย: พบว่าสารประกอบฟีโนลิกรวมของสารสกัดสมุนไพรมีปริมาณเท่ากับ 68.86±5.61 - 170.21±14.69 มิลลิกรัม/กรัม tannic acid equivalent ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดสมุนไพรด้วยวิธี DPPH มีค่า IC50เท่ากับ 9.93±2.38 - 96.31±6.51 μg/ml และวิธี FRAP มีค่า FRAP value เท่ากับ 72.45±9.4- 733.13±154.62มิลลิกรัม/กรัมสำหรับฤทธิ์ต่อเอนไซม์ไทโรชิเนสพบว่าสารสกัดกะเม็งและสารสกัดขิงที่ความเข้มข้น 150 μg/ml สามารถเพิ่มการทำงานของเอนไซม์ไทโรซิเนสได้ดี (129.21±5.36% และ 144.65±2.68%ตามลำดับ) แตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) พบว่าสารสกัดสมุนไพรทั้ง 4 ชนิดที่ความเข้มข้น 31.25 - 250 μg/ml ไม่เป็นพิษต่อเซลล์ B16F10 และเมื่อทดสอบฤทธิ์ต่อการสร้างเมลานินในเซลล์เมลาโนไซต์พบว่าสารสกัดกะเม็งเทียนกิ่งทองพันชั่งที่ความเข้มข้น 250 μg/ml และสารสกัดขิงที่ความเข้มข้น 62.5 μg/ml สามารถเพิ่มปริมาณเม็ดสีเมลานินได้ดี(118.92±5.22%,129.41±8.17%, 288.97±14.67% และ117.05±10.47%ตามลำดับ) สรุปผลการวิจัย: สารสกัด 50% เอทานอลของสมุนไพรที่ศึกษานี้มีฤทธิ์ในการกระตุ้นการสร้างเม็ดสีเมลานินในเซลล์เมลาโนไซต์ได้ซึ่งอาจสามารถนำมาใช้ช่วยบำรุงเส้นผมให้มีผมหงอกน้อยลงได้
Article Details
กรณีที่ใช้บางส่วนจากผลงานของผู้อื่น ผู้นิพนธ์ต้อง ยืนยันว่าได้รับการอนุญาต (permission) ให้ใช้ผลงานบางส่วนจากผู้นิพนธ์ต้นฉบับ (Original author) เรียบร้อยแล้ว และต้องแนบเอกสารหลักฐาน ว่าได้รับการอนุญาต (permission) ประกอบมาด้วย
References
Chaichan tipyuth C, Poonsook K, Harntokoon M, Rengsomrang S. Herbalsvol 1, 2nd. Vorasanemunechon, Bangkok 1982.
Datta K, Singh AT, Mukherjee A, Bhat B, Ramesh B, Burman AC. Eclipta alba. extract with potential for hair growth promoting activity. J Ethnopharmacol 2009; 124(3): 450-456.
Filipe D, Moura L.Mechanisms regulation melanogenesis. An Bras Dermatol 2013; 88(1): 76-83.
Gritsanapan W. About Herbs.Chulalongkorn University Printing House, Bangkok 1994.
Guan S, Su W, Wang N, Li P, Wang Y. A Potent Tyrosinase Activator from Radix Polygonimultiflori and its Melanogenesis Stimulatory Effect in B16 Melanoma Cells. Phytother Res 2008; 22(5): 660- 663.
Hiranramded S. Local Herbal.Chiang Mai University Printing House, Chiang Mai1991.Johnson DH. (Eds.), Hair and Hair Care. CRC Press, London 1997.
Kaiserin K. Herb for Beauty Health.Thammasan Printing, Bangkok 2003.
Karvevoravot C. Handbook of Herbals and Medicines.Chulalongkorn University Printing House, Bangkok 2001.
Ketikajon S. Handbook of Thai Traditional herbal medicines.Akson Thai Printing, Bangkok 1983.
Kumar N, Rungseevijitprapa W, Narkkhong NA, Suttajit M, Chaiyasut C. 5α-reductase inhibition and hair growth promotion of some Thai plants traditionally used for hair treatment. J Ethnopharmacol 2012; 139(3): 765-771
Lado C, Then M, Varga I, Szoke E, Szentmihalyi K. Antioxidant Property of Volatile Oils Determined by the Ferric Reducing Ability. Z Naturforsch C2004; 59(5-6): 354-358.
Makkar HPS, Blummel K, Borowy NK, Becker k. Gravimetric determination of tannins and their correlations with chemical and protein precipitation methods. J Sci Food Agric 1992; 61(2): 161-165.
Medical Plant Research Institute. traditional herbals, 3rd. Paliving Printing, Bangkok 1997.
Mirmirani P. Age-related hair changes in men: Mechanisms and management of alopecia and graying.Maturitas 2015; 80(1): 58-62.
NaSongkhla B. Thai herbals vol 1, 2nd. Publisher Funny Pubbiting, Bangkok 1982.
Shin H, Ryu HH, Yoon J, et al. Association of premature hair graying with family history, smoking and obesity: A cross- sectional study. J Am AcadDermatol.2015; 72(2): 321-327.
Woisky RG, Salatino A. Analysis of propolis: some parameters and procedures for chemical quality control. J Apic Res 1998; 37(2): 99-105.
Yusuf M, Shahid M, Khan MI, Khan S, Khan MA. Mohammad, F., 2011. Dyeing studies with henna and madder: A research on effect of tin (II) chloride mordant.J SaudiChem Soc. 19(1), 64-72.
Zhou J, Shang J, Ping F, Zhao G. Alcohol extract from Vernoniaanthelmintica (L.) willd seed enhances melanin synthesis through activation of the p38 MAPK signaling pathway in B16F10 cells and primary melanocytes. J Ethnopharmacol 2012; 143(2): 639-647.