วัฒนธรรม ความเชื่อ การปฏิบัติในการดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์ของสตรีชาวพม่าที่อาศัยในจังหวัดสมุทรสาคร

Authors

  • สกาวเดือน ไพบูลย์ คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยเซนหลุยส์ Faculty of Nursing, Saint Louis College
  • สุดารัตน์ สุวารี คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยเซนหลุยส์ Faculty of Nursing, Saint Louis College

Keywords:

วัฒนธรรม, ความเชื่อ, การปฏิบัติในการดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์, cultural, belief, self-care during pregnancy

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาวัฒนธรรม ความเชื่อ การปฏิบัติตนและปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นในการดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์ในสตรีชาวพม่าในจังหวัดสมุทรสาคร ผู้ให้ข้อมูลคือสตรีชาวพม่าที่ผ่านการตั้งครรภ์อาศัยในชุมชนเอื้ออาทร จำนวน 24 คน เลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลพื้นฐาน และแนวคำถามแบบกึ่งโครงสร้าง ก่อนการสัมภาษณ์ได้แจ้งการพิทักษ์สิทธิ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) และจัดกลุ่มข้อมูล (thematic analysis) และให้ผู้ทรงคุณวุฒิด้านพม่าศึกษา 3 ท่าน ตรวจสอบความถูกต้องเชิงเนื้อหาและวัฒนธรรม

          ผลการวิจัยพบว่า วัฒนธรรม ความเชื่อ การปฏิบัติตนในการดูแลตนเองของสตรีตั้งครรภ์ชาวพม่า จำแนกได้ 2 รูปแบบ คือ วัฒนธรรม ความเชื่อ การปฏิบัติแบบดั้งเดิมของชาวพม่า และเมื่อย้ายถิ่นมาอยู่ประเทศไทย วัฒนธรรม ความเชื่อ การปฏิบัติตนในการดูแลตนเองของสตรีตั้งครรภ์ชาวพม่าประกอบด้วย การช่วยเหลือเกื้อกูลในสังคม และการถ่ายทอดความรู้จากผู้อาวุโส กิจกรรมการปฏิบัติตนในการดูแลตนเอง ประกอบด้วย 1) กิจวัตรประจำวันในขณะตั้งครรภ์ ได้แก่ การบริโภคอาหาร การทำความสะอาดร่างกาย กิจกรรมที่สามารถทำได้ในขณะตั้งครรภ์ เช่น การทำงานบ้านและทำงานนอกบ้าน การออกกำลังกาย การมีเพศสัมพันธ์ การปฏิบัติตนที่ทำให้คลอดง่าย และพิธีกรรมทางศาสนา และ 2) การดูแลตนเองเมื่อมีภาวะไม่สุขสบาย ได้แก่ การเข้ารับบริการทางการแพทย์ การมีส่วนร่วมของครอบครัวในการดูแลสตรีตั้งครรภ์ การฝากครรภ์ และการเตรียมตัวคลอด ปัญหาสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์ ได้แก่ อาการไม่สุขสบายที่เกิดขึ้นบ่อย และการเข้าถึงบริการสุขภาพเมื่อเจ็บป่วย รวมถึงการรับรู้ความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์

 

 

CULTURE, BELIEFS, AND SELF-CARE PRACTICES

IN BURMESE PREGNANTS IN SAMUTSAKORN PROVINCE

 

Abstract

          The purpose of this qualitative research was to study the cultural, belief, self-care practice, and health-related problems in Burmese pregnant in Samutsakorn. Purposive selection was used for 24 Burmese women in Eua Arthorn Community, Samutsakorn who had the experiences of pregnancy. The instrument was semi-structured questionnaire, Indepth interview and focus group techniques were used for data collection. Content analysis and thematic analysis were used for qualitative data. The content and culture were reviewed by 3 Burmese experts.

          The results were as follows: There were 2 types of culture, belief, and self-care practices of Burmese pregnant. The first one was traditional and the second one was the culture, belief, and self-care practices after migration. The culture, belief, and self-care practices of Burmese pregnant consisted of social support and knowledge transferred from the elders. The activities of self-care practices of Burmese pregnant were 1) daily routines during the pregnancy, such as eating, self-cleaning, working, house chores, exercise, sex, help giving birth activities, and religious activities. 2) taking care of own-self during sickness such as going to see the doctor, family participation in taking care of the pregnancy, and prenatal care. Their health problems were the unwell feeling, the access to health service when having health problems, and the awareness of complications during pregnancy.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2016-06-30

How to Cite

ไพบูลย์ ส., & สุวารี ส. (2016). วัฒนธรรม ความเชื่อ การปฏิบัติในการดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์ของสตรีชาวพม่าที่อาศัยในจังหวัดสมุทรสาคร. JOURNAL OF THE POLICE NURSES, 8(1), 62–71. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/policenurse/article/view/65183

Issue

Section

Research Articles