ผลการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยอาหารไม่ย่อยในร้านยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษากึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยอาหารไม่ย่อย ใน ร้านยาแห่งหนึ่ง ในจังหวัดมหาสารคาม ศึกษาเปรียบเทียบความรุนแรงและความถี่ของการกำเริบของอาหาร ไม่ย่อย คะแนนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาหารไม่ย่อย และคะแนนคุณภาพชีวิต ระหว่างกลุ่มทดลอง (ได้รับการบริบาลทางเภสัชกรรม) และกลุ่มควบคุม (ได้รับการบริการจากร้านยาตามปกติ) ในระหว่างเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 มีผู้ร่วมการศึกษาทั้งหมด 62 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 32 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน ลักษณะทั่วไปของผู้ป่วย เช่น เพศ อายุ วุฒิการศึกษา เป็นต้น ไม่แตกต่างกัน ก่อนการบริบาลทางเภสัชกรรมหรือการได้รับการบริการจากร้านยาพบปัญหาความไม่ร่วมมือในการใช้ยามากที่สุด (กลุ่มทดลองพบ ร้อยละ 81.3 และกลุ่มควบคุมพบร้อยละ 90.0) และหลังการบริบาลทางเภสัชกรรมพบปัญหาความไม่ร่วมมือในการใช้ยามากที่สุด (กลุ่มทดลองพบร้อยละ 43.8 และกลุ่มควบคุมพบร้อยละ 93.3) จากการศึกษาในกลุ่ม ทดลอง พบว่าหลังการให้บริบาลทางเภสัชกรรมมีความรุนแรงและความถี่ของการกำเริบของอาหารไม่ย่อยลดลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) หลังการให้บริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยกลุ่มทดลองมีคะแนนความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับอาหารไม่ย่อยและคะแนนคุณภาพชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001)
Article Details
กรณีที่ใช้บางส่วนจากผลงานของผู้อื่น ผู้นิพนธ์ต้อง ยืนยันว่าได้รับการอนุญาต (permission) ให้ใช้ผลงานบางส่วนจากผู้นิพนธ์ต้นฉบับ (Original author) เรียบร้อยแล้ว และต้องแนบเอกสารหลักฐาน ว่าได้รับการอนุญาต (permission) ประกอบมาด้วย
References
Frank L et al. Upper gastrointestinal symptoms in North America: Prevalence and relationship to health care utilization and quality of life. Dig Dis Sci 2000; 45: 809.
Krishnan SV and Schaefer M. Evaluation of the impact of pharmacist's advice giving on the outcomes of self-medication in patients suffering from dyspepsia. Pharm World Sci 2003; 25(4):168-72.
Marklund B, Westerlund T, Branstad JO, Sjöblom M. Referrals of dyspeptic self-care Patients from pharmacies to physicians, supported by clinical guidelines. Pharm World Sci 2003; 25(4): 168-172.
Talley JN and Vakil N. Guideline for management of dyspepsia. Am J Gastroenterol2005; 100: 2324-2337.
Westerlund T et al. Evaluation of a model for counseling patients with dyspepsia in Swedish community pharmacies. Am J Health-Syst Pharm 2003; 60: 1336-1346.