ปัจจัยที่สัมพันธ์กับระยะเวลาการมารับการรักษาของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลัน

Authors

  • จิณัฐตา คำสารีรักษ์
  • ชนกพร จิตปัญญา

Keywords:

ระยะเวลาการมารับการรักษา, โรคหลอดเลือดสมองขาดเลือด, การตอบสนองต่อการเจ็บป่วย, Prehospital time, Ischemic stroke, Response to Symptoms

Abstract

         การวิจัยเชิงบรรยายครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระยะเวลาการมารับการรักษาและปัจจัยที่สัมพันธ์กับระยะเวลาการมารับการรักษาของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือด เลือกตัวอย่างตามคุณสมบัติการคัดเข้า คือ เป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลันอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยอายุรกรรม ของโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา โรงพยาบาลบุรีรัมย์ โรงพยาบาลชัยภูมิ และโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น จำนวนทั้งสิ้น 120 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามข้อมูลการเจ็บป่วย แบบสอบถามการตอบสนองต่อความเจ็บป่วยของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลันที่ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิและหาความเที่ยงจากแบบประเมินได้เท่ากับ .82 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และหาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติ ANOVA และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

         ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

         1. ระยะเวลาการมารับการรักษาของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลัน มีค่าเฉลี่ยเลขคณิต 301.23 นาที หรือ 5.02 ชั่วโมง (SD = 312.725)

         2. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับระยะเวลาการมารับการรักษาของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลัน ได้แก่ บุคคลที่เกี่ยวข้องขณะผู้ป่วยเกิดอาการ (F=2.476, p<.05) การรับรู้ความรุนแรงของอาการ (r = .248) การรับรู้ความสำคัญของอาการ (r = .339) ความรู้สึกกังวลเมื่อเกิดอาการ(r = .239) และความรู้สึกกลัวสิ่งที่จะตามมาเมื่อเกิดอาการ (r=.217 )

 

 

FACTORS RELATED TO PREHOSPITAL TIME IN PATIENTS WITH ACUTE ISCHEMIC STROKE


Abstract

         The objectives of this descriptive research were to investigate the prehospital time and factors related to the prehospital time in patients with acute ischemic stroke. One hundred and twenty of patients with acute ischemic stroke were recruited by inclusion criteria’s included aged over 18 years old and admitted in the medical wards at Maharat Nakhon Ratchasima hospital, Buriram hospital, Chaiyaphum hospital, and KhonKaen hospital. The instruments used for data collection were the demographic data form, history of illness questionnaire, and patient’s response to illness questionnaire of patients with acute ischemic stroke which was tested for the content validity by a panel of experts. Internal consistency reliability for questionnaire tested by Cronbach’s alpha was .82. Data were analyzed by using mean, standard deviation, ANOVA, and Pearson’s production-moment correlation.

         Major findings were as follows: 1) The arithmetic mean of prehospital time for patients with acute ischemic stroke were 301.23 minutes or 5.02 hours (SD = 312.73). 2) Factors associated with prehospital time for patients with acute ischemic stroke were person who involved with patients during symptoms occurred (F = 2.48, p <.05), perceived severity of symptoms (r. = .25), perceived importance of the symptoms (r = .34) feeling anxious when symptoms occurring (r = .24), and feeling afraid of what will ensue when the symptoms (r = .22)

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2015-12-08

How to Cite

คำสารีรักษ์ จ., & จิตปัญญา ช. (2015). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับระยะเวลาการมารับการรักษาของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลัน. JOURNAL OF THE POLICE NURSES AND HEALTH SCIENCE, 7(2), 106–119. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/policenurse/article/view/43357

Issue

Section

Research Articles