ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ การรับรู้ประโยชน์ ภาวะซึมเศร้า การสนับสนุนทางสังคม และการป้องกันการกลับเป็นซ้ำของโรคในผู้ที่รอดชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอง

Authors

  • จิราวรรณ วิริยะกิจไพบูลย์
  • ชนกพร จิตปัญญา

Keywords:

การกลับเป็นซ้ำ, ปัจจัยเสี่ยง, ภาวะซึมเศร้า, การสนับสนุนทางสังคม, ผู้ที่รอดชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอง, secondary stroke prevention, risk factors, depression, social support, stroke survivor

Abstract

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ด้านปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง การรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันการกลับเป็นซ้ำของโรคหลอดเลือดสมอง ภาวะซึมเศร้า การสนับสนุนทางสังคม และการป้องกันการกลับเป็นซ้ำของโรคหลอดเลือดสมองในผู้ที่รอดชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอง ตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือดที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลร้อยเอ็ดและโรงพยาบาลมหาสารคาม จำนวน 159 คน เลือกตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความรู้ด้านปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง แบบสอบถามการรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันการกลับเป็นซ้ำของโรคหลอดเลือดสมอง แบบสอบถามภาวะซึมเศร้า แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม และแบบสอบถามการป้องกันการกลับเป็นซ้ำของโรคหลอดเลือดสมองที่ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิและหาความเที่ยงจากแบบประเมินได้เท่ากับ .73, .72, .89, .95, และ .86 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

             ผลการวิจัยพบว่า การป้องกันการกลับเป็นซ้ำของโรคหลอดเลือดสมองในผู้ที่รอดชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองอยู่ในระดับมาก (\bar{x}=57.11, S.D.=11.58) ความรู้ด้านปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง การรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันการกลับเป็นซ้ำของโรคหลอดเลือดสมอง การสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการป้องกันการกลับเป็นซ้ำของโรคหลอดเลือดสมองอย่างมีนัยสำคัญที่ p <.01 (r=.274, r=.539, และ r=.506 ตามลำดับ) ส่วนภาวะซึมเศร้ามีความสัมพันธ์ทางลบกับการป้องกันการกลับเป็นซ้ำของโรคหลอดเลือดสมองอย่างมีนัยสำคัญที่ p < .01 (r=-.368)

 

 

RELATIONSHIPS AMONG KNOWLEDGE, PERCEIVED BENEFIT, DEPRESSION, SOCIAL SUPPORT AND SECONDARY STROKE PREVENTION IN STROKE SURVIVORS

 

 

Abstract

            This research aimed to investigate relationships among knowledge about stroke risk factors, perceived benefits, depression, social support, and secondary stroke prevention behaviors in stroke survivors. One hundred and fifty nine ischemic stroke patients were recruited using a multistage sampling technique from the outpatient department at Roi-et Hospital and Mahasarakham Hospital. The instruments used for data collection consisted of demographic data form, knowledge about stroke risk factor questionnaire, perceived benefit questionnaire, depression questionnaire, social support questionnaire and a secondary stroke prevention questionnaire. The content validity of all questionnaires was tested by a panel of experts. Internal consistency reliability coefficients calculating by Cronbach’s alpha were .73, .72, .89, .95, and .86, respectively. Data were analyzed using means, standard deviation, and Pearson’s product moment correlation.

            The results revealed that stroke survivors had a high level of secondary stroke prevention behaviors (\bar{x}=57.11, S.D.=11.58). Knowledge about stroke risk factors, perceived benefits and social support have positively correlated with secondary stroke prevention in stroke survivors significantly (r=.274, r=.539, and r=.506, respectively, p < .01). On the other hand, depression was negatively correlated with secondary stroke prevention (r=-.368, p < .01).

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2016-12-31

How to Cite

วิริยะกิจไพบูลย์ จ., & จิตปัญญา ช. (2016). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ การรับรู้ประโยชน์ ภาวะซึมเศร้า การสนับสนุนทางสังคม และการป้องกันการกลับเป็นซ้ำของโรคในผู้ที่รอดชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอง. JOURNAL OF THE POLICE NURSES, 8(2), 34–44. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/policenurse/article/view/73986

Issue

Section

Research Articles