แรงจูงใจและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการปฏิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภคของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดสุโขทัย

Main Article Content

ศักดิ์ชาติ เหล่าใหญ่
ยุทธนา แยบคาย

บทคัดย่อ

การปฏิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภคของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดูแลสุขภาพของประชาชนเพื่อให้ประชาชนสามารถบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพและใช้บริการสุขภาพที่มีความปลอดภัยและเป็นธรรม วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการปฏิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภคของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดสุโขทัย วิธีดำเนินการวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีกลุ่มตัวอย่างเป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ปฏิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภคในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดสุโขทัย จำนวน 109 คน ได้จากการสุ่มอย่างง่ายด้วยการจับฉลากแบบไม่ใส่คืน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบพอยท์ไบซีเรียล สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อีต้า ผลการวิจัย: แรงจูงใจในการปฏิบัติงานและผลการปฏิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภคของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอยู่ในระดับปานกลาง และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการปฏิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภคของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดสุโขทัย ได้แก่ ความสำเร็จในการทำงาน (r = 0.338, p = 0.000) การยอมรับนับถือ (r = 0.385, p = 0.000) ลักษณะงาน (r = 0.419, p = 0.000) ความรับผิดชอบ (r = 0.272, p = 0.004) เงินเดือนหรือค่าตอบแทน (r = 0.310, p = 0.001) สภาพในการทำงาน (r = 0.265, p = 0.005) นโยบายและการบริหารงาน (r = 0.367, p = 0.000) ความมั่นคงในงาน (r = 0.203, p = 0.034) และวิธีปกครองบังคับบัญชา (r = 0.193, p = 0.044)    สรุปผลการวิจัย: ตัวแปรความมั่นคงในงาน วิธีปกครองบังคับบัญชา ความรับผิดชอบ และสภาพในการทำงานมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำมากกับผลการปฏิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภคของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดสุโขทัย ส่วนตัวแปรเงินเดือนหรือค่าตอบแทน ความสำเร็จในการทำงาน การยอมรับนับถือ ลักษณะงาน และนโยบายและการบริหารงานมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับผลการปฏิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภคของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดสุโขทัย

Article Details

บท
เภสัชกรรมปฏิบัติ (Pharmaceutical Practice)

References

Bloom BS. Taxonomy of educational objectives, handbook I: the cognitive domain. New York (NY): David McKay; 1975.

Consumer Protection Act B.E. 2522. Published in Government Gazette, Vols. 96, Part 72 special issue. (1979 May 4). (in Thai)

Cronbach LJ. Essentials of psychology and education. New York (NY): McGraw-Hill; 1984.

Deechan S, Bouphan P. Motivation and key success factors affecting thai traditional medicine performance of health personnel at sub-district health promoting hospitals in Loei Province. KKU Res J (GS). 2019;19(2):166-76.

Faul F, Erdfelder E, Buchner A, Lang AG. Statistical power analyses using G*Power 3.1: Tests for correlation and regression analyses. Behav Res Methods. 2009;41(4): 1149-60. doi:10.3758/BRM.41.4.1149.

Food and Drug Administration. A complete report of the project to develop proposals on the future health product consumer protection system in Thailand 2016. Nonthaburi (Thailand): Foundation for Health Intervention and Technology Assessment Program; 2016. (in Thai)

Google. Google forms-create and analyze surveys, for free [Internet]. 2019 [cited 2022 May 15]. Available from: https://www.google.com/intl/th_th/forms/about/.

Herzberg F, Mausner B, Snyderman BB. The motivation to work. 12th ed. New Brunswick (NJ): Transaction Publishers; 2010.

Hinkle DE, William W, Stephen GJ. Applied statistics for the behavior sciences. 4th ed. Boston (NY): Houghton Mifflin; 1998.

Ketaiam M, Yeabkai Y. Factors affecting the health consumer protection performance among village health volunteers in Sukhothai Province. JPHNU. 2020;2(2):37-49. (in Thai)

Leeka N, Bouphun P, Jutarosaga M. Personal characteristics, and motivation affecting the tuberculosis control performance of health personnel at sub-district health promoting hospitals in Khon Kaen Province. RDHSJ. 2020:12(3),452-58.

Phoosod P, Bouphan P, Jutarasaga M. Motivation, and success factors in consumers protection performance of health personnel at sub-district health promoting hospitals in Nongbualumphu Province. KKU Res J (GS). 2019;19(3):109-19. (in Thai)

Rovinelli RJ, Hambleton RK. On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Tijdschrift voor Onderwijsresearch. 1977;2(2): 49-60.

Strategy and Planning Division, Office of the Permanent Secretary Ministry of Public Health, Ministry of Public Health. Twenty-year national strategic plan for public health (2017 - 2036) second revision 2018. Nonthaburi (Thailand): Ministry of Public Health; 2018. (in Thai)

Sinka O, Sriruecha C. Administrative factors and Motivation affecting the performance of public health personnel in long term care for elderly at sub-district health promoting hospitals in Khon Kaen province. RDHSJ. 2020;13(1):613-22.

Sukhothai Provincial Public Health Office. Annual report 2021. Sukhothai (Thailand): Sukhothai Provincial Public Health Office; 2021. (in Thai)

Suamuang T, Juntawong S, Changkaew W. Factors affecting health product consumer protection in sub-district health promoting hospital, Suphanburi Province. PRRJ. 2017;12(1):24-37. (in Thai)

Working Group of Consumer Protection Practice Guidelines for Sub-District Health Promoting Hospitals. Consumer protection practice guidelines for sub-district health promoting hospitals. Bangkok (Thailand): Usa printing; 2010. (in Thai)

Yardthaisong P, Bouphan P. Motivation and key success factors affecting operational prevention and control of COVID-19 of health personnel at sub-district health promoting hospitals in Roi Et Province. KKU Res J (GS). 2022;22(2):175-88.