การเพิ่มความสามารถในการละลายของตัวยาอินโดเมธาซินโดยการเปลี่ยนตัวยาให้อยู่ในรูปสารประกอบเชิงซ้อนของโลหะ
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
บทนำ: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวยาอินโดเมธาซิน (Indomethacin) ให้อยู่ในรูปที่สามารถละลายน้ำได้ดีขึ้น โดยอาศัยหลักการการเปลี่ยนตัวยาให้อยู่ในรูปสารประกอบเชิงซ้อนของโลหะ รวมถึงศึกษาปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลต่อการละลายด้วย เช่น ชนิดของโลหะ, สภาวะที่ใช้เตรียมสารประกอบเชิงซ้อน วิธีการเตรียม: สารประกอบเชิงซ้อนของ Zn และ Cu(II) กับอินโดเมธาซิน ดังนี้ นำสารละลายอินโดเมธาซินใน acetone และสารละลาย sodium bicarbonate ผสมจนเข้ากันและค่อยๆ หยดสารละลาย zinc sulphate heptahydrate หรือ copper (II) sulphate anhydrous ในน้ำ อบตะกอนที่ได้ที่อุณหภูมิ 50๐C นำไปทดสอบเพื่อหาความสามารถในการละลาย ผลการทดลอง: พบว่า Zn-Indomethacin และ Cu-Indomethacin สามารถละลายใน Phosphate buffer pH 6.8 ได้เพิ่มขึ้นเป็น 2.05 และ 1.78 เท่าของ Indomethacin ในรูปปกติ ตามลำดับ และละลายใน KCl–HCl buffer pH 2.0 ได้ 20.73 µg/ml และ 1.31 µg/ml ตามลำดับ จากเดิมที่ไม่สามารถละลายได้เลย นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลง pH ในขั้นตอนการเตรียมให้ค่อนไปทางด่างจะทำให้การละลายใน KCl–HCl buffer pH 2.0 ของทั้ง Zn-Indomethacin และ Cu-Indomethacin ดีขึ้นเล็กน้อย แต่ใน Phosphate buffer pH 6.8 การละลายลดลงมาก ส่วนการเพิ่มอุณหภูมิในขั้นตอนเตรียม ส่งผลให้การละลายของ Cu-Indomethacin ใน KCl–HCl buffer pH 2.0 ต่ำลงถึง 2.8 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับการเตรียมที่อุณหภูมิห้อง และเมื่อทดสอบการละลายโดยใช้ Dissolution Test Apparatus (Type II) แสดงให้เห็นว่าที่ 60 นาที zinc-indomethacin มีการละลายใน Phosphate buffer pH 6.8 เพิ่มขึ้นเป็น 1.87 เท่า ของ indomethacin ในรูปปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) สรุป: ได้ว่าทั้ง Zn-Indomethacin และ Cu-Indomethacin ช่วยเพิ่มการละลายของตัวยาสำคัญ Indomethacin ได้จริง โดยที่ Zn-Indomethacin ให้ผลที่ดีกว่า Cu-Indomethacin 1.15 เท่าใน Phosphate buffer pH 6.8
Article Details
In the case that some parts are used by others The author must Confirm that obtaining permission to use some of the original authors. And must attach evidence That the permission has been included