ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพเภสัชกรรมของเภสัชกรในโรงพยาบาลชุมชนเขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 6

Main Article Content

จารุวรรณ จุลสัตย์
วรางคณา ผลประเสริฐ

บทคัดย่อ

บทนำ: รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 หมวด 8 ระบุว่า “รัฐต้องจัดและส่งเสริมการสาธารณสุขให้ประชาชนได้รับบริการที่ได้มาตรฐานมีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง” ดังนั้นการให้บริการด้านเภสัชกรรมจะต้องมีการปฏิบัติให้ได้มาตรฐานด้วยเช่นกัน การวิจัยเชิงวิเคราะห์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยจูงใจ ปัจจัยค้ำจุน และ การปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพเภสัชกรรม (2) อิทธิพลของปัจจัยต่าง ๆ ต่อการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพเภสัชกรรม และ (3) ปัญหา อุปสรรคและขอเสนอแนะเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพเภสัชกรรมของเภสัชกร ในโรงพยาบาลชุมชน เขตตรวจราชการลาธารณสุขที่ 6 วิธีการศึกษา: ประชากรในการวิจัยได้แก่เภสัชกรที่ปฏิบัติงานใน โรงพยาบาลชุมชน เขตตรวจราชการลาธารณสุขที่ 6 ทุกคน จำนวน 156 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่มีค่าความเที่ยง เท่ากับ 0.93 ได้รับแบบลอบถามคืน 126 ชุด คิดเป็นรอยละ 80.77 สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุแบบขั้นตอน ผลการศึกษา: พบว่า (1) เภสัชกรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชนเขต ตรวจราชการสาธารณสุขที่ 6 ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 33.33 ปี สถานภาพโลด ระดับการศึกษาสูงสุด ปริญญาโท ประสบการณ์ทำงานเฉลี่ย 9.22 ปี การปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพเภสัชกรรมและปัจจัยจูงใจอยู่ในระดับสูง ส่วนปัจจัย ค้ำจุนอยู่ในระดับปานกลาง (2) อิทธิพลของตัวแปรที่สามารถพยากรณ์การปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพเภสัชกรรมได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ได้แก่ปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุนร่วมกันพยากรณ์การปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพ เภสัชกรรมได้ร้อยละ 30.70 และ (3) ปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติงานที่สำคัญได้แก่ ความยุ่งยากในการปฏิบัติงานด้านการ ส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล สรุปผล: ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพเภสัชกรรมของเภสัชกรใน โรงพยาบาลชุมชนเขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 6 ได้แก่ ปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุนข้อเสนอแนะคือผู้บริหารควรกำหนดให้การปฏิบัติงานด้านการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลและการศึกษาวิจัยเป็นนโยบายระดับโรงพยาบาล มีผู้รับผิดชอบ ชัดเจน มีแผนการปฏิบัติงานและติดตามผลการปฏิบัติงาน การส่งเสริมสนับสนุนให้มีความก้าวหน้าในตำแหน่งเภสัชกร รวมถึงการพิจารณาเลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่งตามผลการปฏิบัติงาน

Article Details

บท
เภสัชกรรมปฏิบัติ (Pharmaceutical Practice)

References

Herzberg F, et al. The motivation to work. New York. 1959. 67-70.

KittayayonN. The teaching behavior in organizations. Faculty of Economics and Business Administration. Bangkok Thammasat University. 1984 1 - 20.

Suntivijit N. Factors Affected to Administrative Practice of a Board of Directors in the Community Hospital, Chaiyaphum Province. Khon Kaen University. 2007. 67

Prapanwatana M. The Public Health Service. And hospital. The report surveys the experience of visiting the hospital to ensure quality. Society of Hospital Pharmacy. 2005. 1 - 11.

Rupraman W. Factors affecting the activity of the chief of the hospital ward.Community Hospital District 6. TheIndependent Study Degree Nursing Program. Department of Nursing Administra-tion. Graduate School. Khon Kaen University.2002. 68.

ShadareOluseyi.A, Hammed, T.ayo.Influence of Work Motivation, Leadership Effectiveness and Time Management on Employees, Performance in Some Selected Industries in Ibadan, Oyo State, Nigeria. EuroJournals 2009. 16 :7-117.