การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของแบบวัดความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง จังหวัดนครศรีธรรมราช

Authors

  • เรวดี เพชรศิราสัณห์
  • กนกวรรณ ตันตระเสนีย์รัตน์

Keywords:

การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน, ความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเอง, นักศึกษาพยาบาล, confirmatory factor analysis, self-directed learning readiness, student nurses

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างโมเดลโครงสร้างองค์ประกอบความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาพยาบาลของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง จังหวัดนครศรีธรรมราช ตามสมมติฐานกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยมีกลุ่มประชากรจำนวน 246 คน โดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบวัดความพร้อมในการเรียนรู้จำนวน 1 ฉบับ มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ .93 และความเชื่อมั่นของแบบวัดทั้งฉบับ เท่ากับ .94 วิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น วิเคราะห์ความตรงเชิงโครงสร้างของโมเดลความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาพยาบาล ด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสองโดยใช้โปรแกรม LISREL 8.72 ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง พบว่า องค์ประกอบความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ มีความสำคัญเท่ากัน โดยมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ .98, .93, .89, .87, .86, .80, และ .75  ผลการตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลองค์ประกอบกับข้อมูลเชิงประจักษ์พบว่า ค่าสถิติไคสแควร์ (\chi 2) เท่ากับ 646.97 ที่องศาอิสระ 645 มีความน่าจะเป็นเท่ากับ .45 ค่าสถิติไคสแควร์ สัมพัทธ์ (\chi 2/df ) เท่ากับ 1.00 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ .89 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ .85 ค่าดัชนีวัดระดับ ความสอดคล้องกลมกลืนเปรียบเทียบ (CFI) เท่ากับ 1.00 ค่าดัชนีรากกำลังสองเฉลี่ยของเศษเหลือ (SRMR) เท่ากับ .05 และค่ารากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของความคลาดเคลื่อนโดยประมาณ (RMSEA) เท่ากับ .00 แสดงว่าโมเดลองค์ประกอบความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาพยาบาลตามสมมติฐานไม่สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ผลการวิจัยนี้ ควรพิจารณาการใช้แบบวัดความพร้อมในการเรียนรู้ที่มีคุณภาพของแบบวัดที่เหมาะสมเพื่อส่งเสริมและสร้างบรรยากาศในการเรียนการสอนให้นักศึกษาพยาบาลมีความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองที่ดี

 

 

A CONFIRMATORY FACTOR ANALYSIS OF SELF-DIRECTED LEARNING READINESS SCALE AMONG NURSING STUDENTS AT A UNIVERSITY IN NAKHON SI THAMMARAT

 

Abstract

            The study aimed to validate the consistency of the nursing students’ self-directed learning readiness model and empirical data. A purposive selection was used to recruit 246 students at a university in Nakhon Si Thammarat. The research instrument was a self-directed Learning Readiness questionnaire, based on the Guglielmino’s concept (1977) with a content validity of 0.93 and a reliability of 0.94. Descriptive statistics was based on SPSS. While the second-order confirmatory factor analysis was grounded in LISREL 8.72.

            The results disclosed the confirmatory factor analyses of self-directed learning readiness model consists 8 factors. The factor loadings ranking from the highest to the lowest were .98, .93, .89, .87, .86, .80, and .75. The validation of a goodness of fitted model yielded a Chi-square of 646.97, p = .45 at a degrees of freedom of 645, \chi 2/df =1.00, GFI = .89, AGFI = .85, CFI=1.00, SRMR = .05, and RMSEA = .00. The variables in the self-directed learning readiness model did not conform to the empirical data.

            The results recommended that a nursing educator should consider and select the validated scale in measuring and promoting student nurses’ self-directed learning readiness.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2016-12-31

How to Cite

เพชรศิราสัณห์ เ., & ตันตระเสนีย์รัตน์ ก. (2016). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของแบบวัดความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง จังหวัดนครศรีธรรมราช. JOURNAL OF THE POLICE NURSES AND HEALTH SCIENCE, 8(2), 182–191. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/policenurse/article/view/74001

Issue

Section

Research Articles