การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคผักใบเขียวและความหนาแน่นของกระดูกแขนในผู้หญิงไทยวัยหมดประจำเดือน

Authors

  • จุฑาภรณ์ ทองบุญชู
  • ดรุณี อุเทนนาม
  • เชาวนี ชูพีรัชน์
  • อัญชลี ตั้งตรงจิตร
  • เบ็ญจลักษณ์ ผลรัตน์
  • แสงชัย พฤทธิพันธุ์
  • รังสรรค์ ตั้งตรงจิตร

Keywords:

ความหนาแน่นของกระดูก, การบริโภคผักใบเขียว, วัยหมดประจำเดือน, ผู้หญิงไทย, Bone mineral density, Dark green leafy vegetables, Menopausal, Thai women

Abstract

          การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคผักใบเขียวกับความหนาแน่นของกระดูกแขนในผู้หญิงไทยวัยหมดประจำเดือน  ตัวอย่าง คือ ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่มารับบริการในแผนกผู้ป่วยนอกหน่วยสูตินรีเวชวิทยา โรงพยาบาลรามาธิบดีจำนวน 116 คน ประกอบด้วย  ผู้มีกระดูกปกติ 40 คน  ผู้มีกระดูกบาง 40 คน และผู้มีกระดูกพรุน 36 คน  คัดเลือกตัวอย่างตามคุณสมบัติ คือ  1) เป็นผู้ที่มีภาวะสุขภาพดี 2) ไม่เคยได้รับยาที่มีส่วนประกอบของกรดโฟลิกในหนึ่งปีที่ผ่านมา และ 3) ยินดีเข้าร่วมการวิจัย เครื่องมือการวิจัย คือ เครื่องวัดความหนาแน่นของกระดูกและแบบสอบถามข้อมูลทั่วไปและการบริโภคผักใบเขียว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทีอิสระและสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

          ผลการวิจัย การบริโภคผักใบเขียวในช่วง 6 เดือนย้อนหลังของทั้ง 3 ตัวอย่างมีความหลากหลาย  โดยผู้ที่มีกระดูกพรุนมีการบริโภคผักใบเขียวในจำนวนและความถี่ที่น้อยกว่าผู้ที่มีกระดูกบางและกระดูกปกติ   โดยผู้ที่มีกระดูกปกติ  กระดูกบาง และกระดูกพรุนมีจำนวนถ้วยตวงของการบริโภคผักต่อวันเฉลี่ยเท่ากับ 1.02, 0.79 , 0.77 และจำนวนวันของการบริโภคผักต่อสัปดาห์เฉลี่ยเท่ากับ 4.27, 3.22, 2.85  ตามลำดับ  และค่าที (ความหนาแน่น)ของกระดูกเรเดียสทั้งชิ้นในผู้ที่มีกระดูกปกติ  กระดูกบาง และกระดูกพรุนอยู่ในช่วง -0.90 ถึง 1.80 , -2.40 ถึง -1.00, และ -5.40 ถึง -2.50 ตามลำดับ  นอกจากนี้พบว่ากลุ่มที่มีกระดูกบาง จำนวนวันของการบริโภคผักใบเขียวต่อสัปดาห์มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความหนาแน่น
ของส่วนที่บางที่สุดของกระดูกเรเดียสอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r= 0.318, p≤0.05)  แสดงให้เห็นว่าการบริโภคผักใบเขียวที่มีกรดโฟลิกจะช่วยชะลอความเสื่อมของกระดูกในผู้ที่มีกระดูกบางได้

 

 

THE RELATION BETWEEN DARK GREEN LEAFY VEGETABLES CONSUMPTION AND FOREARM BONE MINERAL DENSITY IN THAI MENOPOUSAL WOMEN 

 

ABSTRACT

          The purpose of this descriptive study was to examine the relation between dark leafy vegetables consumption and forearm bone density in Thai menopausal women.  The sample was 116 menopausal women receiving services at the Obstetrics and Gynecology outpatient department, Ramathibodi hospital consisted of 40 normal, 40 osteopenia, and 36 osteoporosis subjects.  Purposive sampling was used following the criteria; 1) the samples were healthy person who did not receive folic contained medicine for at least 1 year and were willing to participate in this study.  The instruments were the Dual energy x-ray absorptiometry and demographic and dark green leafy vegetable consumption questionnaires. Data were analyzed independent t-test and Product Pearson Moment Correlation. 

          The results showed that dark green leafy vegetable consumption in 6 months ago of three groups was varied.  Osteoporosis consumed less amount and frequency than osteopenia and the normal group.  The average cup per day of dark green leafy vegetables consumption in osteoporosis, osteopenia, and normal groups were 1.02, 0.79, and 0.77  respectively, and average day per week were 4.27, 3.22, and 2.85 respectively.  T score (bone density) of radius total in osteoporosis, osteopenia, and normal groups were 0.90 to 1.80, -2.40 to -1.00, and
-5.40 to -2.50 respectively.  Furthermore, in osteopenia group, it was found that the day of vegetables consumption positively correlated with the bone mineral density of the most thinner part of radius bone (r= 0.318, p≤ 0.05).  The findings of this study revealed that dark green leafy vegetable consumption contained folic acid reduced bone degeneration in osteopenia.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2015-12-08

How to Cite

ทองบุญชู จ., อุเทนนาม ด., ชูพีรัชน์ เ., ตั้งตรงจิตร อ., ผลรัตน์ เ., พฤทธิพันธุ์ แ., & ตั้งตรงจิตร ร. (2015). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคผักใบเขียวและความหนาแน่นของกระดูกแขนในผู้หญิงไทยวัยหมดประจำเดือน. JOURNAL OF THE POLICE NURSES AND HEALTH SCIENCE, 7(2), 161–175. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/policenurse/article/view/43361

Issue

Section

Research Articles