การศึกษาความหนืดและคุณสมบัติเชิงกลของไฮโดรเจลโครงร่างตาข่ายแบบแทรกสอดจากยางธรรมชาติและแป้ง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทนำ: คุณสมบัติการไหลและคุณสมบัติเชิงกลของไฮโดรเจลมีผลต่อการเตรียม การขึ้นรูปแผ่นฟิล์ม และการประยุกต์ใช้งานของไฮโดรเจล ดังนั้นการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของแป้งดัดแปรต่อความหนืดและคุณสมบัติเชิงกลของไฮโดรเจลโครงร่างตาข่ายแบบแทรกสอดจากยางธรรมชาติและแป้ง (แป้งข้าวเจ้าและแป้งกล้วย) วิธีการดำเนินการวิจัย: เตรียมยางด้วยวิธีฟรีแรดดิคอลพอลิเมอไรเซชัน โดยมี N,N-Methylenebisacrylamide (MBA) เป็นสารเชื่อมขวางยางธรรมชาติ จากนั้นผสมกับแป้งที่เชื่อมขวางด้วยกรดมาเลอิค (maleic acid) ที่อุณหภูมิห้อง และศึกษาความหนืดของแป้งดัดแปรแต่ละชนิดและคุณสมบัติเชิงกลของไฮโดรเจล ผลการศึกษาวิจัย: ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส พบว่าน้ำยางธรรมชาติมีความหนืดต่ำกว่าแป้งพรีเจลาติไนซ์จากแป้งข้าวเจ้าและแป้งกล้วยอย่างมีนัยสำคัญ (22.09 ± 12.86, 2957.67 ± 807.51 เซ็นติพอยต์ และ 19253.33 ± 5173.6 เซ็นติพอยต์ ตามลำดับ p < 0.05) เมื่อผสมแป้งกับยางธรรมชาติเพื่อเตรียมไฮโดรเจลจะทำให้ระบบมีความหนืดเพิ่มขึ้น พบว่า ไฮโดรเจลจากแป้งกล้วย ที่ปริมาณสารเชื่อมขวาง 2 phr อัตราส่วนยางต่อแป้ง 1:2 ให้ค่าความหนืดมากกว่าจากแป้งข้าวเจ้าอย่างมีนัยสำคัญ (9607.33 ± 5965.21 เซ็นติพอยต์ และ 1667 ± 844.88 เซ็นติพอยต์ ตามลำดับ p < 0.05) เนื่องจากแป้งกล้วยมีปริมาณอะไมโลสสูงกว่าแป้งข้าวเจ้าทำให้ต้องใช้พลังงานในการเคลื่อนสายโซ่ในอะไมโลสมาก อย่างไรก็ตามไฮโดรเจลจากแป้งกล้วยมีความสามารถในการขึ้นรูปเป็นแผ่นต่ำ ดังนั้นไฮโดรเจลจากแป้งข้าวเจ้าจึงมีความเหมาะสมในการเตรียม จากการศึกษาคุณสมบัติเชิงกลของไฮโดรเจลจากแป้งข้าวเจ้า พบว่าเมื่อปริมาณสารเชื่อมขวางเพิ่มขึ้น ความแข็งแรงของไฮโดรเจลจะเพิ่มขึ้นและมีความยืดหยุ่นน้อยเนื่องจากเกิดการเกาะกลุ่มกันของแกรนูลแป้ง สรุปผลการวิจัย: ไฮโดรเจลจากยางธรรมชาติและแป้งข้าวเจ้าเป็นวัสดุที่มีความหนืดที่สามารถขึ้นรูปได้และเป็นวัสดุที่มีความแข็งแรงแต่มีความเปราะ ดังนั้นควรพัฒนาคุณสมบัติเชิงกลของไฮโดรเจลต่อไป
Article Details
กรณีที่ใช้บางส่วนจากผลงานของผู้อื่น ผู้นิพนธ์ต้อง ยืนยันว่าได้รับการอนุญาต (permission) ให้ใช้ผลงานบางส่วนจากผู้นิพนธ์ต้นฉบับ (Original author) เรียบร้อยแล้ว และต้องแนบเอกสารหลักฐาน ว่าได้รับการอนุญาต (permission) ประกอบมาด้วย
References
Hoque ME, Ye TJ, Yong LC, Dahlan KM. Sago starch-mixed low-density polyethylene biodegradable polymer: Synthesis and characterization. J Mater 2013; 1-7.
Jagadish NH, Vishalakshi B. Effect of Crosslinking on swelling behaviour of IPN hydrogels of Guar Gum & Polyacrylamide. J. Nat. Prod. Plant Resour. 2012; 4(3): 946- 955.
Puapermpoonsiri U, Pratoomted J, Sila-On W, Watjung C. Water Absorption and Swelling Property of Interpenetrating Network Hydrogel from Crosslinked Natural Rubber and Modified Rice Starch. Adv Mat Res 2014; 844: 73-76.
Sila-On W, Pratoomted J, Puapermpoonsiri U, Watjung C, Pitchayakorn W. Thermal and Mechanical Properties of Natural Rubber/Rice Starch Interpenetrating Network Hydrogel. Adv Mat Res 2014; 844: 77-80.
Saijun D, Nakasonl C, Kaesaman A, Klinpituksa P. Water absorption and mechanical properties of water-swellable natural rubber. Songklanakarin J 2009; 31(5): 561- 565.
Xie F, Yu L, Su B, Liu P, Wang J, Liu H, et al. Rheological properties of starches with different amylose/amylopectin ratios. J Cereal Sci 2009; 49(3): 371–7.
Yue Y, Sheng X, Wang P. Fabrication and characterization of microstructured and pH sensitive interpenetrating networks hydrogel films and application in drug delivery field. Eur Polym J 2009; 45(2): 309–15.