อุบัติการณ์และความร้ายแรงของผลอันไม่พึงประสงค์จากการใช้เครื่องมือแพทย์ในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
“เครื่องมือแพทย์” คือ ผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างหนึ่งที่มีความสำคัญในการช่วยทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น อย่างไรก็ตามเครื่องมือแพทย์อาจจะก่อให้เกิดผลอันไม่พึงประสงค์ต่อผู้ใช้เครื่องมือแพทย์ได้ วิธีดำเนินการวิจัย: การวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง เก็บข้อมูลจากแบบรายงานผลการทำงานอันผิดปกติของเครื่องมือแพทย์หรือผลอันไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นกับผู้บริโภค (แบบ ร.น.พ. 1) จากศูนย์เฝ้าระวังความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ตั้งแต่มกราคม 2560 – ธันวาคม 2561 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และสถิติทดสอบ Fisher Exact Test ผลการวิจัย: ผลการศึกษาในกลุ่มตัวอย่าง 180 ราย เป็นเพศชายจำนวน 96 ราย (ร้อยละ 53.33) และเพศหญิง 84 ราย (ร้อยละ 46.67) มีอายุเฉลี่ย 61 ปี (เฉลี่ย 61.17 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 15.66) กลุ่มของเครื่องมือแพทย์ที่ก่อให้เกิดผลอันไม่พึงประสงค์ฯ พบว่ากลุ่มเครื่องมือแพทย์ที่ฝังในร่างกายเป็นสาเหตุของการเกิดผลอันไม่พึงประสงค์ฯ มากที่สุด จำนวน 69 ราย (ร้อยละ 38.33) และพบว่าบุคลากรทางการแพทย์เป็นผู้ใช้งานเครื่องมือแพทย์ขณะเกิดเหตุการณ์จำนวน 156 ราย (ร้อยละ 86.67) โดยเป็นการใช้งานเครื่องมือแพทย์ครั้งแรกจำนวน 171 ราย (ร้อยละ 95) อุบัติการณ์ระดับความร้ายแรงของผลอันไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นกับผู้บริโภคส่วนใหญ่พบว่าไม่ร้ายแรงจำนวน 111 ราย (ร้อยละ 61.67) และกลุ่มของเครื่องมือแพทย์มีความสัมพันธ์กับระดับความร้ายแรงของผลอันไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value = 0.025) โดยพบว่ากลุ่มเครื่องมือแพทย์ที่เกี่ยวกับดวงตาและสายตา กลุ่มเครื่องมือแพทย์ฝังในร่างกายที่ใช้พลังงาน และกลุ่มเครื่องมือแพทย์ฝังในร่างกาย พบผลอันไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากการใช้เครื่องมือแพทย์มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 40.00, 30.95, 7.68 ตามลำดับ สรุปผลการวิจัย: หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถหาโอกาสพัฒนากระบวนการกำกับดูแลเพื่อลดระดับความร้ายของผลอันไม่พึงประสงค์จากการใช้เครื่องมือแพทย์ โดยมุ่งเน้นด้านกฎหมาย นโยบายด้านเครื่องมือแพทย์ โดยเฉพาะในเรื่องคุณภาพ มาตรฐานและความปลอดภัยของเครื่องมือแพทย์ ซึ่งเป็นปัจจัยที่พบว่ามีความสัมพันธ์กับระดับความร้ายแรงของผลอันไม่พึงประสงค์จากการใช้เครื่องมือแพทย์
Article Details
กรณีที่ใช้บางส่วนจากผลงานของผู้อื่น ผู้นิพนธ์ต้อง ยืนยันว่าได้รับการอนุญาต (permission) ให้ใช้ผลงานบางส่วนจากผู้นิพนธ์ต้นฉบับ (Original author) เรียบร้อยแล้ว และต้องแนบเอกสารหลักฐาน ว่าได้รับการอนุญาต (permission) ประกอบมาด้วย
References
Food and Drug Administration. Annual Report 2019. 1st ed. Samut Sakhon: Born to be publishing Co.,Ltd.; 2020.
Imdrf.org [Online]. Principles of Medical Devices Classification Study Group 1 Final Document GHTF/SG1/N15. 2006 June 27 [cited Sep 22]. Available from: http://www.imdrf.org/docs/ghtf/final/sg1/technical-docs/ghtf-sg1-n15-2006-guidance-classification-060627.pdf
Kevin Bogert. History of Food, Drug and Cosmetic Act – Did You Know? [Online] [cited 2019 Aug 17] Available From: https://www.mastercontrol.com/gxp-lifeline/history_food_drug_cosmetic_act_0210/
Ministry of Commerce. Trade Statistic [Online] [cited 2019 Aug 14] Available From: http://tradereport.moc.go.th/TradeThai.aspx
Patanawong Y. ASEAN Harmonization on Medical Device and ASEAN Medical Device Directive. FDA JOURNAL 2012, 19(2): 12-17.
Suwankesawong W, Oppamayun Y and Nootim S, 2016. Guidance for Medical Device Industry Reporting of Device Defects, Adverse Effects and Field Safety Corrective Actions. Bangkok: Augsong Graphic and Design.
Therapeutic Goods Administration. About the DEAN – medical devices [Online]. 2013 December 19 [cited 2019 Aug 25]. Available from: https://www.tga.gov.au/about-daen-medical-devices
Therapeutic Goods Administration. Reporting adverse events [Online]. 7 November 2018 [cited 2019 Aug 24] Available from: https://www.tga.gov.au/reporting-adverse-events
Therapeutic Goods Administration. Therapeutic Product Vigilance version 1.4 [Online], September 2017 [cited 2019 Aug 24] Available from: https://www.tga.gov.au/publication/therapeutic-product-vigilance
U.S. Food & Drug Administration. Reporting Serious Problems to FDA [Online] 2018. [cited 2019 Aug 17] Available from: https://www.fda.gov/safety/medwatch-fda-safety-information-and-adverse-event-reporting-program/reporting-serious-problems-fda
Who.int [Online]. GMDN User Guide A Comprehensive guide to the Global Medical Device nomenclature Version 2010 Second edition. [updated 2010 July; cited 2019 Sep 22]. Available from: https://www.who.int/medical_devices/innovation/GMDN_Agency_User_Guide_v120810.pdf
Wikipedia. Federal Food, Drug and Cosmetic Act [Online]. [cited 2019 Aug 17] Available from: https://en.wikipedia.org/wiki/Federal_Food,_Drug,_and_Cosmetic_Act