เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด

  • การรับผลงานผ่านระบบออนไลน์ บุคคลทั่วไป กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ (ใหม่) คนไทย 2,000 บาท/เรื่อง, ต่างชาติ 50 USD/เรื่อง (เมื่อชำระเงินเรียบร้อยแล้ว ผลงานที่ส่งจึงจะถูกเริ่มดำเนินการพิจารณาตามระบบของวารสาร)
    สามารถชำระค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ ผ่านระบบ QR-Code
  • บทความวิจัยนี้เป็นบทความที่อยู่ในขอบเขตของวารสารเภสัชศาสตร์อีสาน
  • บทคัดย่อ (Abstract) มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (ระบุ บทนำ, วิธีดำเนินการวิจัย, ผลการวิจัย สรุปผลการวิจัย) ไม่เกิน 400 คำ, ภาษาอังกฤษ บทคัดย่อ (Abstract) ภาษาอังกฤษ (Introduction, Methods, Results, Conclusion) ที่สอดคล้องกับภาษาไทย (ดูตัวอย่างบทคัดย่อ แนบท้าย)
  • มีการอ้างอิงในเนื้อหาเป็นภาษาอังกฤษ (นาม, ปี) ตามข้อกำหนด (ตัวอย่างเช่น Morse, 1995)
  • จำนวนหน้า ไม่เกิน 15 หน้า จัดแบบ Single space และหน้า A4 ขอบทุกด้าน 1 นิ้ว ใส่หมายเลขหน้าตามลำดับกำกับทุกหน้า และใส่หมายเลขบรรทัดทุก 5 บรรทัด ทางด้านซ้ายมือ

  • การเรียงลำดับเนื้อหานิพนธ์ต้นฉบับ (Research article)
    • ชื่อเรื่อง (Title)
    • หัวเรื่องสองภาษา
    • ชื่อผู้นิพนธ์และผู้ร่วมนิพนธ์
    • บทคัดย่อ (Abstract)
    • คำสำคัญ (Keywords)
    • บทนำ (Introduction)
    • วิธีดำเนินการวิจัย (Methods)
    • ผลการวิจัย (Results)
    • อภิปราย และสรุปผลการวิจัย (Discussion and Conclusion)
    • กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgements)
  • เอกสารอ้างอิง (References) เป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด หากเป็นภาษาไทย ต้องปรับให้เป็นภาษาอังกฤษ (กรณีปรับจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษโดยผู้นิพนธ์เอง ควรมีการตรวจสอบความถูกต้องก่อนเสมอ)
  • ตาราง รูปภาพ แผนภูมิ (Tables, Figures and Diagrams) รวมแล้วไม่เกิน 7 ให้ใส่ไว้หน้าสุดท้าย ตาราง ให้ขีดเส้นเฉพาะหัวตารางและปิดท้ายเท่านั้น (ยกเว้น กรณีการขีดเส้นตาราง มากกว่าหัวตารางและปิดท้าย นั้นมีความจำเป็นเพื่อทำให้เกิดความชัดเจนของข้อมูล)

  • ข้าพเจ้าขอยืนยันว่าบทความนี้มิได้เอาของคนอื่นมา ไม่ได้ตีพิมพ์มาก่อน หรืออยู่ระหว่างการตีพิมพ์ที่อื่น
  • กรณีที่ใช้บางส่วนจากผลงานของผู้อื่น ข้าพเจ้าขอยืนยันว่าได้รับการอนุญาต (permission) ให้ใช้ผลงานบางส่วนจากผู้นิพนธ์ต้นฉบับ (Original author) เรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ได้แนบเอกสารหลักฐานประกอบมาด้วย
  • กรณีเป็นการทำวิจัยในมนุษย์และสัตว์ทดลอง ขอแนบใบแสดงการได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการจริยธรรม (Ethical approval) มาด้วยแล้ว

หลักเกณฑ์และคำแนะนำสำหรับผู้นิพนธ์ (Instructions for the Authors)

วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน (Isan Journal of Pharmaceutical Sciences) กำหนดตีพิมพ์ปีละ 4 ฉบับ (มกราคม-มีนาคม, เมษายน-มิถุนายน, กรกฎาคม-กันยายน และตุลาคม-ธันวาคม) วารสารยินดีพิจารณาตีพิมพ์บทความวิจัยประเภท นิพนธ์ต้นฉบับ (Research article) บทความรับเชิญปริทัศน์  (Invited Review article) บทความปริทัศน์  (Review article) และพิจารณาบทความวิจัยอื่นๆ เช่น short communication เพื่อตีพิมพ์ตามที่เห็นสมควร และต้องเป็นงานที่ไม่เคยถูกนำไปพิมพ์เผยแพร่ในวารสารอื่นใดมาก่อน และไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาลงพิมพ์ในวารสารใดๆ โดยมีขอบเขตเนื้อหาครอบคลุมศาสตร์สาขา ดังต่อไปนี้ เภสัชกรรมปฏิบัติ (pharmacy practice), การบริบาลทางเภสัชกรรม (pharmaceutical care), เทคโนโลยีเภสัชกรรม (pharmaceutical technology) และเภสัชอุตสาหกรรม (Industrial pharmacy), เภสัชเคมี (pharmaceutical/medicinal chemistry), เภสัชวิทยา (pharmacology), เภสัชจลนศาสตร์ (pharmacokinetics), เภสัชพฤกษศาสตร์ (pharmaceutical botany), เภสัชเวทและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ (pharmacognosy and natural products), เภสัชกรรมสังคมและบริหาร (social and administrative pharmacy), เภสัชเศรษฐศาสตร์ (pharmacoeconomics), โภชนเภสัชภัณฑ์ (Nutraceutical), วิทยาการเครื่องสำอางและความงาม (Cosmetic sciences and beauty), เทคโนโลยีชีวภาพทางเภสัชศาสตร์ (biotechnology) และเภสัชพันธุศาสตร์ (pharmacogenomics), พิษวิทยา (Toxicology) และเภสัชเคมีวิเคราะห์ (analytical pharmaceutical chemistry)

กองบรรณาธิการจะพิจารณาต้นฉบับ (Manuscript) ตามข้อกำหนดของรูปแบบวารสาร (Format) หากไม่ถูกต้องตามเกณฑ์วารสาร จะส่งคืนให้ผู้แต่งบทความแก้ไข ปรับปรุงให้ถูกต้อง และหากถูกต้องตามเกณฑ์วารสาร บทความจะถูกส่งให้บรรณาธิการ (Editor) เพื่อพิจารณาเสนอให้ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขา (Referee) จำนวน 3 ท่าน (ตามประกาศ ก.พ.อ.) พิจารณาประเมินบทความแบบ Double-blind คือ ผู้แต่งบทความ (Author) ไม่ทราบชื่อ หน่วยงาน ของผู้ประเมิน และผู้ประเมินหรือผู้ทรงคุณวุฒิ (Reviewer) ก็ไม่ทราบชื่อ หน่วยงาน ของผู้แต่งบทความเช่นกัน โดยใช้ระยะเวลาประเมินบทความจากผู้ทรงคุณวุฒิ ประมาณ 1 เดือน ซึ่งผลประเมินบทความจะต้องผ่านการพิจารณาให้ตีพิมพ์ 2 ใน 3 ของผู้ทรงคุณวุฒิ และหากผู้ทรงคุณวุฒิมีข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม บทความอาจถูกดัดแปลง แก้ไข เนื้อหา รูปแบบ และสำนวน ตามที่กองบรรณาธิการเห็นสมควร ซึ่งกองบรรณาธิการจะส่งข้อเสนอแนะ และแบบฟอร์มชี้แจงการแก้ไขบทความให้ผู้แต่งบทความ เพื่อดำเนินการแก้ไข ปรับปรุง โดยใช้ระยะเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ หากผู้นิพนธ์มีเหตุผลตามหลักวิชาการที่ไม่สามารถดำเนินการตามข้อเสนอแนะได้ ขอให้ชี้แจงเป็นลายลักษณ์อักษร และกองบรรณาธิการจะส่งบทความที่แก้ไขปรับปรุงแล้วให้ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาตรวจสอบผลการแก้ไข ซึ่งหากผลการพิจารณาผ่านการประเมินตรวจสอบแล้ว และกองบรรณาธิการฯ จะส่งให้บรรณาธิการพิจารณาเพื่อตอบรับการตีพิมพ์ตามลำดับต่อไป (โดยใช้ระยะเวลาในการพิจารณาการตีพิมพ์รวมประมาณ 3 เดือน) และเพื่อให้วารสารมีคุณภาพในระดับมาตรฐานสากลและนำไปอ้างอิงได้ จึงควรปฏิบัติตามเกณฑ์ ดังนี้

1. การเตรียมต้นฉบับ

1.1 ภาษา เป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ถ้าเป็นภาษาไทยให้ยึดหลักการใช้คำศัพท์หรือการเขียนทับศัพท์ตามหลักของราชบัณฑิตยสถาน   ให้หลีกเลี่ยงการเขียนภาษาอังกฤษปนภาษาไทยในข้อความ ยกเว้น ในกรณีจำเป็น เช่น ศัพท์ทางวิชาการที่ไม่มีคำแปล หรือคำที่ใช้แล้วทำให้เข้าใจง่ายขึ้น (กรณีที่มีตัวย่อ ให้ใส่ชื่อเต็มและวงเล็บชื่อย่อในครั้งแรก แล้วหลังจากนั้นสามารถใช้ชื่อย่อในครั้งต่อไปได้)

1.2 ขนาดและรูปแบบของต้นฉบับ

    • พิมพ์หน้าเดียวบนกระดาษขาวขนาด เอ 4 (22x24 ซม.) เว้นขอบทุกด้านประมาณ 1 นิ้ว พิมพ์ห่างบรรทัดคู่ หากจะเว้นวรรคระหว่างคำหรือประโยค ให้เคาะ space bar เพียง 1 ครั้ง
    • ชนิดและขนาดของตัวอักษร ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษให้ใช้ รูปแบบตัวอักษร Browallia New  โดยที่ชื่อเรื่องใช้ขนาด 18 pt. ตัวหนา ชื่อผู้นิพนธ์ใช้ขนาด 12 pt. ตัวธรรมดา หัวข้อหลักใช้ตัวอักษรขนาด 14 pt. ตัวหนา  โดยอาจกำหนดเป็นตัวเลขย่อย บทคัดย่อและเนื้อเรื่องใช้ตัวอักษรขนาด 14 pt. ตัวธรรมดา และเชิงอรรถหน้าแรกที่เป็นชื่อ ตำแหน่งทางวิชาการและที่อยู่ของผู้นิพนธ์ ใช้ตัวอักษรขนาด 12 pt. ตัวธรรมดา จัดพิมพ์ด้วยโปรแกรมไมโครซอฟท์เวิร์ด และใส่หมายเลขหน้าตามลำดับกำกับทุกหน้า, ใส่หมายเลขบรรทัดทุก 5 บรรทัด ทางซ้ายมือ
    • จำนวนตาราง (Table) ควรมีเท่าที่จำเป็น และต้องเป็นต้นฉบับของผู้นิพนธ์ หากเป็นการคัดลอกจากแหล่งอื่น จะต้องอ้างอิงแหล่งที่มา และต้องมีคำอธิบายตารางให้เป็นที่เข้าใจ ให้พิมพ์ตารางและคำอธิบายตารางในหน้าที่แยกออกมาจากส่วนเนื้อหา ถ้ามีมากกว่า 1 ตาราง ให้ใส่ตัวเลขแสดงลำดับที่ของตาราง ใน 1 หน้าให้มีเพียง 1 ตาราง คำอธิบายผลการศึกษาวิจัยที่อ้างถึงตารางให้เติมวงเล็บลำดับตารางท้ายประโยคที่มีการอ้างถึง เช่น (ตารางที่ 2) ไม่ตีเส้นข้างหรือเส้นแบ่งคอลัมน์ ส่วนเส้นในแนวนอนเพื่อแบ่งแถว ควรใช้เท่าที่จำเป็น ควรสร้างตารางให้มีขนาดความกว้างสำหรับจัดวางได้พอดีในคอลัมน์ (8.4 ซม.) หรือ 1 หน้ากระดาษ (17.6 ซม.) เส้นของตาราง ควรเป็นเส้นแสดงเฉพาะหัวตาราง และเส้นปิดท้าย เท่านั้น ต้องไม่มีเส้นในตาราง
    • รูปหรือไดอะแกรม (Figure) ควรมีเท่าที่จำเป็น และเป็นต้นฉบับของผู้นิพนธ์ หากเป็นการคัดลอกจากแหล่งอื่น จะต้องอ้างอิงแหล่งที่มา และต้องมีคำอธิบายรูปให้เป็นที่เข้าใจ รูปต้องมีความชัดเจน ให้พิมพ์รูปและคำอธิบายรูปในหน้าที่แยกออกมาจากส่วนเนื้อหา ถ้ามีมากกว่า 1 รูป ให้ใส่ตัวเลขแสดงลำดับที่ของรูป ใน 1 หน้าให้มีเพียง 1 รูป คำอธิบายผลการศึกษาวิจัยที่อ้างถึงตารางให้เติมวงเล็บลำดับตารางท้ายประโยคที่มีการอ้างถึง เช่น (รูปที่ 2) รูปหรือไดอะแกรม ควรใช้เส้นสีดำ พื้นหลังสีขาว ตัวอักษรควรมีขนาดใหญ่เพียงพอให้สามารถย่อขนาดรูปภาพได้ รูปควรเป็นไฟล์ที่มีนามสกุล JPEGs หรือ TIEFs ที่มีความละเอียดไม่ต่ำกว่า 300 dpi รูปถ่ายควรมีคุณภาพดีคมชัด ภาพขยายควรแสดงมาตราส่วนกำกับในภาพให้ชัดเจน ให้ใช้สีขาว ดำ หรือ เทา แทนการใช้ลวดลาย หรือสีสันบนแท่งกราฟ   
    • ถ้ามีการเขียนคำย่อ (Abbreviation) ให้เขียนคำเต็มในครั้งแรกก่อนทุกครั้ง และวงเล็บคำย่อด้านหลังในครั้งแรกที่ชื่อนั้นปรากฏในต้นฉบับ ควรหลีกเลี่ยงคำย่อที่ไม่เป็นทางการ ไม่มีมาตรฐาน หรือไม่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป
    • คำย่อหน่วยวิทยาศาสตร์ ให้ใช้ดังตัวอย่างต่อไปนี้

ความยาว: m, cm, mm, mm, nm, 
น้ำหนักและมวล: kg, g, mg, mg, ng, pg, mol, mmole, pmole
ปริมาตร: L, dL, mL, mL
เวลา: sec, min, hr
อุณหภูมิ: °C, °K, °F  
ความเข้มข้น: M, mM, mmol/L, mnM/L, mg/L, mg/L, ng/L, %, %(v/v), %(w/w), ppm, ppb

    • ละเว้นการจัดรูปแบบเอกสารอัตโนมัติ (autoformat) เช่น heading
    • ละเว้นการจัดมากกว่า 1 คอลัมน์
    • ในการวาดสูตรโครงสร้างทางเคมี ควรใช้โปรแกรม ChemDraw วาดตามแบบ JOC

1.3 จำนวนหน้า บทความและบทวิจัยในส่วนของเนื้อหาไม่ควรเกิน 15 หน้า รวมทั้งส่วนของตาราง รูปภาพและเอกสารอ้างอิง

1.4 การอ้างอิงเอกสารในตัวบทความ (Citation)

    • อ้างอิงจากเอกสารภาษาอังกฤษ
      • ถ้ามีผู้แต่งหนึ่งรายให้อ้างนามสกุลของผู้แต่ง เครื่องหมายจุลภาค (,) และปีที่พิมพ์ เช่น (Kuss, 1999)
      • ถ้ามีผู้แต่งสองรายให้อ้างนามสกุลของผู้แต่งสองราย เครื่องหมายจุลภาคและปีที่พิมพ์ เช่น (Kuss and Saito, 1999)
      • ถ้ามีผู้แต่งมากกว่าสองรายให้อ้างนามสกุลของผู้แต่งรายแรก เพิ่มคำว่า ‘et al.’ ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาคและปีที่พิมพ์ เช่น (Kuss et al., 1999)
      • ถ้ามีเอกสารที่นำมาอ้างอิงมากกว่า 1 รายการ ให้ใช้เครื่องหมายอัฒภาค (;) คั่นกลางระหว่างรายการอ้างอิง เช่น (Kuss, 1999; Kuss and Saito, 1999)
      • ให้เรียงลำดับการอ้างอิงตามลำดับพยัญชนะตัวแรกของนามสกุลผู้แต่ง เช่นเดียวกับลำดับการอ้างอิงในส่วนเอกสารอ้างอิง
    • อ้างอิงจากเอกสารภาษาไทย
      • ให้ปรับเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด และอ้างอิงตามข้อ 1.4
  1. 2. การเรียงลำดับเนื้อหานิพนธ์ต้นฉบับ (Research article)

2.1 ชื่อเรื่อง  (Title)  ควรมีรายละเอียดดังนี้

  • หัวเรื่องสองภาษา ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ชื่อเรื่องควรสื่อความหมายได้ชัดเจนและสอดคล้องกับเนื้อหาในเรื่อง ยกเว้น คำเชื่อมและคำบุพบท หากไม่จำเป็นไม่ควรใช้คำย่อ และมีความยาวไม่เกิน 2 บรรทัด ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษให้ใช้อักษรตัวใหญ่ที่อักษรตัวแรกของแต่ละคำ (Title Case)
    • กรณีบทความต้นฉบับเป็นภาษาไทย ให้พิมพ์ชื่อเรื่องภาษาไทยก่อนแล้วตามด้วยภาษาอังกฤษ
    • กรณีบทความต้นฉบับเป็นภาษาอังกฤษ ให้พิมพ์ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษก่อนแล้วตามด้วยภาษาไทย
    • ผู้นิพนธ์ต้องกำหนดชื่อเรื่องภาษาอังกฤษแบบสั้นที่ครอบคลุมเนื้อหา (Abbreviated running headline) ไม่เกิน 10 คำ มาพร้อม โดยแทรกในส่วนหัวกระดาษมุมซ้าย
  • ชื่อผู้นิพนธ์และผู้ร่วมนิพนธ์ ตามด้วยวุฒิการศึกษาสูงสุด ให้รายละเอียดตำแหน่งทางวิชาการ, ภาควิชา, สถาบันหรือสถานที่ของแต่ละท่านอยู่ด้านล่างของหน้า ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และให้มีเครื่องหมายดอกจันกำกับสำหรับผู้เขียนที่สามารถติดต่อได้ (Corresponding author) โดยแยกรายละเอียดของสถานที่ติดต่อ หมายเลขโทรศัพท์ โทรสาร และ E-mail address ให้ชัดเจน

2.2 บทคัดย่อ (Abstract)
แยกบทคัดย่อเป็นสองภาษา ให้มีบทคัดย่อทั้งบทภาษาไทยและบทภาษาอังกฤษ  โดยเขียนให้ครอบคลุมสาระสำคัญของเรื่องทั้งหมด ไม่เกิน 400 คำ กรณีบทความต้นฉบับภาษาไทย ให้มีบทคัดย่อทั้งบทภาษาไทยและบทภาษาอังกฤษ โดยบทคัดย่อภาษาไทยประกอบด้วย ชื่อบทความ, ชื่อผู้นิพนธ์, ชื่อหน่วยงาน, บทนำ, วิธีดำเนินการวิจัย, ผลการวิจัย และสรุปผลการวิจัย ให้บทคัดย่อภาษาไทยขึ้นก่อนบทคัดย่อภาษาอังกฤษ กรณีบทความต้นฉบับเป็นภาษาอังกฤษ ให้พิมพ์บทคัดย่อภาษาอังกฤษ ประกอบด้วย ชื่อบทความ, ชื่อผู้นิพนธ์, ชื่อหน่วยงาน, Introduction, Methods, Results, Conclusion
2.3 คำสำคัญ (Keywords)
เป็นคำหรือข้อความสั้นๆ ที่บ่งบอกจุดสำคัญของเนื้อเรื่อง รวมกันแล้วไม่เกิน 5 คำ โดยให้ระบุทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ใส่ไว้ท้ายบทคัดย่อของแต่ละภาษา
2.4 บทนำ (Introduction)
เป็นส่วนของเนื้อหาที่บอกความเป็นมา เหตุผลและความสำคัญที่นำไปสู่การศึกษาวิจัย โดยให้ข้อมูลทางวิชาการพร้อมทั้งระบุจุดมุ่งหมายที่เกี่ยวข้องอย่างย่อและมีวัตถุประสงค์ของการศึกษาวิจัยนั้นด้วย
2.5 วิธีดำเนินการวิจัย (Methods)
ให้บอกรายละเอียดวัสดุ เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ และวิธีการศึกษา สิ่งที่นำมาศึกษา จำนวน ลักษณะของตัวอย่างที่ศึกษา ที่ใช้ในการศึกษา รูปแบบแผนการศึกษา การสุ่มตัวอย่าง วิธีหรือมาตรการที่ใช้ศึกษา วิธีการเก็บข้อมูล วิธีวิเคราะห์ข้อมูล และสถิติที่ใช้
2.6 ผลการวิจัย (Results)
รายงานผลการทดลองศึกษาโดยการบรรยายอย่างละเอียด ชัดเจน และตรงประเด็น อาจแยกเป็นหัวข้อเพื่อให้เข้าใจง่าย ควรใช้ตาราง แผนภูมิ เพื่อช่วยอธิบายผลการศึกษาวิจัย และควรแปลความหมายรวมถึงการวิเคราะห์ผลที่ค้นพบ และสรุปเปรียบเทียบกับสมมติฐานที่ตั้งไว้
2.7 ตาราง รูปภาพ แผนภูมิ (Tables, Figure and Diagram)
ควรคัดเลือกเฉพาะที่จำเป็นแทรกไว้ในเนื้อเรื่อง โดยเรียงลำดับให้สอดคล้องกับคำอธิบายในเนื้อเรื่องและต้องมีคำอธิบายสั้นๆ ที่สื่อความหมายได้สาระครบถ้วน กรณีที่เป็นตารางคำอธิบายอยู่ด้านบน ถ้าเป็นรูป ภาพ แผนภูมิ คำอธิบายให้อยู่ด้านล่าง
2.8 อภิปรายและสรุปผลการวิจัย (Discussion and Conclusion)
ชี้แจงว่าผลการศึกษาตรงกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย เหมือนหรือแตกต่างไปจากผลการศึกษาวิจัยที่มีผู้รายงานไว้ก่อน พร้อมอธิบายเหตุผลประกอบที่มีพื้นฐานอ้างอิงเชื่อถือได้ อาจมีข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ หรือทิ้งประเด็นคำถามการวิจัย ซึ่งเป็นแนวทางสำหรับการวิจัยต่อไป
2.9 กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgements)
ระบุสั้นๆ ถึงแหล่งที่สนับสนุนทุนวิจัยและความช่วยเหลือจากองค์กรใด หรือผู้ใดบ้าง

2.10. เอกสารอ้างอิง (References)

ระบุรายการเอกสารที่นำมาใช้อ้างอิงเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมดให้ครบถ้วนไว้ท้ายเรื่อง  โดยใช้ Vancouver style โดยจัดเรียงลำดับก่อนหลังตามพยัญชนะ ในกรณีที่มีเอกสารอ้างอิงเป็นภาษาไทยต้องปรับเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด (แต่ต้องตรวจสอบความถูกต้องก่อนเสมอ) ทั้งนี้ ควรหลีกเลี่ยงการอ้างอิง personal communication และต้นฉบับที่ส่งตีพิมพ์แต่ยังไม่ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์

2.10.1 การอ้างอิงจากวารสาร
ชื่อสกุลและอักษรแรกของชื่อผู้แต่ง หรือคณะที่เป็นผู้รวบรวมบทความ. ชื่อบทความ. ชื่อย่อวารสารเป็นตัวอักษรเอียง ปีที่พิมพ์ เดือนย่อ 3 ตัวอักษร วันที่; ปีที่ (ฉบับที่): เลขหน้า.

  • ชื่อผู้แต่งถ้ามากกว่า 6 คน ให้เขียน 6 ชื่อแรก แล้วตามด้วย et al.
  • วารสารที่เรียงเลขหน้าตั้งแต่เล่มที่ 1 ถึงเล่มสุดท้าย ไม่จำเป็นต้องใส่เดือน วันที่ และหมายเลขเล่ม
  • ชื่อย่อของวารสารภาษาอังกฤษให้ใช้ตามรูปแบบของ Index Medicus หรือ PubMed

ตัวอย่าง:

Gheorghiade M, Abraham WT, Albert NM, et al. Systolic blood pressure at admission, clinical characteristics,
               and outcomes in patients hospitalized with acute heart failure. JAMA 2006; 296(3): 2217-2226.
               (กรณีผู้แต่งเกิน 6 คน)
Surveillance system reported in CDI, 2008 [editorial]. Commun Dis Intell 2008; 32(1): 134-138.
               (กรณีไม่มีชื่อผู้แต่ง ให้ใส่ [บทบรรณาธิการ] หรือ [editorial])
Felmingham D. Comparative antimicrobial susceptibility of respiratory tract pathogens.
               Chemotherapy 2004; 50 Suppl1: 3-10. (กรณีฉบับผนวก เช่น ฉบับผนวกที่ 1 ของปีที่ 50)
Payne DK, Sullivan MD, Massie MJ.  Women’s psychological reactions to breast cancer. Semin Oncol 1996;
               23(1 Suppl 2): 89-97. (กรณีวารสารมีฉบับผนวกหลายเล่ม เช่น ฉบับผนวกที่ 2 ของวารสารฉบับที่ 1 ปีที่23)

2.10.2 การอ้างอิงจากหนังสือและเอกสาร
ตัวอย่าง:

Mihara K, Swagel E. Part I: General care of the ambulatory patient. In: Bent S, Gensler LS, Frances C, editors.
               Clinical clerkship in outpatient medicine. 2nd ed. Baltimore (MD): Lippincott Williams & Wilkins; 2008. 1-8.
               (กรณีเป็นบทหนึ่งในหนังสือ และมีบรรณาธิการมากกว่า 1 คน)
Field MJ, Tranquada RE, Feasley JC, editors.  Health services research: workforce and educational issues.
               Washington: National Academy Press; 1995. Contract No.: AHCPR 282942008.  Sponsored by the
               Agency for Health Care Policy and Research. (กรณีรายงานวิชาการ ให้ระบุหน่วยงานหรือผู้ให้ทุนวิจัย)
Kimura J, Shibasaki H, editors.  Recent advances in clinical neurophysiology. Proceedings of the 10th
               International Congress of EMG and Clinical Neurophysiology, 1995 Oct 15-19; Kyoto, Japan.
               Amsterdam: Elsevier; 1996. (กรณีรายงานการประชุมสัมมนา Conference proceedings ต้องระบุวัน เดือน ปีของการประชุมสัมมนา)

2.10.3 อ้างอิงสื่ออิเล็กทรอนิกส์:
บทความวารสารอิเล็กทรอนิกส์: ชื่อผู้แต่ง. ชื่อเรื่อง. ชื่อย่อวารสารอิเล็กทรอนิกส์ [serial online] ปีที่พิมพ์ เดือน [cited ปี เดือนย่อ 3 ตัวอักษร วันที่ทำการสืบค้น]; ปีที่(ฉบับที่): [จำนวนหน้าจากการสืบค้น x screens]. Available from: https://www....... 
เวบไซต์: ชื่อผู้แต่งหรือองค์กร. ชื่อเรื่อง [Online]. ปี เดือนย่อ 3 ตัวอักษร วันที่เผยแพร่ [cited ปี เดือนย่อ 3 ตัวอักษร วันที่สืบค้น]; [จำนวนหน้าจากการสืบค้น x screens]. Available from: https://www.......
ตัวอย่าง:

Morse SS.  Factors in the emergence of infectious diseases.  Emerg Infect Dis [serial online] 1995 Jan-Mar
               [cited 2009 Apr 15]; 1(1): [24 screens].  Available from:  https://www.cdc.gov/ncidod/EID/eid.htm.
Wikipedia. Health promotion [Online]. 2009 Apr 7 [cited 2009 Apr 15]. Available from:
               https://en.wikipedia.org/wiki/Health_promotion

2.10.4 อ้างอิงสิ่งพิมพ์เบ็ดเตล็ด
บทความในหนังสือพิมพ์:  Lee G. Hospitalizations tied to ozone pollution: study estimates 50,000 admissions annually. The Washington Post 1996 Jun 21; Sect. A: 3 (col. 5).
พจนานุกรม:  Stedman’s medical dictionary. 26th ed. Baltimore: Williams & Wilkins; 1995. Apraxia; 119-20.

3. การตรวจสอบความถูกต้องก่อนส่งบทความ

การตรวจสอบว่าได้จัดทำบทความตามหลักเกณฑ์และคำแนะนำสำหรับผู้นิพนธ์ (Instructions for the Authors) ของวารสารเภสัชศาสตร์อีสานในหัวข้อต่าง ๆ ต่อไปนี้ได้เรียบร้อย เพื่อให้การพิจารณารวดเร็วขึ้น
ชื่อเจ้าของบทความ ................................................................................................................................................................
ชื่อบทความ ................................................................................................................................................................
• ชื่อเรื่อง (ภาษาไทย) 
• ชื่อเรื่อง (ภาษาอังกฤษ) 
• ชื่อผู้นิพนธ์และผู้ร่วมนิพนธ์ ภาษาไทย 
• ชื่อผู้นิพนธ์และผู้ร่วมนิพนธ์ ภาษาอังกฤษ 
• บทคัดย่อ (Abstract) ภาษาไทย (บทนำ, วิธีดำเนินการวิจัย, ผลการวิจัย และสรุปผลการวิจัย) (กรณี Review article ไม่ต้องมี วิธีการวิจัย / ผลการวิจัย ก็ได้)
• ไม่เกิน 400 คำ 
• บทคัดย่อ (Abstract) ภาษาอังกฤษ (Introduction, Method, Results, Discussion, Conclusion) ที่สอดคล้องกับภาษาไทย (กรณี Review article ไม่ต้องมี Method, Results ก็ได้)
• มีการอ้างอิงในเนื้อหา (นาม,ปี) ตามข้อกำหนด 
• จำนวนหน้า ไม่เกิน 15 หน้า ใส่หมายเลขหน้าตามลำดับกำกับทุกหน้า, 
• ใส่หมายเลขบรรทัดทุก 5 บรรทัด ทางด้านซ้ายมือ 
• การเรียงลำดับเนื้อหานิพนธ์ต้นฉบับ (Research article)
• ชื่อเรื่อง  (Title)                           
• หัวเรื่องสองภาษา                                    
• ชื่อผู้นิพนธ์และผู้ร่วมนิพนธ์                                    
• บทคัดย่อ (Abstract)                                
• คำสำคัญ (Keywords)                              
• บทนำ (Introduction)                                
• วิธีดำเนินการวิจัย (Methods)                                 
• ผลการวิจัย  (Results)                                  
• อภิปรายและสรุปผลการวิจัย (Discussion and Conclusion)                              
• กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgements)                             
• เอกสารอ้างอิง (References) ทุกฉบับต้องเป็นภาษาอังกฤษ หากเป็นภาษาไทย ต้องปรับให้เป็นภาษาอังกฤษ       
• ตาราง รูปภาพ แผนภูมิ (Tables, Figure and Diagram) ให้ใส่ไว้หน้าสุดท้าย

หมายเหตุ :  รูป ต้องไม่มีกรอบ ตาราง ให้ขีดเส้นเฉพาะหัวตารางและปิดท้ายเท่านั้น (ยกเว้นจำเป็น)

4. การส่งต้นฉบับ : ลงทะเบียน (Register)  ก่อน และเลือกที่ Author จากนั้นจะได้รับอีเมล์ 2 ฉบับ ให้ Activate จึงจะสามารถส่งต้นฉบับได้ (New Submission) โดยผ่านทางระบบออนไลน์เท่านั้น สามารถส่งต้นฉบับผ่านระบบออนไลน์ IJPS online ผ่านระบบ ThaiJO: https://tci-thaijo.org/index.php/IJPS โดย บุคคลทั่วไป กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ (ใหม่) คนไทย 2,000 บาท/เรื่อง (เมื่อชำระเงินเรียบร้อยแล้ว ผลงานที่ส่งจึงจะถูกเริ่มดำเนินการพิจารณาตามระบบของวารสาร) ชำระเงินค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์โดยการโอนเงิน ผ่านระบบ QR-Code

  • ติดต่อสอบถามข้อมูลทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์  E-mail: ijps_thailand@yahoo.com

กองบรรณาธิการวารสารเภสัชศาสตร์อีสาน

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40002
โทร. 043 202378 ต่อ 48321 โทรสาร. 043 202379

หมายเหตุ :

  1. บทความที่ตีพิมพ์ต้องเป็นบทความที่ไม่เป็นการตีพิมพ์ซ้ำซ้อนกับวารสารอื่น หรือมีการเผยแพร่ซ้ำในลักษณะที่เหมือนกันกับเอกสารการประชุมใดๆ มาก่อน
  2. ต้องเขียนตัวเลข รหัส จริยธรรมการวิจัย ในส่วนวิธีวิจัย ในบทความ และแนบเอกสารการรับรองจากคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ หรือในสัตว์ทดลอง