การป้องกันภาวะสมองเสื่อม
Keywords:
ภาวะสมองเสื่อม, ปัจจัยเสี่ยง, การป้องกัน, Dementia, risk factors, preventionAbstract
ภาวะสมองเสื่อมเป็นโรคเรื้อรังที่พบมากในผู้สูงอายุ เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากความผิดปกติในการทำงานของสมองด้านความคิดและสติปัญญา ภาวะสมองเสื่อมมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของเซลล์ประสาทในสมองและความผิดปกติจากส่วนอื่นของร่างกายที่ส่งผลให้สมองทำหน้าที่ผิดปกติ ส่วนปัจจัยเสี่ยงของภาวะสมองเสื่อมมีทั้งปัจจัยเสี่ยงที่ปรับเปลี่ยนได้และปรับเปลี่ยนไม่ได้ ภาวะสมองเสื่อมมีอาการความจำเสื่อมเป็นอาการเด่น และมีอาการเปลี่ยนแปลงทางด้านพฤติกรรม บุคลิกภาพ และอารมณ์ โดยอาการจะรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ จากระยะเริ่มแรกมีเพียงความผิดพลาดในอาชีพ การงานและสังคมบ่อยขึ้นเรื่อย ๆ ระยะกลางจะเกิดความสูญเสียความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน และระยะสุดท้ายมีอาการรุนแรงมากจนไร้สมรรถภาพทุกอย่างและจำตัวเองไม่ได้ การคัดกรองภาวะสมองเสื่อมในระยะเริ่มแรกใช้แบบประเมินสมรรถภาพในเชิงปฏิบัติ และแบบทดสอบสภาพสมองเบื้องต้นฉบับภาษาไทย การป้องกันภาวะสมองเสื่อมต้องควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด รับประทานอาหารบำรุงสมอง หลีกเลี่ยงยา อาหาร หรือกิจกรรมที่เป็นอันตรายต่อสมอง ทำกิจกรรมสม่ำเสมอ เข้าสังคม ฝึกสติปัญญา และตรวจสุขภาพประจำปี และรักษาโรคประจำตัวอย่างสม่ำเสมอ
THE PREVENTION OF DEMENTIA
Abstract
Dementia is a chronic disease that is more common in the elderly. Symptoms are caused by abnormalities in brain function and cognitive intelligence. Dementia is induced by a disorder of the nerve cells in the brain and disorders from other parts of the body that result in brain dysfunction. The risk factors of dementia include the changeable and unchangeable factors. The dominant symptom of dementia is memory loss. Symptoms include the gradual growing worse of the behavior, personality and mood. The symptoms will gradually progress from the early stage, which is frequently error in work and social activity, to the middle stage, which loss of activity in daily living, and then to the last stage which disable in all activities and inability to recognize himself. The dementia questionnaire: The Activity of Daily Living Index, and the Thai version of Mini-Mental State Examination is used for screening for dementia in the initial stage. The preventive strategies of dementia consist of controlling the risk factors of cardiovascular disease, consuming foods to nourish the brain, avoiding drugs, beverages and activities that can harm the brain, doing regular physical activities, joining social activities, cognitive training, having an annual physical examination, and having medical treatment of underlying disease with doctors regularly.
Downloads
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
ผลงานที่ได้ตีพิมพ์แล้วจะเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลตำรวจ