ความรู้ พฤติกรรม และปัจจัยที่มีผลต่อการบริโภคผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าเพื่อป้องกันและลดเลือนฝ้าของผู้หญิงวัยทำงาน ในเขตอำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

ภัควรินทร์ พัฒนะพรวัฒน์
ปฐมทรรศน์ ศรีสุข
เด่นพงศ์ พัฒนเศรษฐานนท์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความรู้ พฤติกรรมและปัจจัยที่มีผลต่อการบริโภคผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าเพื่อป้องกันและลดเลือนฝ้า ความรู้เรื่องสาเหตุของการเกิดฝ้า การป้องกัน การดูแลรักษาและการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ลดเลือนฝ้าอย่างปลอดภัย และคำอธิบายถึงสาเหตุของการบริโภคผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าที่ไม่เหมาะสมของผู้หญิงวัยทำงาน ในเขตอำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ วิธีการดำเนินการวิจัย: ดำเนินการศึกษาเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 120 คนที่เป็นผู้หญิงวัยทำงานที่มีอายุ 20-60 ปี ในเขตพื้นที่บ้านส้มป่อย ตำบลส้มป่อย อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ ควบคู่กับการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึกในกลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณที่พบว่ามีการบริโภคผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าเพื่อป้องกันและลดเลือนฝ้าที่ไม่เหมาะสมจำนวน 18 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา ทดสอบหาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติ Chi-Square ( χ2) และ Multiple regression analysis และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้เรื่องสาเหตุของการเกิดฝ้า การป้องกัน การดูแลรักษาและการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ลดเลือนฝ้าอย่างปลอดภัยระดับปานกลาง ส่วนใหญ่ดูแลปัญหาฝ้าที่ผิวหน้าตามประสบการณ์ของตนเอง เพื่อน คนในครอบครัว โฆษณาทางวิทยุ โทรทัศน์ และอินเตอร์เน็ต ไม่ทราบถึงประโยชน์และความสำคัญของผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดด เลือกซื้อตามเพื่อน คนในครอบครัว โฆษณาทางวิทยุ โทรทัศน์ และอินเตอร์เน็ต (YouTube) สามารถหาซื้อได้ง่าย ราคาประมาณ 50-500 บาท ไม่ได้อ่านฉลากและตรวจสอบเลขที่จดแจ้งของผลิตภัณฑ์ก่อนซื้อ อายุมีความสัมพันธ์ต่อการใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าเพื่อป้องกันและลดเลือนฝ้า ปัญหาฝ้าที่ผิวหน้ามีความสัมพันธ์ต่อการประสบปัญหาจากการใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าเพื่อป้องกันและลดเลือนฝ้า ความรู้เรื่องสาเหตุของการเกิดฝ้า การป้องกัน การดูแลรักษาและการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ลดเลือนฝ้าอย่างปลอดภัยมีความสัมพันธ์ต่อโอกาสและเวลาที่จะเลือกใช้ผลิตภัณฑ์กันแดดผิวหน้า สรุปผลการวิจัย: ปัจจัยด้านอายุ ปัญหาฝ้าที่ผิวหน้า และความรู้เรื่องสาเหตุของการเกิดฝ้า การป้องกัน การดูแลรักษาและการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ลดเลือนฝ้าอย่างปลอดภัยมีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าเพื่อป้องกันและลดเลือนฝ้าแตกต่างกัน สามารถนำข้อมูลที่ได้ไปใช้เป็นแนวทางเพื่อประยุกต์ใช้ในการวางแผนงานคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน และสร้างเสริมให้เกิดการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าเพื่อป้องกันและลดเลือนฝ้าอย่างเหมาะสมและปลอดภัย โดยเฉพาะข้อความรู้ในด้านประโยชน์ ความสำคัญและวิธีเลือกผลิตภัณฑ์กันแดดผิวหน้าที่เหมาะสม การอ่านฉลากผลิตภัณฑ์โดยเฉพาะประเด็นการตรวจสอบเลขที่จดแจ้ง และสร้างความตระหนักถึงผลเสียของผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าเพื่อป้องกันและลดเลือนฝ้าที่ไม่ได้มาตรฐาน

Article Details

บท
เภสัชกรรมปฏิบัติ (Pharmaceutical Practice)

References

Alghamdi K.M, Alaklabi AS, & Alqahtani AZ. Knowledge, attitudes and practices of the general public toward sun exposure and protection: A national survey in Saudi Arabia. Saudi Pharmaceutical Journal: SPJ 2016, 24(6), 652–657.

Aphisamacharayothin Ph. Factors effecting to beauty awareness and unstandardized cosmetic used behaviors of Thai women. TSULJ 2017; 6: 194–216.

Chaimay B. Sample Size Determination in Descriptive Study in Public Health. tsuj 2013; 16(2), 9-18.

Cheng S, Lian S, Hao Y, Kang N, Li S, Nie Y, & Zhang, F. Sun-exposure knowledge and protection behavior in a North Chinese population: A questionnaire-based study. Photodermatology, Photoimmunology & Photomedicine 2010, 26(4), 177–181.

Chouyboonchoo N, Limwattana P, Jamnan P, Chaisir N, & Ktoa M. The Importance of Marketing Mix on Decision Making for Purchasing Sunscreen Face Products of Women’s Office Consumer Behavior in Area of Muang District, Songkhla Province. ECBAJ-TSU 2018; 10(1), 65–87.

Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University. The dangers of prohibited harmful substances in cosmetics (online). n.d. (cited 2021 Jan 29). Available from: https://med.mahidol.ac.th/ramapharmacy/th/knowledge/general/04072016-2055-th.

Jandaeng B, Kosolkittiamporn S, & Kenaphoom S, Factors that Affecting Behavior Change. DAJ 2019; 19(4), 235-244.

Khanthachai N. Green, Samuel B. (1991) “How Many Subjects Dose It Take to Do a Regression Analysis?” Multivariate Behavioral Research, 26(3), 499-510. JKBU 2014; 15(1), 140-144.

Klinsunthorn N, Nutsatatha Ch, Khemthong T, & Mapradit Pr. Prohibited substances in acne melasma whitening cosmetic products in lower central provinces during 2010-2013. FDA Journal 2013; Sep- Dec. 28-36.

Kongvattananon P. Using Mixed Method for Creditability in Health Science Research. tjst 2013; 21(7): 648–57.

Kongwong R, & Wattananamkul V. A Study of “Harmful Cosmetics” Usage Behavior among Female Teenagers. IJPS 2011; 7(1): 76-87.

Kulthanan K. Pigmentary disorders. In Kullawanit P, Bisalbutr P, editor. DERMATOLOGY 2010. 1st ed. Bangkok: Holisticpublish; 2005. 103-107.

Kuntima S. Correlation study to determine the factors affecting the decision to purchase the melasma product of the medical personnel in Bangkok metropolis area. An independent study for the degree master of business administration. Silpakorn University. Bangkok: Graduate School, Silpakorn University. 2009.

Media consumption behavior in Thailand (online). 2020 (cited 2022 Oct 19). Available from: https://www.marketplus.in.th/content/detail.php?id=7641.

Misit S. Preventive operations and problem solving to drugs and health products: A Case Study of Ban-DONAO Community, Sisaket province. Certificate short course Training Program in Family and Community Pharmacist Practice Learning. Sep 2019.

Prasongkool K, & Ruengorn Ch. Analysis of the situation on contamination of prohibited harmful substances in facial cosmetics in AmphurNangrong, Buriram Province During 2013-2016. TJPP 2017; 9(2). 361–369.

Rasisalai District Agricultural Extension Office. Demographic information of Rasisalai District Sisaket Province (online). n.d. (cited 2021 Jul 5). Available from: http://rasisalai.sisaket.doae.go.th/data.html.

Sawatdipong Ch. Melasma. Bangkok: Institute of Dermatology Thailand 2019.

Sukcharoenchaikitch P. Lojitamnuay S, & Amrampai Y. Melasma or whitening creams selection in teenager: case study of Amphoe Banpong Ratchaburi. TPHSJ 2010; 5(2):114-120.

Supanan S. Space Time Identity and Social construction. JCA 2011; 29(3), 186-204.

Thai FDA went to Sisaket Province to inspect unstandardized food and health products (online). 1998 (cited 2021 Jul 5). Available from: https://www.ryt9.com/s/prg/220766.

Thailand Food and Drug Administration (Thai FDA). Dangerous cosmetics (online). 2018 (cited 2021 Jan 29). Available from: https://oryor.com/%E0%B8%AD%E0%B8%A2/detail/media_printing/1644.

Thongsukdee S, Nouda N, & Worapani T. Situation and Management of cosmetic safety in Sukhothai province. FDA Journal 2018; Jan-Apr. 61–71.