Publication Ethics
จริยธรรมการตีพิมพ์ของวารสารสุขภาพกับการจัดการสุขภาพ
บทบาทหน้าที่ของบรรณาธิการ
- บรรณาธิการดำเนินการตรวจสอบคุณภาพของบทความก่อนการตีพิมพ์ทุกครั้ง
- ทุกบทความที่ส่งเข้ามายังวารสาร บรรณาธิการจะดำเนินการพิจารณาและตรวจสอบคุณภาพของบทความ โดยพิจารณาจากเนื้อหาบทความที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร
- บรรณาธิการต้องดำเนินการตามกระบวนการพิจารณาบทความและขั้นตอนต่าง ๆ ของวารสารอย่างเคร่งครัด และก่อนการตีพิมพ์บทความจะต้องเข้ารับการพิจารณาบทความจากผู้ประเมินบทความอย่างน้อย 2 ท่าน แบบ Double-Blinded
- บรรณาธิการไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้ประเมินบทความ และผู้แต่ง แก่บุคคลอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับวารสาร ในช่วงระยะเวลาของการพิจารณาบทความ
- บรรณาธิการจะต้องไม่มีอคติต่อบทความและผู้แต่งในด้านต่าง ๆ เช่น เชื้อชาติ เพศ ศาสนา วัฒนธรรม การเมือง และสังกัดของผู้แต่ง เป็นต้น
- บรรณาธิการจะใช้เหตุผลตามหลักวิชาการในการพิจารณาทุกบทความ
- บรรณาธิการต้องไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้ประเมินบทความและผู้แต่ง
- บรรณาธิการไม่นำบทความหรือวารสารไปเป็นผลงานทางวิชาการของตนเอง และไม่นำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์หรือธุรกิจ
- บรรณาธิการต้องไม่มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเนื้อหาบทความและผลประเมินบทความของผู้ประเมินบทความ รวมถึงไม่ปิดกั้นข้อมูลที่ใช้แลกเปลี่ยนระหว่างผู้ประเมินบทความและผู้แต่ง
- บรรณาธิการต้องรักษามาตรฐานของวารสาร รวมถึงพัฒนาวารสารให้มีคุณภาพและมีความทันสมัยอย่างสม่ำเสมอ
- กรณีตรวจพบการคัดลอกบทความ ระหว่างการพิจารณาบทความ บรรณาธิการจะต้องหยุดกระบวนการพิจารณาบทความ และติดต่อผู้แต่งหลักทันทีเพื่อขอคำชี้แจง ประกอบการ “ตอบรับ” หรือ “ปฏิเสธ” การตีพิมพ์บทความ
- หากปรากฎการประพฤติทุจริตภายหลังการดำเนินการตรวจสอบแล้ว บรรณาธิการต้องดำเนินการถอดถอนบทความ ด้วยความชัดเจนที่จะสามารถพิสูจน์ได้ ทั้งนี้การเพิกถอนนี้ต้องให้ผู้อ่านและระบบฐานข้อมูลอื่น ๆ ทราบด้วย โดยจะไม่ลบบทความออกจากวารสาร แต่จะใช้ลายน้ำหรือการพิมพ์ที่ส่วนหัวของบทความนั้นว่า “ถอดถอนบทความ (retracted)” ในทุก ๆ หน้า เพื่อให้ผู้ค้นข้อมูลค้นพบและทราบว่าบทความนั้น ๆ ได้ถูกถอนออกไปแล้ว และไม่รับตีพิมพ์บทความจากผู้แต่งรายนี้อย่างน้อยเป็นเวลา 3 ปี หรือตามวารสารกำหนด
บทบาทหน้าที่ของผู้แต่ง
- บทความที่ส่งมายังวารสาร จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรือเผยแพร่ที่ใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาในวารสารอื่น
- ผู้แต่งต้องไม่บิดเบือนข้อมูล ปลอมแปลง หรือให้ข้อมูลเท็จในการศึกษาวิจัย
- ผู้แต่งไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่น และต้องอ้างอิงผลงานของผู้อื่นทุกครั้ง เมื่อนำผลงานเหล่านั้นมาใช้ในผลงานของตนเอง
- ผู้แต่งจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของวารสาร และเขียนบทความตามรูปแบบที่กำหนดไว้ใน “คำแนะนำผู้แต่ง”
- ผู้แต่งจะต้องปฏิบัติตามหลักจริยธรรม จรรยาบรรณ และธรรมาภิบาลการวิจัยอย่างถูกต้อง และ/หรือผ่านกระบวนการพิจารณาด้านจริยธรรมจากหน่วยงาน/สถาบัน
- ชื่อผู้แต่งที่ปรากฏในบทความ จะต้องมีส่วนในการดำเนินการวิจัยจริง
- ผู้แต่งจะต้องแนบหนังสือรับรองที่ได้รับอนุญาตให้ทำการวิจัยในมนุษย์จากคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ และระบุหมายเลขหรือรหัสการรับรองลงในบทความ
บทบาทหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ
- ผู้ประเมินบทความต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของบทความให้กับบุคคลอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง และต้องรักษาความลับของบทความที่วารสารส่งให้พิจารณา
- ผู้ประเมินบทความต้องประเมินบทความในสาขาวิชาที่ตนเชี่ยวชาญ และมีความรู้ความเข้าใจในบทความที่รับพิจารณาอย่างแท้จริง
- ผู้ประเมินบทความต้องให้ความสำคัญต่อคุณภาพของบทความตามหลักวิชาการ และไม่ใช้ความคิดเห็นส่วนตัวที่ไม่มีข้อมูลรองรับมาตัดสินบทความ
- ผู้ประเมินบทความต้องไม่นำบทความที่รับการพิจารณาไปเป็นผลงานทางวิชาการของตนเอง และไม่นำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์หรือธุรกิจ
- ผู้ประเมินบทความต้องพิจารณาบทความตามระยะเวลาที่วารสารกำหนด
- หากผู้ประเมิน ตระหนักว่า ตนเองอาจมีผลประโยชน์ทับซ้อนในการพิจารณาบทความ เช่น เป็นผู้ร่วมโครงการกับผู้แต่ง หรือรู้จักผู้แต่งเป็นการส่วนตัว เป็นต้น ผู้ประเมินต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบ และปฏิเสธการประเมินบทความนั้น ๆ หากตอบรับการประเมินบทความนั้น ๆ ต้องแจ้งเหตุผลให้กับบรรณาธิการทราบ
- หากผู้ประเมินบทความตรวจพบการคัดลอกบทความ ผู้ประเมินบทความต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบทันทีเพื่อดำเนินการต่อไป