ปัจจัยทำนายพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของนักศึกษาปริญญาตรี ในสถานการณ์การระบาดโควิด 19 กรณีศึกษาในมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง

ผู้แต่ง

  • นภัสวรรณ นามบุญศรี ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ขวัญใจ อำนาจสัตย์ซื่อ ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สุนีย์ ละกำปั่น ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พัชราพร เกิดมงคล ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ, นักศึกษาปริญญาตรี, โควิด-19, มหาวิทยาลัยเอกชน

บทคัดย่อ

สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนและยังมีข้อมูลจำกัดเกี่ยวกับการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิตในกลุ่มนักศึกษาปริญญาตรีในช่วงสถานการณ์การระบาดโควิด-19 การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ และปัจจัยทำนายของนักศึกษาปริญญาตรีในสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ในมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง ในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างจำนวน 200 คน ประกอบด้วยนักศึกษาปริญญาตรีจากคณะพยาบาลศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และคณะดนตรี เข้าร่วมการวิจัยโดยการสำรวจแบบออนไลน์ ระหว่างเดือน ธันวาคม 2564 ถึง กุมภาพันธ์ 2565 ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพในระดับปานกลางคิดเป็นร้อยละ 68.0 โดยมีค่าเฉลี่ยพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพด้านความรับผิดชอบต่อสุขภาพมากที่สุด เมื่อใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันพบว่าการรับรู้ประโยชน์ (r = .588, p < .01) การรับรู้ความสามารถของตนเอง (r = .545, p < .01) อิทธิพลระหว่างบุคคล (r = .540, < .05) การรับรู้อุปสรรค (r = .292, p < .01) และ เกรดเฉลี่ย (r = .164, p < .05) มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ในขณะที่ภาวะเครียด (r = -.279, p < .01) และการรับรู้ภาวะสุขภาพ (r = -.342, p < .01) มีความสัมพันธ์เชิงลบกับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ เมื่อวิเคราะห์ด้วยการถดถอยเชิงพหุคูณแบบขั้นตอนพบว่า การรับรู้ประโยชน์ อิทธิพลระหว่างบุคคลการรับรู้ความสามารถของตนเอง นักศึกษาชั้นปีที่ 3 การมีประวัติสัมผัสใกล้ชิดผู้ติดเชื้อโควิด-19และการรับรู้ภาวะสุขภาพ สามารถร่วมกันอธิบายพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของนักศึกษาปริญญาตรีในสถานการณ์การระบาดโควิด-19 ได้ร้อยละ 52.9 ผลการศึกษานี้สามารถนำไปส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพและออกแบบบริการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี โดยเฉพาะในนักศึกษาชั้นปีที่ 3ทั้งยังสามารถนำไปพัฒนาคลินิกสุขภาพจิต หรือโปรแกรมสายด่วนเพื่อดูแลนักศึกษาที่มีภาวะเครียดและต้องการความช่วยเหลือในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19

References

Alzahrani, S. H., Malik, A. A., Bashawri, J., Shaheen, S. A., Shaheen, M. M., Alsaib, A. A., ... & Abdulwassi, H. K. (2019). Health-promoting lifestyle profile and associated factors among medical students in a Saudi university. SAGE open medicine, 7, 1-7.

Department of disease control. (2021). Coronavirus-19 resilience, prevention, and control guildline. Retrieved from https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1150920210610033910.pdf

Hwang, Y., & Oh, J. (2020). Factors affecting health-promoting behaviors among nursing students. International Journal of Environmental Research and Public Health, 17(17), 1–13.

Kanjanapiboonwong, A., Kamwangsanga, P., & Keawta, S. (2020). NCDs report, diabetes mellitus, hypertension and related factors 2020. Retrieved from http://www.thaincd.com/2016/media-detail.php?id=13865&tid=&gid=1-015-005

Kaparounaki, C. K., Patsali, M. E., Mousa, D. P. V., Papadopoulou, E. V., Papadopoulou, K. K., & Fountoulakis, K. N. (2020). University students’ mental health amidst the COVID-19 quarantine in Greece. Psychiatry research, 290,(2019), 113111.

Laothamatas, A. (2021). Measures and Monitoring of COVID-19 spreading (No.18). Retrieved from https://www.mhesi.go.th/images/Pusit2021/pdfs/18-AnnCovid.pdf

Rakpanusit, T., Jeenmueng, N., & Khoyneung, N. (2018). Factors Related to Health Promoting Behavior among Undergraduate University Students, Prince of Songkla University, Pattani Campus. Academic Services Journal, Prince of Songkla University, 29(3), 170-178.

Di Renzo, L., Gualtieri, P., Pivari, F., Soldati, L., Attinà, A., Cinelli, G., ... & De Lorenzo, A. (2020). Eating habits and lifestyle changes during COVID-19 lockdown: an Italian survey. Journal of translational medicine, 18(1), 1-15.

Sabooteh, S., Feizi, A., Shekarchizadeh, P., Shahnazi, H., & Mostafavi, F. (2020). Effect of web-based and software-based educational intervention on stages of behavior change of students' physical activity. Journal of Education and Health Promotion, 9. doi: 10.4103/jehp.jehp_645_19

Sanasuttipun, W., & Nookong, A. (2015). Predictive Factors for Teenagers’ Exercise and Activity Behaviour. Thai Journal of Nursing Council, 30(2), 46-59.

Saravirote, A., & Janyam, K. (2014). Factors influencing health promotion behavior of undergraduate students at Prince of Songkla University, Hat Yai Campus. Kasetsart Journal of Social Sciences, 35(2), 223-234.

Silpakit, O. (2008). Srithanya Stress Scale. Journal of Mental Health of Thailand., 16(3). 177-185.

Subramanian, S. V., Huijts, T., & Avendano, M. (2010). Self-reported health assessments in the 2002 World Health Survey: how do they correlate with education?. Bulletin of the world health organization, 88(2), 131-138.

Suksatan, W., Choompunuch, B., Koontalay, A., Posai, V., & Abusafia, A. H. (2021). Predictors of health behaviors among undergraduate students during the COVID-19 pandemic: a cross-sectional predictive study. Journal of multidisciplinary healthcare, 14(2021),727-734.

Provisions in accordance with Article 9 of the Royal Decree on the Administration of Government in Emergency Situations B.E. 2548 (Vol. 20). (2021, April 16). Government Gazette. Pt. 138a Gnor, (Special Issue), p. 25-28

Walker, S. N., Sechrist, K. R., & Pender, N. J. (1995). Health Promotion Model - Instruments to Measure Health Promoting Lifestyle : Health-Promoting Lifestyle Profile [HPLP II] (Adult Version). Retrieved from https://deepblue.lib.umich.edu/handle/2027.42/85349

World Health Organization. (2020). Noncommunicable disease. Retrieved from https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/noncommunicable-diseases

World Health Organization. (2021). Working for a brighter, healthier future How WHO improves health and promotes well-being for the world’s adolescents. Retrieved from https://www.who.int/publications/i/item/9789240041363

Yongstar, S. (2020). Coronavirus: When teaching must continue Is online classroom the answer? Retrieved from https://www.bbc.com/thai/thailand-51975231

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-29

How to Cite

นามบุญศรี น., อำนาจสัตย์ซื่อ ข., ละกำปั่น ส., & เกิดมงคล พ. (2023). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของนักศึกษาปริญญาตรี ในสถานการณ์การระบาดโควิด 19 กรณีศึกษาในมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง. วารสารสุขภาพกับการจัดการสุขภาพ, 9(1), 34–44. สืบค้น จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/slc/article/view/257842