ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ

Authors

  • เนาวนิจ พึ่งจันทรเดช วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ Police Nursing College
  • ประภาพรรณ เปลี่ยนแก้ว วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ Police Nursing College

Keywords:

การคิดอย่างมีวิจารณญาณ, นักศึกษาพยาบาล, critical thinking, nursing students

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (descriptive research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ และ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างการคิดอย่างมีวิจารณญาณ กับอายุ จำนวนปีที่ศึกษา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และการจัดการเรียนการสอน ประชากรคือ นักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ ชั้นปีที่ 1-4 หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ที่กำลังศึกษาในภาคการศึกษาฤดูร้อน ปีการศึกษา 2554 จำนวน 276 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามและแบบทดสอบ เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือน มีนาคม - เมษายน 2555 วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยคำนวณร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน

            ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาพยาบาลส่วนใหญ่มีความคิดแบบมีวิจารณญาณอยู่ในระดับปานกลาง (\bar{x} = 38.08, S.D. = 2.31) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า นักศึกษาพยาบาลมีความคิดแบบมีวิจารณญาณ ด้านการอนุมานสูงสุด (\bar{x} = 7.98, S.D. = 1.38) และพบว่า อายุและจำนวนปีที่ศึกษามีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับความคิดอย่างมีวิจารณญาณในด้านการประเมินข้อโต้แย้ง (p < .01) ส่วนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการจัดการเรียนการสอนไม่มีความสัมพันธ์กับการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (p > .01)

 

 

FACTORS RELATED TO NURSING STUDENTS' CRITICAL THINKING, POLICE NURSING COLLEGE


Abstract

            The objectives of this descriptive research were to study 1) the critical thinking of nursing students of Police Nursing College and 2) the relationships between critical thinking and age, numbers of educational year, grade point average and the instructional management suitability. The population was 276 nursing students of Police Nursing College in the 1st - 4th year of Nursing Bachelor Degree attending summer course of academic year 2011. The instruments were questionnaires and test. Data were collected in March to April, 2012 and analyzed by using percentage, mean, standard deviation, and Pearson’s product moment correlation.

            The research result showed that nursing students’ critical thinking scores were at a medium level (\bar{x} = 38.08, S.D. = 2.31). When considering in 5 dimensions, i.e. Inference, adoption of primary agreement, deduction, interpretation and argument evaluation, it was found that the inferential critical thinking was at the highest (\bar{x} = 7.98, S.D. = 1.38). Research was also found that age and numbers of educational year were significantly related to argument evaluation critical thinking (p < .01). Grade point average and the instructional management suitability were not significantly related to argument evaluation critical thinking (p > .01).


Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2016-06-30

How to Cite

พึ่งจันทรเดช เ., & เปลี่ยนแก้ว ป. (2016). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ. JOURNAL OF THE POLICE NURSES AND HEALTH SCIENCE, 8(1), 125–135. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/policenurse/article/view/65189

Issue

Section

Research Articles