การประเมินผลการดำเนินงานตามแนวทางการใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูงของแผนกผู้ป่วยใน : กรณีศึกษาโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่งในภาคกลาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การจัดการยาที่มีความเสี่ยงสูงเป็นนโยบายความปลอดภัยด้านยาที่สำคัญที่องค์การอนามัยโลกได้ประกาศและสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลของประเทศไทยกำหนดเป็นเกณฑ์สำคัญในการรับรองคุณภาพ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมการดำเนินงานตามแนวทางการใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูงและการจัดการปัญหาเกี่ยวกับยาที่มีความเสี่ยงสูง วิธีดำเนินการวิจัย : เป็นการวิจัยโดยการสังเกตเชิงพรรณนาแบบไปข้างหน้า กลุ่มตัวอย่างคือ การสั่งใช้รายการยาที่มีความเสี่ยงสูงรูปแบบฉีดจำนวน 10 รายการในผู้ป่วยที่นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล จำนวน 250 ครั้ง ระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึงกันยายน 2559 ผลการศึกษา : จากการสั่งใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูง 250 ครั้ง จำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 80 ราย เพศชายร้อยละ 51.3 อายุเฉลี่ย 56.5 ปี (±19) ยาที่สั่งใช้มากที่สุดคือ 50% magnesium sulfate (ร้อยละ 50.4) รองลงมาคือ potassium chloride (ร้อยละ 20.8) และ dopamine (ร้อยละ 10.4) การปฏิบัติตามแนวทางการใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูงในขั้นตอนการสั่งใช้ยา การถ่ายทอดคำสั่ง การจ่ายยา และการบริหารยา มีค่าเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 90.3, 99.2, 92.4 และ 60.1 ตามลำดับ โดยพบว่ากิจกรรมในแต่ละขั้นตอนที่มีการปฏิบัติตามแนวทางน้อยกว่าร้อยละ 80 ได้แก่ การติดใบ drug tips หน้าแฟ้มผู้ป่วย (ร้อยละ 75.6) การสั่งติดตามค่าพารามิเตอร์ (ร้อยละ 72.4) การแนบแบบบันทึกติดตามการใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูงในแฟ้มผู้ป่วยและลงบันทึกติดตาม (ร้อยละ 71.2) การตรวจสอบยาโดยพยาบาล 2 คนก่อนการบริหารยา (ร้อยละ 55.2) และการลงบันทึกในแบบบันทึกติดตามการใช้ยาอย่างครบถ้วน (ร้อยละ 16.4) พบปัญหาที่เกี่ยวกับยาโดยเป็นปัญหาอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาในระดับ propable ร้อยละ 1.6 จาก amiodarone ร้อยละ 1.2 และ dopamine ร้อยละ 0.4 สรุปผลการวิจัย : การดำเนินการในขั้นตอนการสั่งใช้ยา การถ่ายทอดคำสั่ง และการจ่ายยาเป็นไปตามแนวทางการใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูงมากกว่าร้อยละ 90 แต่การดำเนินการในขั้นตอนการบริหารยามีเพียงร้อยละ 60 จึงควรมีมาตรการหรือการสร้างแรงจูงใจให้ปฏิบัติตามแนวทางเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นก่อนถึงตัวผู้ป่วย
Article Details
กรณีที่ใช้บางส่วนจากผลงานของผู้อื่น ผู้นิพนธ์ต้อง ยืนยันว่าได้รับการอนุญาต (permission) ให้ใช้ผลงานบางส่วนจากผู้นิพนธ์ต้นฉบับ (Original author) เรียบร้อยแล้ว และต้องแนบเอกสารหลักฐาน ว่าได้รับการอนุญาต (permission) ประกอบมาด้วย
References
Chanatepaporn P. Development of High-Alert Drug monitoring system in Srinakarind Hospital. Srinakarind Med J 2015; 30(1): 46-56. (in Thai)
Graham S, Clopp MP, Kostek NE, Crawford B. Implementation of a High-Alert Medication Program. The Permanente Journal. 2008 Spring;12(2): 15-22.
Institute of Medicine. To err is human: Building a safer health system [Online]. 1999 Nov [cited 2015 Apr 15]. Available from: http://www.nap.edu/catalog/9728.html
Intarak S. Collaboration of pharmacists and health care team on the management of High Alert Drug monitoring system for inpatient services at Sarapee Hospital, Chiang Mai Province (master’s thesis). Chiang Mai: Chiang Mai University; 2010: 3. (in Thai)
Khunarkornsiri U, Wichitkosoom W. Effect of using inotropic agent oreder form for High-alert Injectable Drugs Order. Thai Journal of Hospital Pharmacy 2012; 22(1): 33-9.
Krejcie RV, Morgan DW. Determinining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement 1970; 30: 607-10.
Makpiroon S. Development of the system for the administration of High-Alert Drugs for patient safety. Thai Journal of Pharmacy Practice 2013; 5(1): 24-42. (in Thai)
Mookkhan J. High alert drugs monitoring system analysis from seriously incidence report of drug administration error in Kudchum Hospital. Journal of Sakon Nakhon Hospital 2008; 11(3): 50-57. (in Thai)
Panjapiyakul P. National patient safety goal 2007-2008. Nonthaburi: Department of Health Service Support, Ministry of Public Health; 2007: 2-6. (in Thai)
Phapanwattana M. Part 11: High-Alert Medication Manage. In: Phapanwattana M, editors. Safety medication system. Bangkok: Poramatkanpim; 2010: 259-285. (in Thai)
Premabhuti T, Suwannaprom P. Roles of interdisciplinary healthcare team in managing High Alert Drugs and development of pictograms for Methylxanthines. Thai Journal of Pharmacy Practice 2013; 5(2): 79-90. (in Thai)
Supphachutikul A, editor. Patient Safety Goals : SIMPLE. 3rd ed. Nonthaburi: Poramatkanpim; 2009.
The Joint Commission on Accreditation of Healthcare Organizations. Medication Error Prevention –Potassium Chloride. Sentinel Event Alert [Online]. 1998 Feb 27 [cited 2015 Apr 13]. Available from: http://www.jointcommission.org/SentinelEvents/SentinelEventAlert/sea_1.htm
Weerakitti S, Chumjam B, Warapasakul C. Nursing system development for risk of medication errors protocol on participation of nursing model for prevention medication error rate. Journal of nurses association of Thailand, North-Eastern division 2013; 31(2): 25-35. (in Thai)