ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตน ต่อความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 และทักษะการตรวจ ATK ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในเขตกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
โปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตน, ความรู้, ทัศนคติ, พฤติกรรม, ทักษะการตรวจ ATKบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนต่อความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 และทักษะการตรวจ ATK ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การวิจัยกึ่งทดลอง แบบการวิจัยสองกลุ่ม วัดก่อนทดลอง ภายหลังการทดลองทันที และระยะติดตามผล กลุ่มตัวอย่าง 62 คน คัดเลือกโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม กลุ่มทดลอง 31 คน และกลุ่มควบคุม 31 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบประเมินความรู้ แบบประเมินทัศนคติ แบบประเมินพฤติกรรม และแบบประเมินทักษะการตรวจ ATK เครื่องมือ มีค่าความตรงทั้งฉบับเท่ากับ .97 และค่าความเที่ยง .88, .71, .84, .86 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติ Repeated measure ANOVA และ Independent t-test ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลองทันที และระยะติดตามผล กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ย ความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 และทักษะการตรวจ ATK สูงกว่าก่อนทดลองและกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p< .01) ภายในกลุ่มทดลองในแต่ละช่วงเวลามีคะแนนเฉลี่ยความรู้ (F = 27.873, p < .001) ทัศนคติ (F = 13.302, p < .001) พฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 (F = 13.439, p < .001) และทักษะการตรวจ ATK (F = 27.862, p < .001) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 โปรแกรมนี้ช่วยให้นักเรียนมีความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 และทักษะ การตรวจ ATK เพิ่มขึ้น ดังนั้นพยาบาลอนามัยชุมชนควรนำโปรแกรมนี้ไปประสานงานกับครูอนามัยโรงเรียนเพื่อประยุกต์ใช้สอนในชั้นเรียนและขยายไปยังกลุ่มนักเรียนระดับชั้นอื่นๆ เพื่อเผยแพร่ความรู้และทักษะผลักดันสู่การเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย เพื่อพัฒนาหลักสูตรการสอนในระดับประถมศึกษาทั่วประเทศ
References
กชกร ธรรมนำศีล, กาญจนา ปัญญาเพ็ชร์, สุปราณี น้อยตั้ง, และชัยณรงค์ นาคเทศ. (2565). ผลของโปรแกรมการรับรู้ความสามารถของตนต่อทักษะการปฏิบัติช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารแพทย์นาวี, 49(2), 334-349.
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563). ข้อมูลสำหรับการป้องกันตนเองจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019. สืบค้นจาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/introduction/ introduction01.pdf
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2564). รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ฉบับที่ 572. สืบค้นจาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/filesituation/situation-no572-280764.pdf
กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). แนวทางปฏิบัติสำหรับสถานศึกษาเพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (COVID-19). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
กัลยา วานิชย์บัญชา, และฐิติ วานิชย์บัญชา. (2558). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล (พิมพ์ครั้งที่ 27). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สามลดา.
กิจติยา รัตนมณี, พิพัฒน์ นุ่นด้วง, สุวนันท์ ทิศลูน, ไพลิน สัญญากิจ, ปัณฐิตา พรมเสนะ, และพัทธนันท์ สอนสวัสดิ์. (2565). ผลของปรแกรมการรับรู้ความสามารถของตนเองและการใช้หลักการ 2 ม 2 ว ต่อความรู้และการรับรู้ความสามารถของตนเองในการดูแลและป้องกันการเกิดโควิด-19 ในเด็กวัยเรียนประถมศึกษาตอนปลาย. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ, 5(2), 189-201.
เกษราภรณ์ อ่อนทอง, นฤมล ธีระรังสิกุล, และศิริยุพา สนั่นเรืองศักดิ์. (2564). ผลของโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการดูแลตนเองต่อพฤติกรรมการป้องกันอาการภูมิแพ้ของเด็กวัยเรียนโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 29(2), 36-46.
ไฉไล เที่ยงกมล, กานดามณี พานแสง, ส่งศรี รัตนมาลาวงศ์ และอารญา โถวรุ่งเรือง. (2558). พฤติกรรมการป้องกันโรคอ้วนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6. วารสารพยาบาลตำรวจ, 7(2), 1-15.
ใบหยก คล้ายสินธุ์, แววตา เตชาทวีวรรณ, และแจ่มจันทร์ ศรีอรุณรัศมี. (2561). การใช้โปรแกรมการสอนด้วยหนังสือการ์ตูนเพื่อส่งเสริมทักษะการรู้สารสนเทศตามมาตรฐานบิ๊กซิกส์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารบรรณศาสตร์ มศว, 11(2), 1-16.
พิมสิริ ภู่ศิริ, นภัสวรรณ นามบุญศรี, และเต็มฤทัย ภู่ประดิษฐ์. (2022). การติดเชื้อโควิด-19 ในเด็ก. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ สสอท, 4(1), 1-13.
อภิรมย์ เลี่ยนเครือ, อารญา โถวรุ่งเรือง, ปุณยารัตน์ หัตถกี, ปราณี เสนีย์, ปริญญา แก้วสงค์ และอุดมศักดิ์ ศิริหนองหว้า. (2565). ผลของโปรแกรมการสอนการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานต่อความรู้ ทัศนคติ และทักษะในการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานในนักเรียนประถมศึกษา โรงเรียนวัดดวงแข. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, 33(1), 149-166.
อัญชนา สุขอนนท์, สมสมัย รัตนกรีฑากุล, และนิสากร กรุงไกรเพชร. (2559). ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนองต่อพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักของนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกิน ในเขตเทศบาลเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 30(3), 26-40.
อุมาภรณ์ สุขารมณ์. (2561). จิตวิทยาพัฒนาการ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
Bandura, A. (1997). Self – Efficacy: The exercise of control. New York: W.H. Freeman.
Portnoy, I., Manosalva-Sandoval, J., & Torregroza-Espinosa, A. C. (2022). Impact of COVID-19 on Students' Generic Skills-A Case Study in a University from a Developing Country. Procedia computer science, 203(8), 508-513.
Tinker, S. C., Prince-Guerra, J. L., Vermandere, K., Gettings, J., Drenzik, C., Voccio, G., ... & Honein, M. A. (2022). Evaluation of self-administered antigen testing in a college setting. Virology Journal, 19(1), 1-10.
WHO Thailand WeeklySituation. (2022). COVID-19 Situation, Thailand 27 July 2022. สืบค้นจาก https://cdn.who.int/media/docs/default-source/searo/thailand/2022_07_27_tha-sitrep-243-covid-19.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสุขภาพกับการจัดการสุขภาพ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.