การให้คำปรึกษากลุ่มแบบเผชิญความจริงเพื่อเสริมสร้างการตั้งเป้าหมายในชีวิตของผู้ใช้สารเสพติด

Authors

  • แก้ว พรหมแก้ว
  • พัชราภรณ์ ศรีสวัสดิ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ Faculty of Education Srinakharinwirot University
  • พิศมัย รัตนโรจน์สกุล คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ Faculty of Education Srinakharinwirot University

Keywords:

ผู้ใช้สารเสพติด, การตั้งเป้าหมายในชีวิต, การให้คำปรึกษากลุ่มแบบเผชิญความจริง, drug addicts, goal setting in life, reality group counseling

Abstract

         การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสานระหว่างการวิจัยกึ่งทดลองกับการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์ คือ

         1) เพื่อศึกษาการตั้งเป้าหมายในชีวิตของผู้ใช้สารเสพติด 2) เพื่อเปรียบเทียบการตั้งเป้าหมายในชีวิตของผู้ใช้สารเสพติด ก่อนและหลังการให้คำปรึกษากลุ่มแบบเผชิญความจริง ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นผู้ใช้สารเสพติดที่เข้ารับการบำบัด ณ ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด กองบิน 7 เป็นระยะเวลา 2 เดือนขึ้นไป ที่มีอายุระหว่าง 20-40 ปี ที่ได้มาจากการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ 1) แบบสอบถามการตั้งเป้าหมายในชีวิตของผู้ใช้สารเสพติด 2) โปรแกรมการให้คำปรึกษากลุ่มแบบเผชิญความจริงเพื่อเสริมสร้างการตั้งเป้าหมายในชีวิตของผู้ใช้สารเสพติด 3) แนวคำถามแบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีแบบกลุ่มไม่อิสระต่อกัน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา

         ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ใช้สารเสพติดมีการตั้งเป้าหมายในชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับสูง (\bar{x} = 4.26) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับสูง ได้แก่ ด้านมนุษยสัมพันธ์ (\bar{x} = 4.49) รองลงมา คือ ด้านการตั้งเป้าหมายในการเลิกใช้สารเสพติดและการตั้งเป้าหมายทางอาชีพ (\bar{x} = 4.37) ด้านการรับรู้ความสามารถของตนเอง (\bar{x} = 4.10) และด้านความมุ่งมั่น (\bar{x} = 4.07) ตามลำดับ 2) ผู้ใช้สารเสพติดมีการตั้งเป้าหมายในชีวิตหลังการให้คำปรึกษากลุ่มสูงกว่าก่อนการให้คำปรึกษากลุ่ม โดยการตั้งเป้าหมายในชีวิตของผู้ใช้สารเสพติดโดยรวมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้ จากการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพพบว่า ผู้ใช้สารเสพติดมีการเปลี่ยนแปลงด้านการตั้งเป้าหมายในชีวิตในทางที่เพิ่มขึ้น จากการติดตามผลหลังจากผู้ใช้สารเสพติดออกจากศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด กองบิน 7 เป็นระยะเวลา 1 เดือน ผู้วิจัยสามารถติดต่อผู้ใช้สารเสพติดได้ จำนวน 6 คน โดยผู้ใช้สารเสพติด จำนวน 6 คน สามารถเลิกใช้สารเสพติดและประกอบอาชีพตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ได้ จำนวน 4 คน แสดงให้เห็นว่า การให้คำปรึกษากลุ่มแบบเผชิญความจริงในการวิจัยครั้งนี้สามารถเสริมสร้างการตั้งเป้าหมายในชีวิตของผู้ใช้สารเสพติดได้

 

REALITY GROUP COUNSELING FOR ENHANCING GOAL SETTING IN LIFE OF DRUG ADDICTS

 

Abstract

         This research was a mixed method research between quasi-experimental research and qualitative research. The purposes of this study were: 1) to study a goal setting in life of drug addicts and 2) to compare the goal setting in life of drug addicts before and after participating reality group counseling. The subjects were 20-40 years old, drug addicts that randomly selected from a rehabilitation center for drug addicts, Wing seven. The subjects were then randomly assigned into an experimental group that consisted of eight drug addicts. The experimental group was exposed to reality group counseling program. The research instruments were goal setting in life scale, reality group counseling program and in-depth interview semi structured. The data were analyzed by mean, standard deviation, t-test for dependent samples and the qualitative data were analyzed by content analysis.

         The results of the study were as follows: 1) the total of mean score of goal setting in life of drug addicts was high (\bar{x} = 4.26). The mean scores of each component were high: relationship (\bar{x} = 4.49), goal setting to stop using drugs and career goal setting (\bar{x} = 4.37), self-efficacy (\bar{x} = 4.10), and commitment (\bar{x} = 4.07). 2) Statistically significant differences in total goal setting in life and each of four components of goal setting in life of the experimental group were found to exist before counseling and after counseling at .05 levels. In addition to the qualitative data analysis, we found some drug addicts had changed their life goal in positive ways. One month after participating reality group counseling, we had contacted and interviewed 6 ex-drug addicts. Four ex-drug addicts can absolutely stop using drugs and reach their career goals. The result of this study showed that reality group counseling was a key factor in enhancing positive changes the goal setting in life of drug addicts.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2016-06-30

How to Cite

พรหมแก้ว แ., ศรีสวัสดิ์ พ., & รัตนโรจน์สกุล พ. (2016). การให้คำปรึกษากลุ่มแบบเผชิญความจริงเพื่อเสริมสร้างการตั้งเป้าหมายในชีวิตของผู้ใช้สารเสพติด. JOURNAL OF THE POLICE NURSES, 8(1), 11–22. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/policenurse/article/view/65178

Issue

Section

Research Articles