กรณีศึกษาความฉลาดทางสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

Main Article Content

ประภัสสร งาแสงใส
ปดิรดา ศรสียน
สุวรรณา ภัทรเบญจพล

บทคัดย่อ

บทนำ: การจัดให้มีอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เป็นหลักการสำคัญของการสาธารณสุขมูลฐานในประเทศไทย อสม .เป็นบุคคลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพของคนในชุมชน  ดังนั้น อสม. ควรมีความฉลาดทางสุขภาพที่เพียงพอเพื่อให้สามารถแนะนำแนวทางการดูแลสุขภาพและให้ความรู้กับชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ   การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินระดับความฉลาดทางสุขภาพด้านความรู้ความเข้าใจ ของ อสม .ในจังหวัดอุบลราชธานี วิธีการดำเนินการวิจัย: การวิจัยภาคตัดขวาง โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ อสม. จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจำนวน 2 แห่ง ใน จ. อุบลราชธานี ช่วงเดือนสิงหาคม 2556 โดยใช้แบบทดสอบความฉลาดทางสุขภาพที่พัฒนาขึ้น ด้วยหลักการให้ อสม. อ่านความรู้สาธารณสุขจากสื่อสิ่งพิมพ์และตอบคำถามเพื่อประเมินความเข้าใจและการตีความจำนวน 20 เรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติไร้พารามิเตอร์ Mann-Whitney U test และ Kruskal-Wallis test ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง 168 คน เข้าร่วมการศึกษา ส่วนใหญ่เป็นหญิง (ร้อยละ 93.3) มีอายุเฉลี่ย 47.8 ± 10.3  ปี สถานภาพสมรส (ร้อยละ 77.8) ประมาณครึ่งหนึ่งของกลุ่มตัวอย่างจบประถมศึกษาหรือต่ำกว่า (ร้อยละ 51.2) มีอาชีพเกษตรกร (ร้อยละ 36.3) หรือรับจ้าง (ร้อยละ 33.9) ประมาณสองในสามของตัวอย่างเป็น อสม.มานานกว่า  2 ปี (ร้อยละ 63.8) มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 5,000 บาทหรือน้อยกว่า (ร้อยละ 67.1) และกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความฉลาดทางสุขภาพด้านความรู้ความเข้าใจเฉลี่ย 14.8 ± 3.2 จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน รวมทั้งพบความสัมพันธ์ระหว่างระดับความฉลาดทางสุขภาพด้านความรู้ความเข้าใจ กับ อายุ และระดับการศึกษาของ อสม. (p< 0.01) สรุปผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีคะแนนความฉลาดทางสุขภาพด้านความรู้ความเข้าใจในระดับดี แต่บางส่วนยังขาดทักษะในการอ่านและแปลความข้อมูลสาธารณสุขจากสื่อสิ่งพิมพ์  ซึ่งศักยภาพของอสม. ในการให้ความรู้แก่ชุมชนอาจด้อยลง หากมีความฉลาดทางสุขภาพที่ไม่เพียงพอ นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างยังขาดความมั่นใจในการแนะนำความรู้แก่เพื่อนบ้าน  ผลการศึกษายังชี้ให้เห็นว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุและระดับการศึกษา เป็นสิ่งที่ควรพิจารณาประกอบด้วยในกระบวนการสรรหา อสม. เพราะมีความสัมพันธ์ต่อระดับความฉลาดทางสุขภาพด้านความรู้ความเข้าใจ ซึ่งมีความจำเป็นต่อการปฏิบัติหน้าที่ของ อสม.

Article Details

บท
Research Articles

References

Baker DW, Gazmararian JA, Williams MV et alFunctional Health Literacy and the Risk of Hospital Admission among Medicare Managed Care Enrollees. Am J Public Health. 2002; 92(8): 1278-83.

Institute of Medicine Committee: IOM.Health Literacy: A Prescription to End Confusion. [Online] 2004 [cited 2013 Nov 20]. Available from: http://www.iom.edu/Reports/2004/Health-Literacy-A-Prescription-to-End-Confusion.aspx

Ministry of Public Health (Health Education Division. Department of Health Service Support). Health Literacy. Nontaburi. Newtamadakanpim. 2011.

Ministry of Public Health. Health Literacy Development plan to change Health behaviors. [online] 2013 March 1 [cited 2013 Nov 20] Available from: http://healthcaredata.moph.go.th/screen2/sdownload/sdoc/2556/1model_thai_health_lifestyle/1_13.pdf

Ministry of Public Health. Public Health Ministerial rule of Village Health Volunteers 2011 [online] 2011 Mar 20 [cited 2013 Nov 20] Available from: http://www.esanphc.net/vhv/files/ProcedureMophAboutVHV2554.pdf

Nutbeam, D. Health literacy as a public health goal: a challenge for contemporary health education and communication strategies in the 21stcentury Health Promot. Int. 2000; 15(3): 259–67.

Schillinger D, et al, Association of health literacy with diabetes outcomes JAMA. 2002 Jul 24-31; 288 (4): 475-82.

Sudore RL, Mehta KM, Simonsick EM, et al. Limited literacy in older people and disparities in health and healthcare access. J Am Geriatr Soc. 2006 May; 54(5):770–776.

World Health Organization (WHO). Health Promotion Glossary. [online] 1998 [cited 2013 Nov 20] Available form: http://www.who.int/healthpromotion/about/HPG/en/