การศึกษาคุณภาพทางจุลชีววิทยา ของผลิตภัณฑ์ชุมชนในจังหวัดมหาสารคาม

Main Article Content

สกุลรัตน์ รัตนาเกียรติ์
ปวิตรา พูลบุตร
จันทร์ทิพย์ กาญจนศิลป์

บทคัดย่อ

รัฐบาลจัดให้มีโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์เพื่อใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการพัฒนาสินค้าตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2544 และจัดทำโครงการมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนขึ้นเพื่อควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ส่วนใหญ่ ผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายเป็นประเภทอาหารซึ่งมาตรฐานทางด้านจุลชีววิทยาเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดการศึกษาในครั้งนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพทางจุลชีววิทยาของผลิตภัณฑ์ชุมชนในจังหวัดมหาสารคาม โดยเลือก ตัวอย่างจากผลิตภัณฑ์ชุมชนในจังหวัดมหาสารคามจำนวน 11 ตัวอย่าง ได้แก่ ชาเขียวใบหม่อน 3 ตัวอย่าง ข้าวแต๋น 1 ตัวอย่าง มันทอดหรือมันรังนก 2 ตัวอย่าง กล้วยฉาบหรือกล้วยทอดกรอบ 3 ตัวอย่าง น้ำลูกหม่อน 1 ตัวอย่าง และน้ำชาใบหม่อน 1 ตัวอย่าง นำมาตรวจสอบหาเชื้อจุลินทรีย์ตามที่กำหนดในมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนแต่ละชนิด พบว่า ผ่านมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน 7 ตัวอย่าง (ร้อยละ 63.63) และไม่ผ่าน 4 ตัวอย่าง (ร้อยละ 36.36) ซึ่งทั้ง 4 ตัวอย่างนี้ไม่ผ่านข้อกำหนดเกี่ยวกับเชื้อรา และมี 1 ตัวอย่างที่ไม่ผ่าน ข้อกำหนดเกี่ยวกับปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมดด้วย

Article Details

บท
เภสัชศาสตร์

References

Authority of the United States Pharmacopeial Convention. (2002). The United States Pharmacopoeia: the National Formulary. Rockville.

Center for Food Safety and Applied Nutrition, U.S. Food and Drug Administration. (2001). Bacteriological Analytical Manual (BAM). Retrieved October 1, 2005, from http://www.cfsan.fda.gov/~ebam/bam-toc.html.

Department of Medical Sciences, Ministry of Public Health. (1987). Thai Pharmacopoeia 1987. Bangkok.

Department of health, United Kingdom. (1998). British Pharmacopoeia. United Kingdom.