สถานการณ์การนำไปใช้ของมาตรการควบคุมค่าใช้จ่ายด้านยา ณ โรงพยาบาลพิมาย จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

จุไรวรรณ เหล็กกนก
วิบูลย์ วัฒนนามกุล

บทคัดย่อ

โรงพยาบาลพิมายเป็นโรงพยาบาลขนาด 150 เตียง มีแพทย์เฉพาะทาง 6 สาขาหลัก เป็นแหล่งเรียนรู้เพิ่มพูนทักษะแพทย์ คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัดได้มีการกำหนดนโยบายการควบคุมค่าใช้จ่ายด้านยา งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์และวิเคราะห์ผลการนำไปใช้ของมาตรการในการควบคุมค่าใช้จ่ายด้านยา วิธีดำเนินการวิจัย: เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ทั้งวิธีวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยวิธีวิจัยเชิงปริมาณใช้วิธีการศึกษาเชิงพรรณนาแบบเก็บข้อมูลย้อนหลัง ข้อมูลการสั่งใช้ยาผู้ป่วยนอกในปีงบประมาณ 2557-2560 วิธีวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการเก็บข้อมูลจากรายงานการประชุมคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัดตั้งแต่ปีงบประมาณ 2554-2560 โดยสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth and face-to-face interviews) แพทย์ 18 คน พยาบาลวิชาชีพแผนกผู้ป่วยนอก 3 คน และเภสัชกรงานบริการเภสัชกรรมผู้ป่วยนอก 3 คน สนทนากลุ่มคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัดจำนวน 5 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ตามหลักการของซิปโมเดลและใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ผลการวิจัย: การประเมินการใช้มาตรการในการควบคุมค่าใช้จ่ายด้านยาด้านบริบทพบว่า มีความสอดคล้องกับบริบท นโยบายโรงพยาบาล และของกระทรวงสาธารณสุขในการควบคุมค่าใช้จ่ายด้านยา เกิดการใช้ยาอย่างสมเหตุผล กลุ่มตัวอย่างทราบถึงสาเหตุ ปัจจัย ค่าใช้จ่ายด้านยาที่เพิ่มสูงขึ้นของโรงพยาบาล ด้านปัจจัยนำเข้า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ทราบมาตรการในการควบคุมค่าใช้จ่ายด้านยาและนโยบายส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของโรงพยาบาล ด้านกระบวนการ กลุ่มตัวอย่างสามารถเข้าถึงและทราบการติดตามผลการประเมินมาตรการควบคุมค่าใช้จ่ายด้านยาของโรงพยาบาล และให้ความเห็นว่ามาตรการเดิมดีอยู่แล้ว ด้านผลผลิตกลุ่มตัวอย่างมีการตอบสนองต่อนโยบายของโรงพยาบาลโดยให้ความร่วมมือในนโยบายการควบคุมค่าใช้จ่ายด้านยา ควรนำนโยบายร่วมจ่ายมาใช้ รณรงค์ให้ความรู้สร้างความตระหนักที่ถูกต้องแก่ประชาชน จากมาตรการกำหนดผู้เข้าถึงการสั่งใช้ยากลุ่มตัวอย่าง 4 รายการได้แก่ ยาเม็ด Carvedilol 25 มิลลิกรัม ยาแคปซูล Celecoxib 200 มิลลิกรัม ยาเม็ด Gabapentin และยาเม็ด Lercanidipine 20 มิลลิกรัม พบการสั่งใช้ยาแผนกผู้ป่วยนอกที่เป็นไปตามเงื่อนไขการสั่งใช้ยาของโรงพยาบาลร้อยละ 98.12 สรุปผลการวิจัย: การควบคุมค่าใช้จ่ายด้านยาควรมีมาตรการที่สามารถปฏิบัติได้จริง ได้รับความร่วมมือจากผู้ปฏิบัติ สะท้อนข้อมูลกลับให้ผู้ปฏิบัติได้รับทราบ ติดตามและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง

Article Details

บท
เภสัชกรรมปฏิบัติ (Pharmaceutical Practice)

References

Arshad S, Mahmood S, Rasool S, et al. Rational drug use in Pakistan: a systematic review. J Pharm Pract Med 2016; 2(4): 116-122.

Hoadley J. Cost containment strategies for prescription drugs: assessing the evidence in the literature [Online]. 2005 Feb 28 [cited 2016 Jun 7]. Available from: http://kff.org/medicaid/report/cost-containment-strategies-for-prescription-drugs-assessing.

Limwattananon C, Thammatacharee N, Waleekhachonloet O, et al. Expenditure of Civil Servant Medical Benefit Scheme and the use of non-essential medicines. Journal of Health Systems Research 2011; 5(2): 149-159.

Limwattananon S, Limwattananon C, Pannarunothai S. Cost and utilization of drugs prescribed for hospital-visited patients: impacts of universal health care coverage policy [Online]. 2004 [cited 2016 Jun 7]. Available from: http://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/1851?src=?2fdspace.

Nayeemul Islam K. A study on generic prescription substitution policy as a cost containment approach for Michigan’s Medicaid system [Online]. 2013 Oct [cited 2016 Jun 7]. Available from: http://pdfs.semanticscholar.org.

Office of the National Economics and Social Development Council. Total health expenditure per capita gross domestic product [Online]. 2017 [cited 2017 Jun 7]. Available from: http://social.nesdb.go.th.

Office of the Permanent Secretary. Strategic Plan of the Ministry of Health Year 2017-2021 [Online]. 2017 [cited 2017 Jun 7]. Available from: http://203.157.229.33>downloadpage>file.

Ratanawijitrasin S, Kulsomboon V. Health insurance system in Thailand. Design Limited; 2001.

Sirisorn W, Ploylearmsang C, Waleekhachonloet O. Role of pharmacy and therapeutic committee and generic drug policy in perspective of medical personnel in a tertiary hospital Thailand. Journal of Science and Technology Mahasarakham University 2014: 793-802.

Suanrueang P, Sakolchai S, Suriyawongpaisarn P, et al. Measures for promoting rational use of high cost drugs in hospitals under Civil Servant Medical Benefit Scheme. Journal of Health Systems Research 2013; 7(2): 223-234.

Tele P, Groot W. Cost containment measures for pharmaceuticals expenditure in the EU countries: a comparative analysis [Online]. 2009 Jul 23 [cited 2016 Jun 7]. Available from: http://pdfs.semanticscholar.org.