ผลการปรึกษากลุ่มแบบเกสตัลท์ต่อการตระหนักรู้ในตนเองของสาวประเภทสอง
Keywords:
การปรึกษาแบบเกสตัลท์, การตระหนักรู้ในตนเอง, สาวประเภทสอง, Gestalt group counseling, self-awareness, male to female transgenderAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลการปรึกษากลุ่มแบบเกสตัลท์ต่อการตระหนักรู้ในตนเองของสาวประเภทสอง ตัวอย่าง คือ สาวประเภทสอง ผู้มีอาชีพด้านการแสดงไม่ได้แปลงเพศที่มีคะแนนการตระหนักรู้ในตนเองต่ำกว่า 91 คะแนนลงมา และสมัครใจเข้าร่วมการทดลองจำนวน 16 คน เลือกแบบเจาะจงเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 8 คน กลุ่มทดลองได้รับการปรึกษากลุ่มแบบเกสตัลท์ จำนวน 10 ครั้ง ครั้งละ 90 นาที ส่วนกลุ่มควบคุมใช้ชีวิตตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดการตระหนักรู้ในตนเอง และโปรแกรมการปรึกษากลุ่มแบบเกสตัลท์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น การรวบรวมข้อมูลแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะก่อนการทดลอง ระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผลวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ ทดสอบความแตกต่างรายคู่แบบบอนเฟอร์โรนี
ผลการวิจัยพบว่า มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการทดลองกับระยะเวลาของการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 กลุ่มทดลองมีคะแนนการตระหนักรู้ในตนเอง ในระยะหลังการทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ กลุ่มทดลองมีคะแนนการตระหนักรู้ในตนเองในระยะติดตามผลสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 กลุ่มทดลองมีคะแนนการตระหนักรู้ในตนเอง ในระยะหลังการทดลองสูงกว่าในระยะก่อนการทดลองอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ กลุ่มทดลองสูงมีคะแนนการตระหนักรู้ในตนเอง ในระยะติดตามผลสูงกว่าระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
THE EFFECTS OF GESTALT GROUP COUNSELING ON SELF-AWARENESS OF MALE TO FEMALE TRANSGENDER
Abstract
The purpose of this research was to study the effects of Gestalt group counseling on self-awareness of male to female transgender. The sample consisted of 16 actors’ male to female transgender who did not transsexual operation yet, had the self-awareness score lower than the ninety-one, volunteer and willing participate this research project. The samples were randomly assigned into the experiment group and the control group, with eight members in each. The experiment group received the Gestalt group counseling program. The intervention was administered to each group for 10 sessions. Each session was about 90 minutes. The control group received life regularly. The research instruments were the self-awareness questionnaire and the Gestalt group counseling program which were designed by the researcher. The data collecting procedure was divided into three phases: the pretest, the posttest, and the follow-up phase. The data were statically analyzed by utilizing a repeated measures analysis of variance and paired-different test by Bonferroni procedure.
The results revealed that the interaction between the method and the duration of the experiment at statistical significance level of .05. The experiment group demonstrated no significantly higher self-awareness score than the control group in the posttest phase. The experiment group demonstrated significantly higher self-awareness score than the control group in the follow-up phase significance level of .05. The experiment group had no significantly higher self-awareness score in the posttest phase than the pretest phase. The experiment group had significantly higher self- awareness score in the follow-up phase than the pretest phase significance level of .05.
Downloads
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
ผลงานที่ได้ตีพิมพ์แล้วจะเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลตำรวจ