การคัดกรองและระบบส่งต่อผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตเรื้อรังในร้านยา

Main Article Content

ปาริโมก เกิดจันทึก
นันทิชา สมศิริตระกูล
มนต์ทิพย์ มงคลศรี
เกตุกานต์ วงษ์ภูธร
ธิฏิญา บุญอาษา

บทคัดย่อ

บทนำ: โรคไตเรื้อรังเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญในปัจจุบัน การที่ผู้ป่วยได้รับการตรวจและประเมินตั้งแต่เนิ่นๆ จะเป็นการช่วยลดการดำเนินไปของโรค วิธีดำเนินการศึกษา: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดกรองและส่งต่อผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตเรื้อรังในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไปที่ยังไม่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคไตเรื้อรังที่มารับบริการในร้านยา โดยใช้เครื่องมือคัดกรอง คือ แบบสอบถาม Kidney disease self–screening questionnaires (KIDs) ร่วมกับการตรวจโปรตีนในปัสสาวะ โดยใช้แถบตรวจ แล้วส่งต่อผู้ที่มีความเสี่ยงไปยังหน่วยบริการปฐมภูมิ คือ ศูนย์สุขภาพชุมชนสามัคคีและบูรพา เพื่อเจาะวัดระดับ serum creatinine (SCr) และคำนวณค่า glomerular filtration rate (GFR) ผลการศึกษา: มีผู้เข้าร่วมการศึกษาทั้งหมด 214 ราย พบผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตเรื้อรังแล้วได้รับการส่งต่อ 83 คน (ร้อยละ 38.8) โดยมีผู้ที่ได้ตรวจวัดค่า SCr จำนวน 42 คน ซึ่งมีค่า SCr เฉลี่ย 0.99±0.29 mg/dL และค่า GFR เฉลี่ย 76.66±27.49 mL/min/1.73 m2 พบผู้ที่มีค่า GFR น้อยกว่า 60 mL/min/1.73 m2 จำนวน 11 คน (ร้อยละ 26.2) และค่า GFR มากกว่า 60 mL/min/1.73 m2 จำนวน 31 คน (ร้อยละ 74.8) และพบว่าผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตเรื้อรังนั้นจัดอยู่ในระดับ 1, 2 และ 3 เท่านั้น สรุปผล: เภสัชกรชุมชนมีบทบาทสำคัญในการคัดกรองและส่งต่อผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิด CKD ไปยังสถานบริการของรัฐได้ นอกจากนี้หากมีระบบการติดตามและดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในชุมชนที่ร้านยาตั้งอยู่โดยทำความร่วมมือกับโรงพยาบาลในพื้นที่ใกล้เคียงอาจเป็นแนวทางหนึ่งในการลดจำนวนผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายลงได้ 

Article Details

บท
เภสัชกรรมปฏิบัติ (Pharmaceutical Practice)

References

Black C, Sharma P, Scotland G, McCullough K, McGurn D, Robertson L, et al. Early referral strategies for management of people with markers of renal disease: a systematic review of the evidence of clinical effectiveness, cost-effectiveness and economic analysis. Health Technol Assess 2010; 14; 1-185.

Boulware LE, Jaar BG, Tarver-Carr ME, Brancati FL, Powe NR. Screening for proteinuria in US adults: a cost-effectiveness analysis. JAMA 2003; 290(23): 3101-14.

Chaiyakum A , Patanasethanont D, Kerdchantuk P, Sirivongs De. Chronic kidney disease screening by KIDs questionnaire. Poster presentation in the 9th Asian Conference on Clinical Pharmacy 26-28 September 2009, COEX, Seoul, Korea.

K/DOQI Clinical Practice Guidelines for Chronic Kidney Disease: Evaluation, Classification, and Stratification. Am J Kidney Dis 2002; 39(suppl 2): S1-246.

Kerdchantuk C. Appropriate screening tool to identify undiagnosed chronic kidney disease in primary care [Ph.D. Thesis in Pharmaceutical Care]. Khon Kaen: Khon Kaen University; 2008.

Khaokhiaw P, Kerdchantuk P, Chaiyasong, S, Srimongkon P and Warorose A. Cost-effectiveness analysis of chronic kidney disease screening by using questionnaires compared with laboratory test in general population without diabetes or hypertension. Naresuan University Journal 2012; Special Issue: 41-50.

Mikkata P, Patanasethanont D, Limwattananon S. Progression and outcomes of chronic kidney disease patients in district hospitals. IJPS 2009; 5; 202-10.

Praditpornsilpa K, ed. Provision of renal replacement therapy in Thailand during the year 2008. Thailand renal replacement therapy 2008; 34-41.

Sirivongs D, Kerdchantuk C, Chaiyakam A, Kessomboon N, Wchakama P. A new self screening questionnaire for people to identify risk for chronic kidney disease top 20%. NDT Plus (2009) 2 (suppl 2): ii1733-. doi: 10.1093/ndtplus/2.s2.24.

Teerawattananon Y, Mugford M, Tangcharoensathien V. Economic evaluation of palliative management versus peritoneal dialysis and hemodialysis for end–stage renal disease: evidence for coverage decisions in Thailand. Value health 2007; 10: 61–72.