ผลการปรึกษาครอบครัวทฤษฏีการเชื่อมโยงระหว่างรุ่นต่อการยอมรับของครอบครัววัยรุ่นหญิงครรภ์แรก

Authors

  • จีระภา ธาราสุข
  • เพ็ญนภา กุลนภาดล คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา Faculty of Education, Burapha University
  • วรากร ทรัพย์วิระปกรณ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา Faculty of Education, Burapha University

Keywords:

การยอมรับของครอบครัว, หญิงวัยรุ่นครรภ์แรก, การปรึกษาครอบครัวทฤษฏีการเชื่อมโยงระหว่างรุ่น, family acceptance, teenage primigravidarum, transgenerational family counseling theory

Abstract

           การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการปรึกษาครอบครัวทฤษฏีการเชื่อมโยงระหว่างรุ่นต่อการยอมรับของครอบครัววัยรุ่นหญิงครรภ์แรก ตัวอย่างในการศึกษาเป็นบิดา หรือมารดาและหญิงวัยรุ่นอายุ 13-19 ปี ที่กำลังตั้งครรภ์แรก ผู้วิจัยคัดเลือกครอบครัวที่มีคะแนนการยอมรับของครอบครัวน้อยที่สุดขึ้นไป 10 ครอบครัวมาเป็นตัวอย่าง สุ่มกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 5 ครอบครัว เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบวัดการยอมรับของครอบครัวต่อการตั้งครรภ์ของหญิงวัยรุ่น และโปรแกรมการให้การปรึกษาครอบครัวทฤษฏีการเชื่อมโยงระหว่างรุ่น ดำเนินการทดลองให้การปรึกษาจำนวน 8 ครั้ง ครั้งละ 60 นาทีโดยใช้แบบแผนการวิจัยเชิงทดลองแบบสองตัวประกอบ แบบวัดซ้ำหนึ่งตัวประกอบ ทดลอง 3 ระยะ คือ ระยะก่อนการทดลอง ระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำประเภทหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่ม และหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่ม และทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีบอนเฟอร์โรนี (Bonferroni procedure)

           ผลการศึกษาพบว่า มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการทดลอง กับระยะเวลาการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ครอบครัววัยรุ่นหญิงครรภ์แรกในกลุ่มทดลองมีการยอมรับของครอบครัวต่อการตั้งครรภ์ของหญิงวัยรุ่นแตกต่างจากกลุ่มควบคุมในระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และครอบครัววัยรุ่นหญิงครรภ์แรกในกลุ่มทดลองมีการยอมรับของครอบครัวต่อการตั้งครรภ์ของหญิงวัยรุ่นในระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผลแตกต่างจากระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

 

THE EFFECT OF TRANSGENERATIONAL FAMILY COUNSELING THEORY ON FAMILY ACCEPTANCE OF TEENAGE PRIMIGRAVIDARUM

 

 

Abstract

           This research aimed to study the effect of transgenerational family counseling on family acceptance of teenage primigravidarum. The samples of the study consist ten families of teenagers with primigravidarum age ranges 13 to 19 years, and their parents.  They had family acceptance score lowermost. The random sampling method was used to assign the sample into two groups: an experimental group and a control group, each group had five families. The instruments used in this research were the family acceptance questionnaire and the transgenerational Family Counseling Program. The intervention was administered for 8 sessions. Each session lasted about sixty minutes. The research design was two-factors, experimental with repeated measures on one factor. The study was divided into 3 phases: the pre-test, the post-test and the follow up. The data were analyzed by repeated measures analysis of variance: one between-subject variable, and within-subject variable and were tested for pair difference among the means by Bonferroni procedure.

           The results of this study revealed that there was a statistically significant interaction at .05 between the method and the duration of the experiment. The family acceptance of primigravidarum teenage pregnancy in the experimental and the control group were significantly different at .05 at the post-test and the follow up phases. The family acceptance on primigravidarum teenage pregnancy in the experimental group in the post-test and the follow up phases were significantly different at .05 from the pre-test phase.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2016-06-30

How to Cite

ธาราสุข จ., กุลนภาดล เ., & ทรัพย์วิระปกรณ์ ว. (2016). ผลการปรึกษาครอบครัวทฤษฏีการเชื่อมโยงระหว่างรุ่นต่อการยอมรับของครอบครัววัยรุ่นหญิงครรภ์แรก. JOURNAL OF THE POLICE NURSES, 8(1), 51–61. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/policenurse/article/view/65182

Issue

Section

Research Articles