ผลการปรึกษากลุ่มเกสตัลท์ต่อการยับยั้งชั่งใจของเยาวชนที่กระทำผิดซ้ำ
Keywords:
การปรึกษากลุ่มเกสตัลท์, การยับยั้งชั่งใจ, เยาวชนที่กระทำผิดซ้ำ, Gestalt group consulting, delaying gratification, juvenile recidivistsAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีเกสตัลท์ต่อการยับยั้งชั่งใจของเยาวชนที่กระทำผิดซ้ำ ตัวอย่างเป็นเยาวชนในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนที่มีประวัติกระทำผิดซ้ำ จำนวน 14 คน โดยคัดเลือกจากผู้มีคะแนนการยับยั้งชั่งใจต่ำสุดขึ้นไปเพื่อสุ่มอย่างง่ายเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบวัดการยับยั้งชั่งใจของฮูเกอร์ซึ่งได้ค่าความเชื่อมั่น .91 และโปรแกรมการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีเกสตัลท์ที่ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลสัปดาห์ละ 2 ครั้ง รวมทั้งสิ้น 12 ครั้ง เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ โดยแบ่งการเก็บข้อมูลเป็น 3 ระยะ คือ ระยะก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และติดตามผล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำประเภทหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่ม หนึ่งตัวแปรภายในกลุ่ม และทดสอบความแตกต่างรายคู่แบบบอนเฟอร์โรนี
ผลการวิจัย พบว่า 1) มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการทดลองกับระยะเวลาการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการยับยั้งชั่งใจสูงกว่ากลุ่มควบคุมทั้งในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการยับยั้งชั่งใจ ในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
THE EFFECTS OF GESTALT GROUP COUNSELING ON DELAYING GRATIFICATION OF JUVENILE RECIDIVISTS
Abstract
The purpose of this research was to study the effects of Gestalt group counseling on delaying gratification of juvenile recidivists. The samples were 14 youths from the juvenile training center and youth who intend to recidivism, who received the lowest to above on Delaying Gratification Score. They were randomly divided into 2 groups equally; the experimental and control group. The two instruments used in this research were the Delaying Gratification Inventory by Michael Hoerger with confidence .88 and group counseling program based on Gestalt theory that were reviewed by the experts. Data was collected 12 sessions in the total (2 times a week for 6 weeks). The data collection procedure was divided into three phases: pre-test, post-test and follow-up. Data were analyzed by repeated measures analysis of variance: one between-subject, and comparison with the procedure of Bonferroni.
The results showed that 1) There was an interaction between the experimental method and duration of the experiment at statistical significance level of .05 2) The experiment group received higher at .05 levels on Delaying Gratification Score in the post-test group received higher at .05 levels and follow-up than the control group. 3) The experiment on Delaying Gratification Score in the post-test and follow-up than the pretest.
Downloads
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
ผลงานที่ได้ตีพิมพ์แล้วจะเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลตำรวจ