ผลของเบอเบอรินต่อการควบคุมยีนกลูตาไทโอนเปอร์ออกซิเดสและซูเปอร์ออกไซด์ดิสมูเทส ในตับหนูเมาส์ที่ถูกชักนำภาวะเบาหวาน

Main Article Content

ทินกร เหล่าออง
วรัญญา จตุพรประเสริฐ
กนกวรรณ จารุกำจร

บทคัดย่อ

บทนำ : เบาหวานเป็นโรคเรื้อรังหนึ่งที่บันทอนคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในปัจจุบัน ภาวะเครียดออกซิเดชั่นทำให้ระดับการแสดงออกของยีนกลูตาไทโอนเปอร์ออกซิเดส (Glutathione peroxidase, GPx) และซูเปอร์ออกไซด์ดิสมูเทส (Superoxide dismutase, SOD) ในร่างกายของผู้ป่วยเปลี่ยนแปลง ซึ่งส่งผลสำคัญต่อพัฒนาการของโรคเบาหวาน เบอเบอรินถูกนำมาใช้ในการแพทย์ทางเลือกเพื่อรักษาโรคเบาหวาน และไขมันอุดตันเส้นเลือด การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของเบอเบอรินต่อการแสดงออกของยีน GPx และ SOD ที่ระดับทรานสคริปชั่นใน ตับหนูเมาส์ที่ถูกชักนำภาวะเบาหวานเปรียบเทียบกับเมทฟอร์มีนซึ่งเป็นยาลดนํ้าตาลในเลือดแผนปัจจุบัน วัสดุและวิธีการ : หนูเมาส์สายพันธุ์ ddY เพศผู้ อายุ 6 สัปดาห์ แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่คือ หนูปกติและหนูที่ลูกชักนำภาวะเบาหวานด้วยสเตรปโตโซโทชิน โดยแต่ละกลุ่มแบ่งโดยสุ่มเป็น 3 กลุ่มย่อย กลุ่มละ 5 ตัว ประกอบด้วย กลุ่มควบคุมที่ไมjได้รับยาใดๆ กลุ่มที่ได้รับเมทฟอร์มีน (100 มก./กก./ชัน) และกลุ่มที่ได้รับเบอเบอริน (200 มก./กก./รัน) โดยการป้อนทางปากทุกวัน เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ ทำการเก็บตัวอย่างตับ 24 ชั่วโมงหลังการให้ยาครั้งสุดท้ายเพื่อวิเคราะห์การ แสดงออกของ GPx, CuZn-SOD และ Mn-SOD mRNA ด้วยเทคนิคปฏิกิริยาลูกโซ่โพลีเมอเรส และวิเคราะห์การแสดงออกสัมพัทธ์ของ mRNA โดย ใช้สถิติ ANOVA ร่วมกับการทดสอบ Tukey ผลการศึกษา : การแสดงออกของ GPx mRNA เพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่ CuZn-SOD mRNA ลดลงในตับหนูเมาส์ที่ถูกชักนำภาวะเบาหวาน เบอเบอรินมีประสิทธิภาพในการลดระดับนํ้าตาลในเลือดไม่แตกต่างจากเมทฟอร์มินอย่างมีนัยสำคัญ โดยเบอเบอ รินไม่รบกวนการแสดงออกของ GPx, CuZn-SOD และ Mn-SOD mRNA ในหนูปกติ ในขณะที่สามารถควบคุมระดับของ GPx และ CuZn-SOD mRNA ในหนูที่ถูกชักนำภาวะเบาหวานให้กลับมีระดับใกล้เคียงกับหนูปกติได้อย่างมีนัยสำคัญ โดยที่เมทฟอร์มีนไม่แสดงผลในลักษณะดังกล่าว สรุปผล : ผลการศึกษาบ่งชี้ศักยภาพการด้านภาวะเครียดออกซิเดชั่นของเบอเบอรินผ่านวิถีการควบคุมการแสดงออกของยีน GPx และ CuZn-SOD ที่ระดับทรานสคริปชั่นในหนูเมาส์ที่มีภาวะเบาหวาน ดังนั้น การใช้เบอเบอรินในการแพทย์ทางเลือกเพื่อหวังผลการลดระดับนํ้าตาลในเลือด จึงมีข้อดี เสริมจากฤทธิ์การต้านภาวะเครียดออกซิเดชันของเบอเบอรินด้วย

Article Details

บท
Appendix

References

Hayashi K, Kolima R. Ito M. strain differences in the diabetogenic activity of streptozotocin in mice. Bio} Pharm Bull 2006; 29: 1110-1119.

Lenzen S. The mechanism of alloxan and streptozotocin-induced diabetes. Diabetologia 2007; 51: 216-226.

Likidlilid A, Patchanans N, Poldee S, Peerapatdit T. Glutathone and glutathione peroxidase in type 1 diabetic patients. J Med Assoc Thailand 2007; 90: 1759-1767.

Maritim AC, Sanders RA, Watkins JB. Diabetes, oxidative stress, and antioxidlant. Biochem Mol Toxico! 2002; 17: 24-38.

Mouatassim S, Guerin p, Menezo Y. Expression of genes encoding antioxidant enzymes in human and mouse oocytes during the final stages of maturation. Mol Human Reprod 1999; 5: 720-725.

Srinivasan K, Romarao p. Animal model in type 2 diabetes research: An overviiew. Indian J Med Res 2007; 125: 451-472.

Szkudelski T. The mechanism of alloxan and streptozotocin action in B cell of the rat pancreas. Physiol Res 2001; 50: 536-546.

Tang LQ, Wei W, Chen LM„ Liu S. Effect of berberine on diabetes induced by alloxan and a high-fat/high- cholesterol diet in rats. J Ethnopharmacol 2006; 108: 109-115.

Wang Y, Campbell T, Perry B, Beaurepaire c, Qin L. Hypoglycemic and insulin sensitizing effect of berberine in high-fat diet-and streptozotocin- induced diabetic rats. Metabolism 2010; 60:298-305.

Wohaieb SA, Godin DV. Alterations in free radical tissue-defense mechanism in streptozotocin-induced diabetes in rat, Effects of insulin treatment Diabetes 1987; 36: 1014-1018.

Yin J, Xing H, Ye J. Efficacy of berberine in patients with type 2 diabetes mellitus. Met Cli Expert 2008; 57: 712-717.

Zhang Y, Li X, Zou D, et al. Treatment of type 2 diabetes and dyslipidemia with the natural plant alkaloid berberine. J Clin Endrocrinol Metab 2008; 93: 2559-2565.

Zhang Q, Xiao X, Feng K, et al. Berberine moderates glucose and lipid metabolism through multi pathway mechanism. Evid Based Complement Alternat Med 2011; 2011: 1-10.