ปัจจัยด้านการเรียนที่มีผลต่อการเกิดความเครียดและภาวะซึมเศร้าในนักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

Main Article Content

อุไรวรรณ อกนิตย์
ทวนธน บุญลือ
อัญมณี ลาภมาก
วันนิศา ดงใต้
อิสรภาพ คลาดโรค
วราภรณ์ เทพศรี

บทคัดย่อ

ความเครียดเป็นสิ่งหนึ่งที่สามารถเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงการศึกษาระดับอุดมศึกษาซึ่งเป็นวัยที่ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก อาจทำให้เกิดความเครียดหรือภาวะซึมเศร้าขึ้นได้ ซึ่งอาจพัฒนาเป็นโรคซึมเศร้าตามมา วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยด้านการเรียนที่มีผลให้เกิดความเครียดและภาวะซึมเศร้าของนักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี วิธีการดำเนินวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ถึง ชั้นปีที่ 6 คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีที่ลงทะเบียนเรียนในปีการศึกษา 2563 เก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามออนไลน์และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกรายบุคคล สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่          หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านการเรียน ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างในการศึกษานี้มีจำนวน 313 คน เมื่อทำการวิเคราะห์ระดับความเครียดของกลุ่มตัวอย่าง พบว่าส่วนใหญ่มีความเครียด ร้อยละ 59.1 และมีภาวะซึมเศร้า ร้อยละ 43.5 ปัจจัยด้านการเรียนมีผลต่อความเครียดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทุกปัจจัย ยกเว้นการสอบไม่ผ่านแล้วต้องเรียนซ้ำชั้น โดยปัจจัยที่มีผลมากที่สุด คือ กดดันตนเองด้านการเรียนมากเกินไป ปัจจัยด้านการเรียนมีผลต่อภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทุกปัจจัย โดยปัจจัยที่มีผลมากที่สุด คือ ผลการเรียนไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง การวิเคราะห์ผลวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่าปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดความเครียด ได้แก่ การปรับตัวไม่ทัน การเรียนไม่รู้เรื่อง การมีเนื้อหาการเรียนที่ยาก การอ่านหนังสือไม่ทัน สรุป: ปัจจัยด้านการเรียนส่วนใหญ่ส่งผลต่อความเครียดและทุกปัจจัยด้านการเรียนส่งผลต่อภาวะซึมเศร้าของนักศึกษาเภสัชศาสตร์

Article Details

บท
เภสัชกรรมปฏิบัติ (Pharmaceutical Practice)

References

Aphivatanasiri C, Somakasetrin K, Suraprayoon K, Leuamprasert K, Wankaew N, Homchampa P. Stress and Stress management among Medical student in clinical year, Faculty of Medicine, Khon Kaen University. Srinagarind Medical Journal. 2007;22:416-24.

Chanakit T, Low BY, Wongpoowarak P, Moolasarn S, Anderson C. Does a transition in education equate to a transition in practice? Thai stakeholder’s perceptions of the introduction of the Doctor of Pharmacy programme. BMC Med Educ. 2015;15:205.

Chuemongkon W, Rungrattanapongporn P, Chantathamma S. Depression, Stress and coping strategy among Pharmacy Students at Srinakharinwirot University. Bulletin of Suanprung 2017;33(1):1-13.

Dahlin M, Joneborg N, Runeson B. Stress and depression among medical students: a cross- sectional study. Med Educ. 2005;39:594-604.

Department of Mental Health. Handbook for Stress Management (Revision version). 4th ed. Nonthaburi: Agricultural cooperative printing demonstrations of Thai Ltd. 2008.

Department of Mental Health. Guidance for using tools in psychiatry for healthcare in community hospital. 1st ed. Nonthaburi: Agricultural cooperative printing demonstrations of Thai Ltd. 2015.

Fischbein R, Bonfine N. Pharmacy and Medical Students' Mental Health Symptoms, Experiences, Attitudes and Help-Seeking Behaviors. Am J Pharm Educ. 2019;83(10):7558.

Garber MC, Huston SA, Breese CR. Sources of stress in a pharmacy student population. Curr Pharm Teach Learn. 2019;11(4):329-337.

Hongsrisuwan N. Depression. HCU Journal (Health Science) 2016;19(38):105-118.

Jamshed S, James P, Elkalmi R, et al. Causes of stress and management approaches among undergraduate pharmacy students: Findings from a Malaysian Public University. Arch Pharma Pract. 2017;109:15.

Kanjanasilp J, Saramunee K, Kongsree S, Suthiraksa S, Chummalee I, Hanrin R. The prevalence of stress and depression among pharmacy students at Mahasarakham University. IJPS. 2008;4(2):65-72.

Boonprasert K. Depression screening among pharmacy students at Faculty of Pharmacy, Chiang Mai University [Independent Study]. Chiang Mai university. Graduate school; 2018.

Kuehner C. Why is depression more common among women than among men? Lancet Psychiatry 2017;4(2):146-158.

Mingprasert A, Sheng KD. A study of Mental Health and the Stress of undergraduate Students in Faculty of Pharmacy at Rangsit University. J of Soc Sci & Hum. 2014;40(2):211-227.

Prasomsup S, Pannoi K, Kamchaithep N, Maitreemit P, Gorsanan S, Anuratpanich L. Factors Affecting Stress in Students, Faculty of Pharmacy, Mahidol University. J Health Sci. 2022;30(6):1122–1133.

Sonpaveerawong J, Dammee M, Nimsuwa J, Mad-a-dam C, Laiadkan S, Sopon S. Stress, Stress Management andthe Need to Supports Nursing Students. J Nurs Edu. 2016;9(3):36-49.

Utsathae W. Factors predicting stress in student, Faculty of Pharmacy, Chiang Mai University [Research Full paper]. Faculty of Pharmacy, Chiang Mai University. Chiang Mai; 2021.

Zeeman JM, Benksy HP, Minshew LM. Pharmacy Student Stress and Time Use in Pre-Clinical and Clinical Students. Am J Pharm Educ. 2023;87(6):100073.