การวิเคราะห์ต้นทุน-ประสิทธิผลของยา Celecoxib ต่อการป้องกันอาการไม่พึงประสงค์ ต่อระบบทางเดินอาหารของผู้ป่วยโรคข้ออักเสบ

Main Article Content

สุพล ลิมวัฒนานนท์
จุฬาภรณ์ ลิมวัมนานนท์
ปฐมทรรศน์ ศรีสุข
สุมนต์ สกลไชย

บทคัดย่อ

อาการไม่พึงประสงค์ต่อระบบทางเดินอาหารจากการใช้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (non-steroidal anti-inflammatory drugs, NSAID) พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีความจำเป็นต้องใช้ยาติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน เช่น โรคข้ออักเสบ (osteoarthritis) Celecoxib เป็น COX2 inhibitors ที่มีประสิทธิผลในการลดการอักเสบได้ใกล้เคียงกับ NSAID แต่ทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ต่อระบบทางเดินอาหารได้น้อยกว่า อย่างไรก็ตาม ยาดังกล่าว มีราคาค่อนข้างแพง ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยบางกลุ่มไม่สามารถเข้าถึงได้ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ วิเคราะห์ อัตราส่วนต้นทุน-ประสิทธิผลส่วนเพิ่ม (incremental cost-effectiveness ratio, ICER) ของการใช้ celecoxib เปรียบเทียบกับ NSAID ทั่วไปเมือใช้ร่วมกับ gastroprotective agents (GPA) ได้แก่ H-2 receptor antagonists (H2RA) และ proton pump inhibitors (PPI) เพื่อลดการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ดังกล่าว ภายใต้บริบทมุมมอง ของผู้ให้บริการทางสุขภาพ ข้อมูลด้านประสิทธิผลของ celecoxib และ NSAID ได้จากการศึกษาในต่างประเทศ คือ Celecoxib Outcomes Measurement Evaluation Tool (COMET) ซึ่งแสดงอยู่ในรูปของความน่าจะเป็นของการเกิดอาการในระบบทางเดินอาหารแต่ละประเภท ตั้งแต่ อาการไม่สบายท้อง โลหิตจางเนื่องจากเสียเลือดจากแผลในกระเพาะอาหาร จนถึงอาการแทรกซ้อนที่รุนแรง ข้อมูลในด้านองค์ประกอบของต้นทุนทางตรงได้จากความเห็นของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและราคาต่อหน่วยของยาที่ใช้ในแต่ละทางเลือกได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลอิเลคทรอนิกด้านการใช้ยาของโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไป 18 แห่ง ตัวแบบที่ใช้ในการวิเคราะห์ต้นทุนและประสิทธิผล คือ Decision Analysis Model ซึ่งกำหนดกรอบระยะเวลา 6 เดือน ผลการศึกษาพบว่า สำหรับ reference case (GI-event risk category ระหว่างที่ 7 และ 8) การใช้ celecoxib ในผู้ป่วย 1,000 ราย สามารถลดการเกิดอาการ ไม่พึงประสงค์ต่อระบบทางเดินอาหารจากการใช้ NSAID คือ diclofenac ร่วมกับ H2RA คือ ranitidine ได้โดยเฉลี่ย 40.2 ครั้ง โดยต้องเสียค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลเป็นเงินประมาณ 4.6 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็น ICER หรือ ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น 114,975 บาท ต่อการหลีกเลี่ยงอาการในระบบทางเดินอาหาร 1 ครั้ง (GI event avoided) และ หากต้องการลดการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ต่อระบบทางเดินอาหารจากการใช้ NSAID ร่วมกับ PPI คือ omeprazole 1 ครั้ง ด้วย celecoxib จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นถึง 948,611 บาท โดยในผู้ป่วย 1,000 ราย การใช้ celecoxib สามารถลดอาการในระบบทางเดินอาหารจากการใช้ NSAID ร่วมกับ PPI ได้โดยเฉลี่ย 3.6 ครั้ง โดยที่มีต้นทุนทางตรงเพิ่มขึ้นประมาณ 3.4 ล้านบาท นอกจากนี้ ค่า ICER ที่คำนวณได้ค่อนข้างมีความไวต่อระดับความเสี่ยง ของการเกิดอาการในระบบทางเดินอาหาร (risk category) ของผู้ป่วย ดังนั้น ความคุ้มค่าของการใช้ celecoxib ใน ประเทศไทยจึงขึ้นกับผู้ตัดสินใจนโยบายด้านสุขภาพว่ายินดีที่จะจ่ายด้วยเงินตามมูลค่าดังกล่าวหรือไม่เพื่อแลกกับการลดการเกิดอาการในระบบทางเดินอาหารซึ่งเป็นประสิทธิผลที่ดีกว่าของ celecoxib เมื่อเทียบกับการใช้ NSAID ร่วมกับ GPA โดยทั่วไป

Article Details

บท
เภสัชศาสตร์

References

Bcnsen W.G., Fiechtner J.J., McMillen J.I., Zhao W., Yu S.S., Woods E.M. (1999). Treatment of osteoathritis with celecoxib, a cyclooxygenase-2 inhibitor: a randomized controlled trial. Mayo Clin. Proc. 74: 1095-105.

Burke T.A., Zabinski R.A., Pettitt D. (2001). A framework for evaluating the clinical consequences of initial therapy with NSAIDs, NSAIDs plus gastroprotectivc agents, or celecoxib in the treatment of arthritis. Pharmacoeconomics. 19 Suppl 1: 33-47.

Chancellor J.V.M., Hunsche E., de Cruz E-, Sarasin F.P. (2001). Economic evaluation of celecoxib, a new cyclo-oxygenase 2 specific inhibitor, in Switzerland. Pharmacoeconomics. 19 Suppl 1: 59-75.

Fries J.F., Williams C.A., Bloch D.A. (1991) Nonsteroidal anti-inflammatory drug-associated gastropathy: incidence and risk factors. Am. J. Med. 91: 213-222.

Limwattananon S., Limwattananon C., Pannarunothai S. (2004). Rapid penetration of COX-2 inhibitors in nonsteroidal antiinflammatory drug market: an implication to hospital cost containment policy. Proceedings of the second International Conference on Improving Use of Medicine, Chiang Mai 30 Mar-2 Apr.

Marshall J.K., Pcllissier J.M., Attard C.L. (2001). Incremental cost-effectiveness analysis comparing rofccoxib with nonselcctivc NSAIDs in osteoarthritis: Ontario Ministry of Health perspective. Pharmacoeconomics 19: 1039-1049.