ประโยชน์และผลลัพธ์ด้านความรู้ของการอบรมหลักสูตรอบรมระยะสั้น
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทนำ: ในปี พ.ศ. 2555 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 7 (ขอนแก่น) และ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้จัดโครงการอบรมระยะสั้นขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติงานเภสัชกรรมปฐมภูมิให้แก่เภสัชกร วัตถุประสงค์ เพื่อสำรวจความคิดเห็นของผู้เข้ารับการอบรมต่อประโยชน์ของการอบรม ประเมินผลลัพธ์ด้านความรู้ รวมทั้งรวบรวมข้อเสนอแนะในการพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรม วิธีการวิจัย: ประชากรในการศึกษา คือ เภสัชกรผู้ปฏิบัติงานเภสัชกรรมปฐมภูมิ ในจังหวัดขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ที่เข้ารับการอบรม จำนวน 63 คน ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์ทั้งหมดเป็นข้อมูลทุติยภูมิที่รวบรวมโดยผู้จัดการอบรมในระหว่างการอบรม และผู้วิจัยติดต่อขอเอกสารที่เกี่ยวข้องมาใช้ในการวิเคราะห์ ประโยชน์ของการอบรม ประเมินจากความคิดเห็นของผู้เข้าอบรมต่อเนื้อหาการอบรมในประเด็น การตรงตามความต้องการ การนำประยุกต์ใช้ในงาน และความคุ้มค่าของเวลาที่เสียไปในการเข้าร่วมอบรม ใช้มาตรวัดแบบลิเกิร์ต 5 ลำดับจาก 1 (น้อยที่สุด) จนถึง 5 (มากที่สุด) ผลลัพธ์ด้านความรู้ วัดด้วยแบบประเมินระดับความรู้ตนเองก่อนและหลังการอบรม ใช้มาตรวัดแบบลิเกิร์ต 5 ลำดับจาก 1 (น้อยที่สุด) จนถึง 5 (มากที่สุด) และแบบทดสอบความรู้ใน 7 หัวข้อที่อบรม หัวข้อละ 10 คะแนน รวม 70 คะแนน ข้อเสนอแนะในการพัฒนาหลักสูตร ใช้คำถามปลายเปิด ผลการศึกษา: ค่าเฉลี่ยระดับการตรงตามความต้องการของเนื้อหา = 4.4 (SD 0.7) การนำประยุกต์ใช้ในงาน= 4.4 (SD 0.7) และความคุ้มค่าของเวลาที่เสียไปในการเข้าร่วมอบรม= 4.5 (SD 0.7). ค่าเฉลี่ยของระดับความรู้ตนเองก่อนการอบรม = 2.9 (SD 0.8) หลังอบรม = 4.2 (SD 0.7) คะแนนความรู้เฉลี่ยจากการวัดด้วยแบบทดสอบ = 43.4 (SD 8.8) ผู้เข้ารับการอบรมต้องการให้มีการฝึกภาคสนาม เพิ่มเติมจากการสอนและฝึกปฏิบัติในชั้นเรียน สรุปผลการศึกษา: ถึงแม้ว่าผู้เข้ารับการอบรมจะเห็นว่าหลักสูตรนี้มีประโยชน์และได้รับความรู้เพิ่มขึ้น แต่ระดับความรู้ซึ่งวัดด้วยแบบทดสอบ ชี้ให้เห็นว่าผู้ผ่านการอบรมยังมีความรู้ในระดับปานกลาง ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องปรับกลวิธีในการถ่ายทอดความรู้เพื่อให้ผู้ผ่านการอบรมมีความรู้เพิ่มขึ้นจนถึงระดับดีหรือดีมาก
Article Details
กรณีที่ใช้บางส่วนจากผลงานของผู้อื่น ผู้นิพนธ์ต้อง ยืนยันว่าได้รับการอนุญาต (permission) ให้ใช้ผลงานบางส่วนจากผู้นิพนธ์ต้นฉบับ (Original author) เรียบร้อยแล้ว และต้องแนบเอกสารหลักฐาน ว่าได้รับการอนุญาต (permission) ประกอบมาด้วย
References
-