ผลของโปรแกรมการรู้เท่าทันสื่อโฆษณา: กรณีศึกษาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อความงามในนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสันทรายวิทยาคม จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

หทัยกาญจน์ เชาวนพูนผล
เขมิกา มหาพรหม
จิราวัฒน์ สุวัตธิกะ
พักตร์วิภา สุวรรณพรหม

บทคัดย่อ

บทนำ: การใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อความงามในวัยรุ่นไทยน่าเป็นห่วง ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพล ต่อพฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์คือ สื่อโฆษณา ทำให้เกิดการบริโภคผลิตภัณฑ์โดยไม่ตระหนักถึงความปลอดภัยและอันตรายที่จะเกิดขึ้นการเพิ่มทักษะการรู้เท่าทันสื่อโฆษณาในกลุ่มวัยรุ่นจึงมีความสำคัญ วิธีดำเนินการวิจัย: งานวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุม ประเมินผลก่อนและหลังให้โปรแกรมทำการศึกษาในกลุ่มวัยรุ่นระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สุ่มแบบแบ่งชั้นนักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 5 โรงเรียนสันทรายวิทยาคม จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 55 คน โดยใช้เกณฑ์สาขาวิชาที่เรียน และเพศ ได้กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมจำนวน 27 และ 28 คน ตามลำดับ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมการรู้เท่าทันสื่อโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เพื่อความงามในกลุ่มวัยรุ่นระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นประกอบไปด้วย 5 กิจกรรมได้แก่ 1) กิจกรรมสันทนาการ 2) กิจกรรมการเข้าถึงสื่อและการรู้เท่าทันจุดมุ่งหมายของสื่อโฆษณา 3) การประเมินความน่าเชื่อถือของโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อความงาม 4) การให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เส่ริมอาหารเพื่อความงาม และ 5) การนำความรู้ที่ถูกต้องไปเผยแพร่แก่คนใกล้ตัว ผลของโปรแกรมเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามที่ประกอบด้วยการประเมินความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อความงาม ทักษะการตรวจสอบโฆษณา การรับรู้ความเสี่ยง และการรับรู้ประสิทธิผลแห่งตน ผลการวิจัย: การรับรู้ประสิทธิผลแห่งตนในกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยรวมเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P = 0.009) โดยกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยรวมเพิ่มขึ้น 2.11 ± 3.63 ในขณะที่กลุ่มควบคุมมีคะแนนเฉลี่ยรวมลดลง -2.93 ± 6.87 ในด้านความรู้พบว่า ความรู้ที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์แอลคาร์นิทีนระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P = 0.040) โดยกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 1.26 ± 1.16 คะแนน และกลุ่มควบคุมมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 0.57 ± 1.29 คะแนน ส่วนความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์กลูตาไธโอนพบว่า มีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P > 0.05) สำหรับทักษะการตรวจสอบโฆษณา และการรับรู้ความเสี่ยง พบว่าคะแนนเฉลี่ยที่เปลี่ยนแปลงไประหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P > 0.05) สรุปผลการวิจัย: โปรแกรมการรู้เท่าทันสื่อโฆษณาผลิตภัณฑ์เส่ริมอาหารเพื่อความงาม สามารถกระตุ้นให้นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเกิดการรับรู้ประสิทธิผลแห่งตนเพิ่มขึ้น

Article Details

บท
เภสัชกรรมปฏิบัติ (Pharmaceutical Practice)

References

Blackwell RD, Miniard PW, Engel JF. Consumer behavior. 10th ed. Canada: Thomson south-western; 2006.

Chaikoolvatana A, Soontara c. The effect of health education program on high school mastering the media advertisement of dietary supplement among female students in the northeastern Thailand. SMJ 2011; 26 (1): 25-34.

Chirunthom R, Singpaiboonpom N, Ngaodulyawat P, Mongkonsuk S, Mahattanobo S. Factors affecting on decision making on purchasing of dietary supplement: a case study of Hat Yai District, Songkhla Province. Songklanakarin. J Soc Sci & Hum 2007; 13(2): 217-232.

Chuastapanasiri T, editors. Media literacy. Bangkok: Offset Plus; 2011.

Hindin TJ, Contento IR, Gussow JD. A media literacy nutrition education curriculum for head start parents about the effects of television advertising on their children’s food requests. J Am Diet Assoc 2004;104: 192-198.

Khaosod. Tragedy on weight loss, a death of pretty lady. Khaosod Daily 2010 Jun 03;20 (7126).

Kitchanapaibul S. Improper weight loss behavior among Thai adolescentsand young adults. Nursing Journal 2012; 39(4):179-190.

Krutasen U. The development of the media literacy learning’s process approach for the youth leader. Veridian E-Journal 2013; 6(3): 276-285.

Kupersmidt JB, Scull TM, Austin EW. Media literacy education for elementary school substance use prevention: study of media detective. Pediatrics 2010; 23.

National Science and Technology Development Agency. Trends and challenges of dietary supplement industry เท Thailand [Online]. 2013 Apr 17 [cited 2014 Apr 28]. Available from: http://nstda.or.th/blog/?p=24262.

Paeratakul o. Dietary supplement: benefits, risks, and believes. HSRI J 2010; 4(3): 332-336.

Singhirunnusorn c , Arunmuang A. Dietary supplement product consumption beha vior of secondary school students under supervision region 2 of Ministry of Public Health. FDA J 2013; Jan-Apr: 38-47.

Singsai K, Naigowitkhajorn p, Chaiwong A. Knowledge, attitude, and behavior of glutathione using for whitening skin in consumers, Muang District, Chiang Mai Province. Chiang Mai: Faculty of Pharmacy, Chiang Mai University. 2010. [in Thai]

Thai Health Promotion Foundation.Warning for teenagers: food supplements increase risks of low IQ, dullness, nutrition deficiency, and kidney malfunctions [Online]. 2012 Aug 7 [cited 2014 Apr 28]. Available from: http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/news/29806.

UNICEF, Faculty of Nursing Chiang Mai University. Communication for development (C4D). Bangkok: UNICEF; 2006.

Yenjabok p. Improving the body of knowledge in media literacy: a study of medias. Bangkok: resource center, Thai Health Promotion;1994.

Yenjabok p. Decoding media awareness: a handbook of media literacy. Bangkok: Offset creation;2009.