การพัฒนาและประเมินสื่อการสอนทางคอมพิวเตอร์เรื่องความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโรคติดเชื้อ

Main Article Content

ภูขวัญ อรุณมานะกุล
อัญชลี เพิ่มสุวรรณ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาและประเมินสื่อการสอนในหัวข้อเรื่องหลักการและการรักษาโรคติดเชื้อสำหรับนักศึกษาเภสัชศาสตร์ชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รูปแบบของการศึกษาเป็นแบบประชากรกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการให้ชมสื่อการสอน โดยผู้ทำการศึกษาได้สร้างและพัฒนาสื่อการสอน โดยสื่อประกอบด้วยสามหัวข้อใหญ่คือ การระบาดและพยาธิสภาพของเชื้อ ลักษณะอาการแสดงทางคลินิกและการวินิจฉัยโรค และผลทางห้องปฏิบัติการที่ช่วยในการวินิจฉัยโรคติดเชื้อ จากนั้นให้นักศึกษาทำการประเมินสื่อการสอนในด้านความรู้ความเข้าใจจำนวน 8 ข้อคำถามโดยวัดผลก่อนและหลังการรับชมสื่อ และประเมินระดับทัศนคติที่มีต่อสื่อการสอนจำนวน 5 ด้าน ได้แก่ด้านเนื้อหา 4 ข้อ ด้านภาพประกอบสื่อ 2 ข้อ ด้านเสียงประกอบสื่อ 2 ข้อ ด้านภาษา 2 ข้อ และด้านการนำเสนอ 2 ข้อ โดยใช้มาตรวัด 3 ระดับคือ มาก ปานกลาง และน้อย จากนักศึกษาทั้งหมด 145 คนเป็นเพศหญิงร้อยละ 75.2 นักศึกษามีทัศนคติต่อสื่อการสอนในระดับมาก คือร้อยละ 80 ขึ้นไปในทุกข้อของแต่ละด้าน ยกเว้นข้อความยากของเนื้อหาและความเร็วของเสียงในการบรรยาย จากผลคะแนนความรู้ของนักศึกษาเปรียบเทียบโดยใช้สถิติ Pair t-test พบว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้ก่อนได้รับชมสื่อเท่ากับ 5.02 ± 1.45 คะแนนจากคะแนนเต็ม 8.0 คะแนน และภายหลังได้รับชมสื่อพบว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนเท่ากับ 7.06 ± 0.96 คะแนน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.005) สื่อการสอนที่จัดทำขึ้นสามารถเพิ่มความรู้ความเข้าใจของนักศึกษาจากการฟังบรรยายในชั้นเรียน และนักศึกษามีระดับทัศนคติในสื่อการสอนอยู่ในระดับมาก สื่อการสอนทางคอมพิวเตอร์น่าจะมีบทบาทเพิ่มขึ้นต่อไปในอนาคตสำหรับการเรียนการสอนทางเภสัชศาสตร์

Article Details

บท
เภสัชกรรมปฏิบัติ (Pharmaceutical Practice)

References

Cain J, Robinson E. A primer on audience response systems: current applications and future considerations. Am J Pharm Educ 2008; 72: 1-6.

Chaiwarith R, Nuntachit N, Chittawatanarat K, et al.Surveillance of Antimicrobial Resistance among Bacterial Pathogens Isolated from Hospitalized Patients at Chiangmai University Hospital, 2006-2009. J Infect Dis Antimicrob Agents 2011;28: 35-44.

Chanakit T, Kunwaradisai N, Singkhan P, et al. Computer-aided Learning for Medical Chart Review Instructions. Afr J Pharm Pharmacol 2012; 6: 2061-2067.

Chisholm MA. An Internet- based Program to Teach Osteoporosis. Am J Pharm Educ 2002; 66: 416-420.

Chisholm MA, Dehoney J, Poirier S. Development and Evaluation of a Computer-assisted Instructional Program in an Advanced Pharmacotherapeutics course. Am J Pharm Educ 1996; 60: 365-369.

Harrold MW, Newton GD. Development and Evaluation of Computer-based Tutorials in Biochemistry and Medicinal Chemistry. Am J Pharm Educ 1998;62:24-30.

Keane DR, Norman GR, Vickers J. The Inadequacy of Recent Research on Computer-assisted Instruction. Acad Med 1991;66:8, 444-448.

Kunwaradisai N, Chanakit T, Saentaweesook N, et al. Evaluation of Computer Assisted Instruction in Basic Knowledge and Phar¬macotherapy for Smoking Cessation. IJPS 2010; 6: 18-29.

Mehvar R.Computer-assisted Generation and Grading of Pharmacokinetics Assignments in a Problem Solving Course. Am J Pharm Educ 1997; 61: 436-441.

Phimarn W, Pimdee A, Cushnie B. The evaluation and development of computer-assisted instruction program in pharmacology: Antiepileptic drug. IJPS 2013; 9: 50-59.

Reinhold J, Pontiggia L, Angeles M, Earl G. Web-based Instruction on Substance Abuse and Drug Diversion. Am J Pharm Educ 2010; 74(4), 57.

Suriyakrai S.Learning Styles of Pharmacy Students: Theory and Finding. IJPS 2011; 6: 18-29.

Zlotos L, Kayne L, Thompson I, Kane KA, Boyter A. A web-based Tool for Teaching Pharmacy Practice Competency. Am J Pharm Educ 2010; 74: 27.