การประเมินการผลิตสารมัลเบอร์โรไซด์เอและฤทธิ์ทางชีวภาพจากเชื้อราเอนโดไฟต์ และเนื้อเยื่อเพาะเลี้ยงของหม่อน

Main Article Content

จักรพันธ์ โคมัยกุล
บุญชู ศรีตุลารักษ์
ฮิโรยูกิ ทานากะ
Tharita Kitisripunya
กรวิทย์ อยู่สกุล
เพชรารินทร์ หวังศุภดิลก
อังคณา สำแดงไฟ
วราภรณ์ ภูตะลุน

บทคัดย่อ

สารสกัดจากหม่อนมีการรายงานฤทธิ์ทางชีวภาพในการยับยั้งเอนไซม์แอลฟากลูโคซิเดสและเอนไซม์ไทโรซิเนส โดยสารที่ออกฤทธิ์ทางชีวภาพหลักที่พบในรากหม่อนได้แก่ มัลเบอร์โรไซด์เอ สารชนิดนี้เป็นโครงสร้างไกลโคไซด์ของออกซีเรสเวอร์ราทรอลซึ่งมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาได้แก่ ฤทธิ์ต้านเอนไซม์ไทโรซิเนส ฤทธิ์ต้านไวรัส ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ปกป้องตับ และ ฤทธิ์ปกป้องประสาท การศึกษานี้จึงทดลองหาปริมาณสารมัลเบอร์โรไซด์เอ ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์กลูโคซิเดส และเอนไซม์ไทโรซิเนส จากสารสกัดเอนโดไฟต์และเนื้อเยื่อเพาะเลี้ยงต้นหม่อน เปรียบเทียบกับหม่อนในธรรมชาติเพื่อประเมินคุณค่าของเอนโดไฟต์และเนื้อเยื่อเพาะเลี้ยงต้นหม่อนสำหรับการเป็นแหล่งผลิตสารทุติยภูมิ จากการทดลองพบว่า ความเข้มข้นของมัลเบอร์โรไซด์เอในรากและในเซลล์เพาะเลี้ยงหม่อนสูงกว่าในรากฝอยหม่อนจากธรรมชาติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (10.31±0.76, 19.34±0.53 และ 5.32±0.37 มก./ก. น้ำหนักแห้ง ตามลำดับ) รวมถึงมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์กลูโคซิเดส (IC50 = 0.11±0.01 มก. น้ำหนักแห้ง/มล., 86±0.9  นก. น้ำหนักแห้ง/มล. และ 0.34±0.02  น้ำหนักแห้ง/มล., ตามลำดับ) และ เอนไซม์ไทโรซิเนสสูงกว่ารากหม่อนจากธรรมชาติ (IC50 = 0.70±0.05, 0.76±0.06 and 3.20±0.19 มก./ก. น้ำหนักแห้ง/มล. ตามลำดับ) จากผลการทดลองสรุปได้ว่า เนื้อเยื่อเพาะเลี้ยงหม่อนเป็นแหล่งทางเลือกในการผลิตสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่น่าสนใจ นอกจากนี้ยังพบว่า สารสกัดจากอาหารเลี้ยงเชื้อราไตรโคเดอร์มา ซึ่งเป็นเอนโดไฟต์จากต้นหม่อนให้ผลบวกเมื่อทดสอบหามัลเบอร์โรไซด์เอ (0.40±0.03  มก./ก. ของน้ำหนักสารสกัด) รวมถึงมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์แอลฟากลูโคซิเดส (IC50 = 0.81±0.12 มก. ของน้ำหนักสารสกัด/มล.) และ เอนไซม์ไทโรซิเนส (IC50 = 3.72±0.58 มก. ของน้ำหนักสารสกัด/มล.)

Article Details

บท
Appendix

References

Aftab N, Likhitwitayawuid K, Vieira A. Comparative antioxidant activities and synergism of resveratrol and oxyresveratrol. Nat Prod Res 2010; 24: 1726-1733.

Aramwit P, Bang N, Srichana T. The properties and stability of anthocyanins in mulberry fruits. Food Res Int 2010 May; 43(4): 1093-1097.

Galindo I, Hernáez B, Berná J, et al. Comparative inhibitory activity of the stilbenes resveratrol and oxyresveratrol on African swine fever virus replication. Antiviral Res 2011; 91: 57-63.

Horn F, Andrabi A, Spina G, Lorenz P, Ebmeyer U, Wolf G. Oxyresveratrol (trans-2,3 ',4,5 '-tetrahydroxystilbene) is neuroprotective and inhibits the apoptotic cell death in transient cerebral ischemia. Brain Res 2004; 1017: 98–107.

Hunyadi A, Martins A, Hsieh T, Seres A, Zupko. Chlorogenic acid and rutin play a major role in the in vivo anti- diabetic activity of Morus alba leaf extract on type II diabetic rats. Plos one [serial online] 2012 Nov [cited 2012 Dec]; 7(11): [6 screens] Available from: http://www.plosone.org/article/info%3Adoi%2F10.1371%2Fjournal.pone.0050619

Kim M, Yun J, Lee K, Lee H, Min R, Kim Y. Oxyresveratrol and hydroxystilbene compounds: inhibitory effect on tyrosinase and mechanism of action. J Biol Chem 2002; 277: 16340–16344.

Kumar V, Chauhan S. Mulberry: Life enhancer. J Med Plants Res 2008 Oct; 2(10):271-278.

Rao R, Ravishankar A. Plant cell cultures: Chemical factories of secondary metabolites. Biotechnol Adv2002, 20: 101–153.

Onose S, Ikeda R, Nakagawa K, Kimura T, Higuchi O, Miyazawa T. Production of the α-glycosidase inhibitor 1-deoxynojirimycin from Bacillus species. Food Chem 2012 Nov; 138: 516-523.

Piao J, Chen X, Kang N, Qiu F. Simultaneous determination of five characteristic stilbene glycosides in root bark of Morus alba L. (Cortex Mori) using high- performance liquid chromatography. Phytochem Anal 2011; 22: 230 -235.

Ryu B, Ha J, Curtis-Long J, Ryu H, Gal W, Park K. Inhibitory effects on mushroom tyrosinase by flavones from the stem barks of Morus lhou (S.) Koidz. J Enz Inh Med Chem 2008 Jan; 23(6):922 -930.

Lipipun V, Sasivimolphan P, Yoshida Y, Daikoku et al. Topical cream- based oxyresveratrol in the treatment of cutaneous HSV-1 infection in mice. Antiviral Res 2011; 91: 154-160.

Shi L, Zhang Z, Jin J. Protective function of cis-mulberroside A and oxyresveratrol from Ramulus mori against ethanol-induced hepatic damage. Environ ToxicPharmacog 20 08; 26: 325-330.

Strobel G, Yang X, Sear J, Kramer R, Sidhu R, Hess W, Taxol from Pestalotiopsis microspora an endophytic fungus of taxus wallachiana. Microbiol1996 142: 435-440.

Tengamnuay P, Pengrungruangwong K, Pheansri I, Likhitwitayawuid K. Artocarpus lakoochaheartwood extract as a novel cosmetic ingredient: evaluation of the in vitro anti -tyrosinase and in vivo skin whitening activities. Int J Cos Sci 200628: 269-276.

Yin, H., and Sun, Y. Vincamine-producing endophytic fungus isolated from Vinca minor. Phytomed 2011; 18: 802-805.