ประสบการณ์การรีวิวผลิตภัณฑ์สุขภาพของนิสิต/นักศึกษาเภสัชศาสตร์ในประเทศไทย

Main Article Content

รักษ์จินดา วัฒนาลัย
กมลวรรณ ตันติพิวัฒนสกุล
สุญาณี พงษ์ธนานิกร
จุลญา บุตรธนู
สุวรรณรัตน์ ตาลเจริญ
ฉัตรฉะฎา นิติภักดิ์
ชินวัจน์ แสงอังศุมาลี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การรีวิวผลิตภัณฑ์สุขภาพของนิสิต/นักศึกษาเภสัชศาสตร์ประเทศไทย และประเมินความรู้ด้านกฎหมายและจรรยาบรรณวิชาชีพเภสัชกรรมของนิสิต/นักศึกษาเภสัชศาสตร์ประเทศไทย วิธีการศึกษา: การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบตัดขวาง ผู้วิจัยเก็บข้อมูลตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2565 ถึง 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 ด้วยแบบสำรวจผ่านระบบออนไลน์โดยประชาสัมพันธ์การเข้าร่วมโครงการวิจัยโดยสมัครใจผ่านสโมสรนิสิต/นักศึกษาเภสัชศาสตร์ ประเทศไทย ประชากรในการศึกษา คือ นิสิต/นักศึกษาเภสัชศาสตร์ระดับปริญญาตรีทุกชั้นปีในประเทศไทย เครื่องมือที่ใช้คือแบบสำรวจ ประกอบไปด้วย 3 ส่วนได้แก่ ชั้นปี ประสบการณ์การรีวิวผลิตภัณฑ์สุขภาพและจริยธรรมส่วนบุคคล จำนวน 20 ข้อ ความรู้ด้านกฎหมายและจรรยาบรรณวิชาชีพ จำนวน 10 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ ผลการศึกษา: ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างจำนวน 544 คน จาก 19 สถาบัน กลุ่มตัวอย่างจากชั้นปีที่ 2 เข้าร่วมการศึกษามากที่สุดคือ 147 คน (ร้อยละ 27.00) ผลการศึกษาพบว่ามีการรีวิวผลิตภัณฑ์สุขภาพของกลุ่มตัวอย่างจากมากไปน้อยดังนี้ การรีวิวเครื่องสำอาง การรีวิวผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และการรีวิวผลิตภัณฑ์ยา (ร้อยละ 17.65, ร้อยละ 16.54 และร้อยละ 4.23 ตามลำดับ) คะแนนเฉลี่ยด้านความรู้ด้านกฎหมายและจรรยาบรรณวิชาชีพเภสัชกรรมเกี่ยวกับการรีวิวผลิตภัณฑ์สุขภาพพบว่าชั้นปีที่ 6 มีคะแนนสูงสุดคือ 8.40 ± 1.29 (ค่าเฉลี่ย ± ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, คะแนนเต็ม 10 คะแนน) และพบแนวโน้มกลุ่มตัวอย่างมีค่าคะแนนเฉลี่ยความรู้เพิ่มมากขึ้นตามชั้นปีการศึกษา คะแนนความรู้ด้านกฎหมายและจรรยาบรรณวิชาชีพฯและประสบการณ์การรีวิวผลิตภัณฑ์สุขภาพสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (R=0.566, p<0.001) สรุปผลการศึกษา: นักศึกษาเภสัชศาสตร์ส่วนใหญ่มีความรู้ด้านกฎหมายและจรรยาบรรณวิชาชีพเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ แต่ในชั้นปีต้นมีความรู้เฉลี่ยอยู่พียงระดับปานกลาง รวมทั้งเคยมีประสบการณ์การรีวิว หรือเห็นนิสิต/นักศึกษารีวิวผลิตภัณฑ์สุขภาพ ดังนั้นควรพัฒนาความรู้ด้านกฎหมายเกี่ยวกับการรีวิวผลิตภัณฑ์สุขภาพให้แก่นักศึกษาเภสัชศาสตร์ตั้งแต่ชั้นปีต้น

Article Details

บท
เภสัชกรรมปฏิบัติ (Pharmaceutical Practice)

References

Chalongsuk R, Amrumpai Y, Kapol N. Comparison of Pharmacy Student’s and Other Students’Attitude towards Ethical Issues in Professional Practices : A Case of Community Pharmacist. Thai Pharmaceutical and Health Science Journal. 2012; 7(2): 78-83.

Cochran,W.G. (1963). Sampling TechniQue. second edition. New York : John Wiley&Sons.

Fino LB, Alsayed AR, Basheti IA, Saini B, Moles R, Chaar BB. Implementing and evaluating a course in professional ethics for an undergraduate pharmacy curriculum: A feasibility study. Curr Pharm Teach Learn. 2022; 14(1): 88-105.

Hasan S. Teaching ethics to pharmacy students using a team-based learning approach. Pharm Educ [internet]. 2015 Jun. 11 [cited 2024 Feb. 8];11. Available from: https://pharmacyeducation.fip.org/pharmacyeducation/article/view/313

Henning MA, Malpas P, Ram S, et al. Students' responses to scenarios depicting ethical dilemmas: a study of pharmacy and medical students in New Zealand. J Med Ethics. 2016; 42(7): 466-473. doi:10.1136/medethics-2015-103253

Marketeer online. Thailand Internet User 2022. [Online] 2022 Feb 1 [cite Aug 17, 2022]. Available from: https://marketeeronline.co/archives/250184

Matter, B. L. (2019). Lucid Talk poll on abortion. In. Maund, B. (2003). Perception (Central problems of philosophy): McGill-Queen's University Press.

Muangtum, N. 13 Insight Ecommerce 2022 Online Trading Behavior Data from Digital Stat 2022. [Online] 2022 Feb 12 [cite Aug 17, 2022]. Available from: https://www.everydaymarketing.co/trend-insight/insight-ecommerce-thai-2022-digital-stat-we-are-social/

Pongpaew W, Sununtiwat M, Sooksriwong C, Anuratpanich L. Ethical Sensitivity among Thai Pharmacy Students. Veridian E-Journal Silapakorn University Humanities, Social Science and Arts. 2019; 12(1): 1055-1069.

Salari P, Abdollahi M. Ethics in Pharmacy Curriculum for Undergraduate Pharmacy Students: A Needs Assessment Study. Arch Iran Med. 2017;20(1):38-42.

Siriyongwattana N. Factor Affecting Online Purchase Of Cosmetic And Skincare In Thailand [Independent Study Report]. Nakhon Pathom: College of Management Mahidol University. 2020.

Tippayapornkul, P. Factors Effecting Customer Decission To By Cosmetic Online In Bangkok [Thesis]. Nakhon Pathom: Graduate School, Silapakorn University. 2016.