ความสัมพันธ์ระหว่างอายุ ระดับการศึกษา ความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย ความเข้มแข็งในการมองโลก แรงสนับสนุนทางสังคมกับการปรับตัวของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัด
Keywords:
มะเร็งเต้านม, ความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย, ความเข้มแข็งในการมองโลก, แรงสนับสนุนทางสังคม, การปรับตัว, Breast cancer, Uncertainty in illness, Sense of coherence, Social support, AdaptationAbstract
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบบรรยายเชิงความสัมพันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง อายุ ระดับการศึกษา ความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย ความเข้มแข็งในการมองโลก แรงสนับสนุนทางสังคมกับการปรับตัวของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัด โดยเลือกตัวอย่างตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 125 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ดังนี้ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย แบบประเมินความเข้มแข็งในการมองโลก แบบประเมินแรงสนับสนุนทางสังคม แบบประเมินการปรับตัวของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัด ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิและหาความเที่ยงจากแบบประเมินได้เท่ากับ .85, .87, .83 และ .72 ตามลำดับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิจัย พบว่า ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัด มีการปรับตัวอยู่ในระดับปานกลาง (= 48.53) อายุ และ ความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย มีความสัมพันธ์ทางลบกับการปรับตัวของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r =-.248 และ -.404 ตามลำดับ) ส่วนแรงสนับสนุนทางสังคม และความเข้มแข็งในการมองโลก มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการปรับตัวของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .258 และ .180) ตามลำดับ
THE RELATIONSHIPS BETWEEN AGE, EDUCATION, UNCERTAINTY IN ILLNESS, SENSE OF COHERENCE, SOCIAL SUPPORT AND ADAPTATION IN BREAST CANCER PATIENTS RECEIVING CHEMOTHERAPY
Abstract
The purpose of this research was to investigate the relationships between personal factors, uncertainty in illness, sense of coherence, social support and adaptation in breast cancer patients receiving chemotherapy. One hundred and twenty five of breast cancer patients were recruited by using a criterion sampling technique. The instruments used for data collection were the demographic questionnaires, Mischel’s Uncertainty in illness Scale: Community Form, sense of coherence, social support and adaptation in illness questionnaires. These instruments were tested for their content validity by a panel of experts. Internal consistency reliability for each questionnaire tested by Cronbach’s alpha were .85, .87, .83 and .72 respectively. Data was analyzed by using mean, standard deviation and Pearson’s production-moment correlation
The study findings revealed that Patients with breast cancer had moderate level of adaptation in illness (= 48.67) Age and uncertainty in illness were negatively significant correlated to adaptation in breast cancer patients receiving chemotherapy (r =-.248 and -.404, p<.05 respectively). Social support and sense of coherence were positively significant correlated to adaptation in breast cancer patients receiving chemotherapy (r = .258 and .180, p<.05 respectively).
Downloads
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
ผลงานที่ได้ตีพิมพ์แล้วจะเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลตำรวจ