การศึกษาภาวะสมองเสื่อม ความรู้เรื่องโรคและการป้องกันโรคสมองเสื่อม และข้อมูลส่วนบุคคลของผู้สูงอายุ ชมรมผู้สูงอายุ วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ

Authors

  • วัลลภา อันดารา กองการศึกษา วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ Education department, Royal Thai Air Force Nursing College
  • อุบลรัตน์ สิงหเสนี กองการศึกษา วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ Education department, Royal Thai Air Force Nursing College
  • ปัทมา วงค์นิธิกุล กองการศึกษา วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ Education department, Royal Thai Air Force Nursing College

Keywords:

ภาวะสมองเสื่อม, ความรู้เรื่องโรคและการป้องกันโรคสมองเสื่อม, ข้อมูลส่วนบุคคล, ผู้สูงอายุ, dementia, knowledge and prevention of dementia, demographic data, the elderly

Abstract

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาภาวะสมองเสื่อม ความรู้เรื่องโรคและการป้องกันโรคสมองเสื่อม และข้อมูลส่วนบุคคลของผู้สูงอายุ ชมรมผู้สูงอายุวิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ ตัวอย่างได้แก่ ผู้สูงอายุชมรมผู้สูงอายุวิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปจำนวน 60 คน คัดเลือกด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความรู้เกี่ยวกับโรคและการป้องกันโรคสมองเสื่อมและแบบทดสอบสภาพสมองของไทย (TMSE) โดยมีค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือเท่ากับ .92 และ.81 ตามลำดับ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติขั้นพื้นฐานได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

  1. ผู้สูงอายุไม่มีภาวะสมองเสื่อมร้อยละ 83.33 มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อมร้อยละ 11.67 และมีภาวะสมองเสื่อมร้อยละ 5.00 ซึ่งเมื่อพิจารณาองค์ประกอบรายด้านทั้ง 6 ด้าน พบว่าตัวอย่างส่วนใหญ่มีความบกพร่องด้านการระลึกได้ (recall) มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 51.67
  2. ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีความรู้เรื่องโรคและการป้องกันโรคสมองเสื่อมอยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 86.67 มีความรู้เรื่องโรคสมองเสื่อมอยู่ในระดับน้อย คิดเป็นร้อยละ 10.00 และมีความรู้เรื่องโรคสมองเสื่อมอยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 3.33
  3. ข้อมูลส่วนบุคคล พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 60-69 ปี (ร้อยละ 45.00) เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 78.33) จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ร้อยละ 31.67) ไม่มีรายได้ และมีรายได้อยู่ระหว่าง 10,001-20,000 บาท (ร้อยละ 25.00) มีโรคประจำตัว (ร้อยละ 75.00) และโรคประจำตัวที่พบมากที่สุดคือ โรคความดันโลหิตสูง (ร้อยละ 48.89)

 

THE STUDY OF DEMENTIA, KNOWLEDGE AND PREVENTION OF DEMENTIA AND THE DEMOGRAPHIC DATA IN THE ELDERLY ASSOCIATION OF ROYAL THAI AIR FORCE NURSING COLLEGE

 

Abstract

           The purposes of this research were to study dementia, knowledge and prevention of dementia and demographic data in the elderly association of Royal Thai Air force Nursing College. The samples of this research were 60 elderly in Elderly Association from Royal Thai Air force Nursing College, selected by purposive random sampling. The research instruments were the demographic data questionnaires, Knowledge of dementia Test and Thai Mental State Examination. The reliability of the research instruments were .92 and .81, respectively. Data analysis was done by frequency, percentage.

           Major findings were as follows:

           1. 83.33% of the elderly had no dementia, 11.67% of the elderly had a high risk of dementia and 5.00% of the elderly had dementia. When each domain was considered, it was found 51.67 % of the elderly had lost of recall memory.

           2. 86.67% of the elderly had middle level knowledge and prevention of dementia, 10% of the elderly had low level knowledge of dementia and 3.33% of the elderly had high level knowledge of dementia.

           3. 45.00% of elderly is between 60-69 years, 73.33% were women, 31.67% graduated from junior high school, 25.00% did not have income and had an income between 10,001-20,000 baht, 75.00% of the elderly had underlying diseases and 48.89% of those underlying diseases was hypertension.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2016-06-30

How to Cite

อันดารา ว., สิงหเสนี อ., & วงค์นิธิกุล ป. (2016). การศึกษาภาวะสมองเสื่อม ความรู้เรื่องโรคและการป้องกันโรคสมองเสื่อม และข้อมูลส่วนบุคคลของผู้สูงอายุ ชมรมผู้สูงอายุ วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ. JOURNAL OF THE POLICE NURSES AND HEALTH SCIENCE, 8(1), 23–33. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/policenurse/article/view/65179

Issue

Section

Research Articles