การพัฒนารูปแบบการส่งต่อการดูแลในการจัดการความปวดในผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายต่อความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพ

ผู้แต่ง

  • สิริกานดา กอแก้ว กลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล โรงพยาบาลมะเร็งลพบุรี
  • รัตนพร วังคะฮาด กลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล โรงพยาบาลมะเร็งลพบุรี
  • ปุญญพัฒน์ มีปิ่น กลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล โรงพยาบาลมะเร็งลพบุรี
  • ยุพา ศรัณยูเศรษฐ์ กลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล โรงพยาบาลมะเร็งลพบุรี
  • ปานตา อภิรักษ์นภานนท์ คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยเซนต์หลุยส์

คำสำคัญ:

แบบการส่งต่อการดูแลในการจัดการความปวดในผู้ป่วยมะเร็งระยะท้าย

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนหลังมีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการส่งต่อการดูแลในการจัดการความปวดในผู้ป่วยมะเร็งระยะท้าย2) เพื่อเปรียบเทียบการจัดการอาการความปวดในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม 3) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพต่อรูปแบบการส่งต่อการดูแลในการจัดการความปวดในผู้ป่วยมะเร็งระยะท้าย กลุ่มตัวอย่าง มี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มพยาบาลวิชาชีพที่ใช้รูปแบบการส่งต่อเพื่อการจัดการความปวดจำนวน 44 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 22 คน และกลุ่มควบคุม 22 คน และกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายที่เข้ารับการรักษาประเภทผู้ป่วยในในโรงพยาบาลมะเร็งลพบุรีและส่งต่อการดูแลเพื่อการจัดการอาการ เกณฑ์การคัดเข้า คือผู้ป่วยที่มีระดับ PPS ≤ 50% และแพทย์วางแผนจำหน่ายเพื่อกลับไปดูแลต่อเนื่องที่บ้าน จำนวน 48 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 24 คน และกลุ่มควบคุม 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ รูปแบบการส่งต่อการดูแลในการจัดการความปวดในผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น และเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล มี 2 ชุด คือ 1) แบบประเมินความปวด และ2) แบบประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบการส่งต่อการดูแลเพื่อการจัดการความปวด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Mann-Whitney U-test ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้ป่วยกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของคะแนนความปวดลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) พยาบาลวิชาชีพกลุ่มทดลอง มีระดับความพึงพอใจต่อรูปแบบการส่งต่อการดูแลในการจัดการความปวดในผู้ป่วยมะเร็งระยะท้าย มากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05

References

ชยาวรักษ์ สัจจวาณิชย์, และ ศิวพล ศรีแก้ว. (2560). การพัฒนาแบบบันทึกการส่งต่อผู้ป่วยหลังได้รับยาระงับความรู้สึกในผู้ป่วยวิกฤตที่ใส่ท่อช่วยหายใจ. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ฉบับการประชุม วิชาการครบรอบ 25 ปี, นครพนม: มหาวิทยาลัยนครพนม.

ชุติมา เทียนทอง, ศรีเวียง ไพโรจน์กุล, และปาริชาติ เพียสุพรรณ์. (2564). การกลับมารักษาซ้ำในโรงพยาบาลของผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง ศูนย์การุณรักษ์โรงพยาบาลศรีนครินทร์. ศรีนครินทร์เวชสาร, 36(4), 469-473.

นิอร สิริมงคลเลิศกุล, ฐานุตร์ ถมังรักษ์สัตว์, พบสุข ตัณสุหัช, วิทยศักดิ์ รุจิวรกุล, ชมพูนุท สิงห์มณี, สายพิน กัญชาญพิเศษ, และจรวยพร ใจสิทธิ์. (2565). การพัฒนาระบบส่งต่อผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองผ่านระบบมือถืออัจฉริยะ (Stroke Man). เวชสารแพทย์ทหารบก, 75(1), 39-49.

ภูษิต ประคองสาย. (2559). การสาธารณสุขไทย 2554-2558. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

รัตนาภรณ์ รักชาติ, สุภาภรณ์ อุดมลักษณ์, กัญญา ศรีอรุณ, ปานจิตร์ วงศ์ใหญ่, และภัทรนัย ไชยพรม. (2565). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งแบบประคับประคองและระยะท้ายโดยการมีส่วนร่วมของเครือข่ายชุมชนต้นแบบหมู่บ้านปลอดมะเร็ง จังหวัดลำปาง. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ สสอท, 4(2), 1-19

ศรีเวียง ไพโรจน์กุล และปาริชาติ เพียสุพรรณ์. (2561). แนวทางการดำเนินงานศูนย์ดูแลประคับประคองในโรงพยาบาล Operational Guidelines for Hospital Palliative Care Program. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.

Hasson, F., Nicholson, E., Muldrew, D., Bamidele, O., Payne, S., & McIlfatrick, S. (2020). International palliative care research priorities: a systematic review. BMC palliative care, 19(1), 1-16.

World Health Organization. (2014).definition of palliative care. Retrieved from https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/palliative-care

Hospice Eligibility. (2021). Hopice Eligibility. Retrieved from https://www.alivehospice.org/wp-content/uploads/2021/06/HospiceEligibility-2021.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-29

How to Cite

กอแก้ว ส., วังคะฮาด ร., มีปิ่น ป., ศรัณยูเศรษฐ์ ย., & อภิรักษ์นภานนท์ ป. (2023). การพัฒนารูปแบบการส่งต่อการดูแลในการจัดการความปวดในผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายต่อความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพ. วารสารสุขภาพกับการจัดการสุขภาพ, 9(1), 111–122. สืบค้น จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/slc/article/view/258774