พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ห้องตรวจโรคอายุรกรรม โรงพยาบาลตำรวจ
Keywords:
โรคความดันโลหิตสูง, พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ, hypertension, health promoting behaviorsAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มารับบริการที่ห้องตรวจโรคอายุรกรรม โรงพยาบาลตำรวจ ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เป็นผู้ป่วยความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุที่มารับบริการที่ห้องตรวจโรคอายุรกรรม โรงพยาบาลตำรวจ จำนวน 330 คน เลือกตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบบสอบถามพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ที่ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 คน และหาความเที่ยงจากแบบประเมินด้วยวิธีหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคได้เท่ากับ 0.85 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปียร์แมน
ผลการวิจัยพบว่าพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงอยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.51, SD = 0.81) อายุและรายได้มีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = - 0.07 และ - 0.10 ตามลำดับ)
HEALTH PROMOTING BEHAVIORS OF HYPERTENION PATIENTS IN OUT PATIENTS MEDICINE DEPARTMENT, POLICE GENERAL HOSPITAL
Abstract
The purposes of this descriptive research were to study the level of health promoting behaviors of hypertension patients and investigate factors related to health promoting behaviors of hypertension patients in Outpatients Medicine Department, Police General Hospital. Three hundred and thirty patients followed up in Outpatients Medicine Department, Police General Hospital were recruited by using a simple random sampling technique. Research instruments consisted of two parts: the Demographic Patients’ Data and the health behaviors. Content validity was examined by three experts and reliability was tested by using Cronbach’s alpha coefficient obtained at 0.83. Data were analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation, and Spearman Correlation.
The results of the study revealed that patients with hypertension had medium level of health promoting behaviors (=2.51, SD=0.81). Age and income were negatively related to health promoting behaviors in patients with hypertension but they had no statistical significance at the level of .05 (r = - 0.07 and - 0.10, respectively).
Downloads
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
ผลงานที่ได้ตีพิมพ์แล้วจะเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลตำรวจ