การพัฒนารูปแบบการสอนแนะเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูพยาบาล

Authors

  • นงเยาว์ สมพิทยานุรักษ์ วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ Police Nursing College
  • ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ Faculty of Education Srinakarinwirot University
  • รจนา คลี่ฉายา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ Faculty of Education Srinakarinwirot University

Keywords:

รูปแบบการสอนแนะ, สมรรถนะของครูพยาบาล, สมรรถนะของนักศึกษา, coaching model, competencies of nursing teacher, competencies of nursing student

Abstract

            การวิจัยพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการสอน และศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูพยาบาลให้มีความสามารถในการพัฒนาสมรรถนะของนักศึกษาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา สาขาพยาบาลศาสตร์ พ.ศ. 2552 ตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ ครูพยาบาล จำนวน 10 คน และนักศึกษาพยาบาลตำรวจชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 30 คน ในวิชาปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่ 1 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) รูปแบบการสอนแนะ ที่ผู้วิจัยได้สังเคราะห์ขึ้น รูปแบบการสอนแนะมีคุณภาพ โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 1 2) แผนการสอนแนะวิชาปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่ 1 3) แบบวัดสมรรถนะของครูพยาบาล 4) แบบสังเกตการสอนแนะ 5) แบบประเมินแผนการสอนแนะ 6) แบบวัดสมรรถนะของนักศึกษาพยาบาล และ 7) แบบวัดความพึงพอใจของนักศึกษาต่อรูปแบบการสอนแนะ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Wilcoxon Sign Ranks test และสถิติที (dependent t-test) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา

            ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

            1. การพัฒนารูปแบบการสอนแนะ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน 1) การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น 2) การออกแบบและการพัฒนารูปแบบการสอนแนะ 3) การประเมินคุณภาพรูปแบบการสอนแนะ 4) การนำรูปแบบการสอนแนะไปใช้และการศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบ และ 5) การประเมินและการปรับปรุงรูปแบบการสอนแนะ.

            2. รูปแบบการสอนแนะ แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ 1) ระยะก่อนการสอนแนะ เป็นระยะการเตรียมความพร้อมของครูพยาบาลเกี่ยวกับการสอนแนะได้แก่ ความรู้ ทักษะและเจตคติที่ดีต่อการสอนแนะ การทำแผนการสอนแนะ 2) ระยะการสอน มี 6 ขั้นตอนได้แก่ การสร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน การตั้งเป้าหมายของการสอนแนะ การร่วมกันอภิปราย การวางแผนการเผชิญปัญหา การลงมือปฏิบัติ และการติดตามประเมินผล โดยใช้ 6 เทคนิคคือ การสะท้อนการคิด การแก้ปัญหาร่วมกัน การโต้ตอบซึ่งกันและกัน การฟังอย่างมีประสิทธิภาพ การยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล และการตั้งคำถามเจาะหาความคิด และ 3) ระยะหลังการสอนแนะ เป็นระยะการประเมินผลการสอนแนะ และการปรับปรุงการสอนแนะ

            3. สมรรถนะของครูพยาบาลภายหลังจากที่ได้รับการพัฒนาตามรูปแบบการสอนแนะสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 40.26) สมรรถนะของนักศึกษาพยาบาลตำรวจภายหลังจากที่ได้รับการสอนแนะจากครูพยาบาลที่ผ่านการพัฒนาสมรรถนะตามรูปแบบการสอนแนะสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 36.54) และความพึงพอใจของนักศึกษาพยาบาลตำรวจภายหลังจากที่ได้รับการสอนแนะจากครูพยาบาลมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (\bar{x} = 33.56, S.D. = 1.33)

 

 

THE DEVELOPMENT OF COACHING MODEL FOR INCREASING COMPETENCIES

IN NURSING TEACHER

 

Abstract

            The purposes of this research were 1) to develop the coaching model for increasing competencies in nursing teachers and 2) to study the effectiveness of the coaching model. The research and development procedures and mixed method were implemented. One group Pretest-Posttest Design and Equivalent Time-Sample design was employed. The purposive samples were 10 nursing teachers, 30 nursing students from Police Nursing College. The research instruments were 1) coaching model, 2) Coaching plan, 3) nursing teacher competency test, 4) observation coaching form, 5) coaching model questionnaire, 6) nursing student competency test, and 7) nursing student satisfaction test. Statistical analysis employed were mean, standard deviation, percentage, Wilcoxon Sign Rank Test, dependent t-test and content analysis.

            The research finding were

            1. The coaching model development consisted of 5 steps: 1) The analysis of fundamental data 2) the design and development of coaching model 3) the study of the qualities of the coaching model 4) The implementation of the coaching model and study the effectiveness 5) Evaluation and improvement of the model.

            2. The coaching model design and development was consisted of 3 components:

                2.1 Pre coaching: The coaching procedures could be divided into 6 steps: step1 Relationships, step 2 Defining the purpose of coaching, step 3 Discussion, step 4 Creating a Coaching plan, step 5 Actions, and step 6 Evaluation: there were 6 techniques including refection, problem solving, interaction, effective listening, accepting individual differences, and questioning.

                2.2 Coaching: The coaching skills were 6 skills: 1) reflection, 2) Problem Solving, 3) Feedback Analysis, 4) Attentive Listening, 5) Valuing Difference and 6) Asking Questions.

                2.3 Post coaching: Evaluation and Improvement Phase

            3. The consequence of coaching model implementation revealed that the model was effective. Nursing teacher competencies and nursing student competencies after implementation of the model were higher than before with statistically significant difference at the level of .05 and nursing student satisfaction was at the high level score.

 

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2016-06-30

How to Cite

สมพิทยานุรักษ์ น., สุเสารัจ ป., & คลี่ฉายา ร. (2016). การพัฒนารูปแบบการสอนแนะเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูพยาบาล. JOURNAL OF THE POLICE NURSES AND HEALTH SCIENCE, 8(1), 160–169. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/policenurse/article/view/65193

Issue

Section

Research Articles