ความสัมพันธ์ระหว่างอาการหายใจลำบาก อาการนอนไม่หลับ และภาวะซึมเศร้ากับความเหนื่อยล้าในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง

Authors

  • นงลักษณ์ กลิ่นพุดตาล การพยาบาลพื้นฐานและการศึกษาทั่วไป คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี 38 หมู่ 8 ถ.หาดเจ้าสำราญ ต.นาวุ้ง อ.เมือง จ. เพชรบุรี 76000 Email : jeab410@gmail.com Tel : 032-493300 ต่อ 2222 Fax. 032-405558
  • ชนกพร จิตปัญญา คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ปชาณัฎฐ์ ตันติโกสุม คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

อาการหายใจลำบาก, อาการนอนไม่หลับ, ภาวะซึมเศร้า, ความเหนื่อยล้า, ภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง, dyspnea, insomnia, depression, fatigue, chronic heart failure

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอาการหายใจลำบาก อาการนอนไม่หลับ และภาวะซึมเศร้ากับความเหนื่อยล้าของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง ตัวอย่างคือ ผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ทุกระยะการดำเนินโรคที่เข้ามารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลตำรวจ และโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ จำนวน 154 คน ที่ได้รับการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความเหนื่อยล้า แบบประเมินอาการหายใจลำบาก แบบประเมินอาการนอนไม่หลับและแบบประเมินภาวะซึมเศร้า ซึ่งแบบประเมินได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน และคำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคได้เท่ากับ .86, .93, .90, และ .92 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

            ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวมีความเหนื่อยล้าอยู่ในระดับปานกลาง (\bar{x}=4.91, S.D.=2.08) อาการหายใจลำบาก อาการนอนไม่หลับ และภาวะซึมเศร้ามีความสัมพันธ์ทางบวกกับความเหนื่อยล้าของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r=.732, .500, และ .391 ตามลำดับ)

 

 

RELATIONSHIPS AMONG DYSPNEA, INSOMNIA, AND DEPRESSION

AND FATIGUE IN PATIENTS WITH CHRONIC HEART FAILURE

 

 

Abstract

            The purpose of this descriptive research was to examine the relationship among dyspnea, insomnia, depression, and fatigue in patients with chronic heart failure. The sample consisted of patients with heart failure diagnosed by the physicians in all stages of the disease who come for treatment in the outpatient department at the Police general hospital and Thammasat university hospital, including 154 patients and selected by purposive sampling. The instruments consist of a demographic data form, the Pipers fatigue scale, a dyspnea questionnaire, an insomnia severity index, and depression questionnaire. The questionnaires were validated for content validity by five experts. Internal consistency reliability determined by Cronbach's alpha was .86, .93, .90, and .92, respectively. Statistical analyses were performed using mean, standard deviation, and Pearson Product Moment Correlation Coefficient.

            The results found that patients with heart failure had a moderate degree of fatigue (\bar{x} =4.91, S.D.=2.08).  Dyspnea, insomnia, and depression were positively correlated with fatigue in patients with chronic heart failure with a statistically significant difference, p < .05 (r = .732, .500, and .391, respectively).

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2016-12-01

How to Cite

กลิ่นพุดตาล น., จิตปัญญา ช., & ตันติโกสุม ป. (2016). ความสัมพันธ์ระหว่างอาการหายใจลำบาก อาการนอนไม่หลับ และภาวะซึมเศร้ากับความเหนื่อยล้าในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง. JOURNAL OF THE POLICE NURSES AND HEALTH SCIENCE, 8(2), 1–12. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/policenurse/article/view/72048

Issue

Section

Research Articles