ผลของการให้คำแนะนำในการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์อย่างมีแบบแผนของนักเรียนพยาบาลทหารอากาศ ชั้นปีที่ 3
Keywords:
ความพึงพอใจ, คำแนะนำการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์อย่างมีแบบแผน, satisfaction, information regarding self-care during pregnancyAbstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยในชั้นเรียน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความพึงพอใจของหญิงตั้งครรภ์ในการได้รับคำแนะนำการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์อย่างมีแบบแผนจากนักเรียนพยาบาลทหารอากาศ ชั้นปีที่ 3 และ 2) ความพึงพอใจของนักเรียนพยาบาลทหารอากาศ ชั้นปีที่ 3 ในการให้คำแนะนำการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์อย่างมีแบบแผนแก่หญิงตั้งครรภ์ ตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ ณ หน่วยฝากครรภ์ โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช พอ.จำนวน 120 คนและนักเรียนพยาบาลทหารอากาศ ชั้นปีที่ 3 จำนวน 49 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสอบถามความพึงพอใจของหญิงตั้งครรภ์ในการได้รับคำแนะนำการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์อย่างมีแบบแผนจากนักเรียนพยาบาลทหารอากาศ ชั้นปีที่ 3 และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนพยาบาลทหารอากาศ ชั้นปีที่ 3 ในการให้คำแนะนำการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์อย่างมีแบบแผนแก่หญิงตั้งครรภ์ ใช้ข้อคำถามเป็นมาตรส่วนประมาณค่า 5 ช่วง (rating scale) หาค่าความเชื่อมั่นโดยคำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .93 และ .95 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนความพึงพอใจของหญิงตั้งครรภ์ในการได้รับคำแนะนำการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์อย่างมีแบบแผนจากนักเรียนพยาบาลทหารอากาศ ชั้นปีที่ 3 อยู่ในระดับมาก ( = 4.23, S.D. = .51) 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนความพึงพอใจของนักเรียนพยาบาลทหารอากาศ ชั้นปีที่ 3 ในการให้คำแนะนำการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์อย่างมีแบบแผนแก่หญิงตั้งครรภ์อยู่ในระดับมาก ( = 4.44, S.D. = .31)
THE EFFECT OF SELF-CARE EDUCATION AMONG PREGNANT WOMEN BY THIRD YEAR AIR FORCE STUDENT NURSES
Abstract
The objectives of the study were 1) to evaluate the satisfactions of pregnant women toward receiving information regarding self-care during pregnancy by third year Air Force Student Nurses and 2) to evaluate the satisfactions of third year Air Force Student Nurses as an information provider to pregnant women. Samples of this study were 120 pregnant women who came to receive Antenatal Care (ANC) at Bhumibol Adulayadaj hospital and 49 third year Air Force Student Nurses who participated as an information provider. Research instruments were questionnaires with five rating scales. Cronbach’s alpha Coefficients were .93 and .95, respectively. Data were analyzed by percentage, arithmetic mean and standard deviation.
Research results were as follows: 1) Satisfaction of pregnant women toward receiving information regarding self-care during pregnancy by third year Air Force Student Nurses was at high level ( = 4.23, S.D. = .51). 2) Satisfaction of third year Air Force Student Nurses as an information provider for pregnant women was at high level ( = 4.44, S.D. = .31).
Downloads
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
ผลงานที่ได้ตีพิมพ์แล้วจะเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลตำรวจ