ผลของโปรแกรมการนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้าร่วมกับการกำหนดลมหายใจต่อระดับความปวดของผู้ป่วยหลังผ่าตัดช่องท้อง

Authors

  • สราวุฒิ สีถาน Boromarajonani College of Nursing Phra-phutthabat.

Keywords:

ความปวด, การนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้า, การกำหนดลมหายใจ, ผู้ป่วยหลังผ่าตัดช่องท้อง, pain, foot reflexology massage, breathing exercise, postoperative abdominal surgery patients

Abstract

                การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของความปวดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดช่องท้องที่ได้รับโปรแกรมการนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้าร่วมกับการกำหนดลมหายใจกับผู้ป่วยที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มทดสอบก่อนและหลัง ประกอบด้วยกลุ่มทดลอง จำนวน  30  คน  และกลุ่มควบคุม  จำนวน 30  คน โดยตัวอย่างคือผู้ป่วยหลังผ่าตัดช่องท้องที่ได้รับยาระงับความรู้สึกแบบทั้งตัวในโรงพยาบาลระดับทั่วไป ในเขตจังหวัดลพบุรี  กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการนวดกดจุดร่วมกับการกำหนดลมหายใจเป็นระยะเวลา  15  นาที วันละครั้ง  จำนวน  3  วัน  ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ  เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล  ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล  และแบบประเมินอาการปวดชนิดมาตรวัดความปวด  (numerical scale)  วิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้สถิติที  (independent t-test)

               ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มทดลอง  มีค่าเฉลี่ยของความปวดภายหลังได้รับโปรแกรมการนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้า ร่วมกับการกำหนดลมหายใจ  เท่ากับ  3.72  (S.D.=.64)  และกลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ยของความปวดภายหลังการผ่าตัด และได้รับการพยาบาลตามปกติ  เท่ากับ  7.63  (S.D.=.93)  แสดงให้เห็นว่า  ผู้ป่วยหลังได้รับโปรแกรมการนวดกดจุดร่วมกับการกำหนดลมหายใจ  กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความปวดน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  (p <  .001)  ผลจากการศึกษาดังกล่าว พยาบาลประจำหอผู้ป่วยสามารถนำโปรแกรมการนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้าร่วมกับการกำหนดลมหายใจไปใช้ในการพยาบาลเพื่อลดอาการปวดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดช่องท้อง

 

 

EFFECTS  OF  FOOT REFLEXOLOGY MASSAGE WITH BREATHING EXERCISE   ON  LEVELS  OF  PAIN IN POSTOPERATIVE ABDOMINAL SURGERY  PATIENTS 

 

Abstract

               The  purpose  of  this  study  was  to  compare  average  scores  of  pain  in  postoperative abdominal patients  who  received  foot  reflexology  massage  along  with  breathing  exercise  and patients  who received  traditional  treatments.  Two  group  pretest-posttest  quasi-experimental  design was  that including  an  experimental  group  (n=30)  and  control  group  (n=30).  Samples  were postoperative abdominal  surgery  patients  who  received  general  anesthesia  procedure  at  general hospitals  in Lopburi  province.  The  experimental  group  received  15-minutes  foot  reflexology  massage and breathing  exercise  once  a  day  for  three  times.  The  control  group  received  traditional  treatment. Instruments  for  data  collection  in  this  study  included  socio-demographic  questionnaire,  and numerical scale. Data  were  analyzed  by  using independent t-test procedure.  

                The  average  score  of  pain  of  the  postoperative  patients  in  an  experimental  group  after receiving  foot  reflexology massage  and  breathing exercise  program was  3.72  (S.D.=.64).  The  average score  of  pain  of  the  postoperative patients in  a  control  group after  received  traditional  treatment was 7.63  (S.D.=.93).  The  average  score  of  pain  of  patients in  an  experimental group  was  significantly lower than  the  average  score  of  pain  of  patients  in  a  control  group  at  level  of  .001.  From  the research findings,  clinic  nurses  can  use  foot  reflexology  massage  and  breathing  exercise  program  to release pain in postoperative patients.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2017-06-30

How to Cite

สีถาน ส. (2017). ผลของโปรแกรมการนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้าร่วมกับการกำหนดลมหายใจต่อระดับความปวดของผู้ป่วยหลังผ่าตัดช่องท้อง. JOURNAL OF THE POLICE NURSES, 9(1), 37–46. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/policenurse/article/view/71718

Issue

Section

Research Articles